การใช้ประโยชน์แมลงศัตรูธรรมชาติ และการวัดมูลค่าความเป็นประโยชน์ เพื่อใช้ประโยชน์ในการควบคุมโดยชีววิธี: กรณีศึกษา ในนาข้าวและพืชผักวงศ์กะหล่ำในระบบเกษตรอินทรีย์

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-009.3
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การใช้ประโยชน์แมลงศัตรูธรรมชาติ และการวัดมูลค่าความเป็นประโยชน์ เพื่อใช้ประโยชน์ในการควบคุมโดยชีววิธี: กรณีศึกษา ในนาข้าวและพืชผักวงศ์กะหล่ำในระบบเกษตรอินทรีย์
บทคัดย่อ :

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวของเกษตรกรในการที่จะนำแมลงศัตรูธรรมชาติที่ผลิตในโรงงานต้นแบบ คือ มวนพิฆาต (Eocanthecona furcellata) และแตนเบียนไข่ (Trichogramma spp.) ไปใช้ประโยชน์ในนาข้าวและพืชผักวงศ์กะหลํ่าในระบบเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่จังหวัดในภาคเหนือตอนบน ใน จ.เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ และ น่าน ทั้งในพื้นที่มีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกและในพื้นที่ที่ทำการเกษตรอินทรีย์ ศึกษาการรับรู้และการยอมรับของเกษตรกร และวัดมูลค่าความเป็นประโยชน์จากการใช้แมลงศัตรูธรรมชาติที่ผลิต และ พัฒนาคู่มือประกอบการจำหน่ายแมลงศัตรูธรรมชาติเหล่านั้น มีการรวบรวมสมาชิกกลุ่มเกษตรกรในเป้าหมาย และกำหนดพื้นที่ศึกษา เพื่อทำการศึกษาข้อมูลด้านความต้องการของเกษตรกร ในการใช้ประโยชน์แมลงศัตรูธรรมชาติ ในการวัดมูลค่าพบว่าเกษตรกร 50 รายในแต่ละจังหวัดทั้ง 8 จังหวัด รวมทั้งหมด 400 ราย พบว่าเกษตรกรร้อยละ 81.25 รู้จักและต้องการใช้ศัตรูธรรมชาติ และ ร้อยละ 72.21 มีความจำเป็นในการควบคุมและต้องการใช้ศัตรูธรรมชาติ การศึกษาในนาข้าวพบแมลงในกลุ่มหนอนกอข้าว ในกลุ่มเพลี้ยจั๊กจั่น ในกลุ่มเพลี้ยกระโดดข้าว เช่น แมลงศัตรูข้าวชนิดอื่น ๆ พบศัตรูธรรมชาติที่เป็นแมลงเบียน (parasitoids) พบแมลงตัวหํ้า (predators) และ แมงมุม (spiders) รวมกันมากกว่า 20 ชนิด รวมทั้งพบเชื้อลงทำลายเพลี้ยจักจั่นสีเขียว และแมลงบั่ว ในพืชผักวงศ์กะหลํ่า พบแมลงศัตรูพืชที่ในกลุ่มเพลี้ยอ่อน มวนกะหลํ่าปลี ด้วงหมัดผักแถบลาย และ กลุ่มหนอน และแมลงที่มีความสำคัญที่สุดคือหนอนใยผัก แมลงศัตรูธรรมชาติที่พบคือ แตนเบียนไข่ แตนเบียน แตนเบียนดักแด้ และตัวหํ้าที่พบคือ ด้วงเต่าตัวหํ้า มวนพิฆาต แมลงหางหนีบ และ หนอนแมลงวันดอกไม้ ส่วนการศึกษาด้านนิเวศวิทยา พลวัตของประชากร และความหลากหลายของแมลงศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ พบว่าระดับประชากรของศัตรูธรรมชาติจะขึ้นอยู่กับการผันแปรประชากรของแมลงศัตรูพืช ทั้งในนาข้าวและแปลงพืชผักวงศ์กะหลํ่าในพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีและที่ทำการเกษตรอินทรีย์ และความหนาแน่นของศัตรูธรรมชาติไม่สูงเพียงพอ เป็นการยืนยันว่าควรที่จะทำการควบคุมโดยชีววิธีแบบเพิ่มขยาย ผลของการศึกษาสรุปได้ว่าเกษตรกรมีความต้องการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยไม่ต้องใช้สารเคมี รู้จักและต้องการใช้ประโยชน์ศัตรูธรรมชาติ แต่หาแหล่งจำหน่ายไม่ได้ เป็นเหตุผลสนับสนุนให้มีการผลิตศัตรูธรรมชาติให้เพียงพอและคุ้มทุนในเชิงพาณิชย์ เพื่อสนองความต้องการของเกษตรกรเกษตรอินทรีย์

คำสำคัญ : แมลงศัตรูธรรมชาติ แมลงศัตรูข้าว แมลงศัตรูพืชวงศ์กะหลํ่า การเกษตรอินทรีย์
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

The objectives of this project are to investigate the approach by the cultivators to utilize the natural enemies, namely, the predatory stink bug (Eocanthecona furcellata) and the egg parasitoid (Trichogramma spp.), in the organic rice paddy and organic cruciferous crops, in the upper northern provinces of Chiang Rai, Phayao, Chiang Mai, Mae Hong Son, Lamphun, Lampang, Phrae and Nan, covering the areas of con-ventional cultivation using pesticides and the areas adopting organic cultivation; to evaluate the cultivator perception and acceptance, benefit from using the natural enemies; and to produce a handbook to accom-pany the commercial supply of these natural enemies. A group of 50 cultivators in each province was re-cruited to take part, thus totaling 400 cultivators. It was revealed that 81.25% knew and wanted to use the natural enemies and 72.21% considered that control was necessary and wanted to use the natural enemies. In the investigation, the major insect pests found on rice were the rice stem borer complex, the leafhopper and planthopper complex and other insect pests. Over 20 species of the natural enemies found were the hymenopterous parasitoids, insect predators such as the coccinellids and spiders. The entomopathogens fungi were found the rice green leafhoppers and the rice gall midge. The major insect pests found on cru-ciferous crops were aphids, flea beetle and lepidopterous pests such as beet armyworm, common cutworm, cabbage webworm, caterpillar cabbage looper. Among them the most important one was the diamondback moth. The natural enemies found were the egg parasitoid, larval and pupa; parasitoids. The predators found were the coccinellids, predatory stink bug, earwig and syrphid fly maggot. Studies on ecology, population dynamics and diversity of the insect pests and their natural enemies indicated that the natural enemy popu-lation density was dependent on the fluctuation of the insect pest population density in the rice paddy as well as in the cruciferous crops. But the natural enemy density was not high enough thus warrant an aug-mentative biological control. The results of this investigation indicated that the cultivators wanted to adopt a non-chemical pest control, knew and wanted to utilize natural enemies, and therefore justifying their com-mercial production in order to meet the demand of the organic rice and cruciferous crop cultivators.

Keyword : insect natural enemies, insect pests of rice and cruciferous crops, organic farming
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 นายบัณฑิต ต๊ะเสาร์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร / สำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร / งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
30 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.ธิดารัตน์ ศิริบูรณ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
30 ไม่ระบุ
3 นายสัมพันธ์ ตาติวงค์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร / สำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร / งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
20 ไม่ระบุ
4 อาจารย์ ดร.เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศมาพร แสงยศ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบผระมาณแผ่นดินแม่โจ้
390,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 390,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023