การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีแอนโทไซยานินสูงโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-006.4
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีแอนโทไซยานินสูงโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ
บทคัดย่อ :

ข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำมีการสะสมของแอนโทไซยานินสูง ยีน OsB1 และยีน OsC1 เป็นยีนสำคัญที่ควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในข้าว และยีน OsDFR เป็นยีนโครงสร้างที่มีรหัสสำหรับเอนไซม์ที่สำคัญในวิถีการสังเคราะห์แอนโทไซยานิน การศึกษามาก่อนหน้านี้โดยคณะผู้วิจัยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ในปีงบประมาณ 2562 ได้เครื่องหมายดีเอ็นเอที่จำเพาะต่อยีน OsB1, OsDFR และ OsC1 และแยกความแตกต่างระหว่างข้าวขาวและข้าวสีได้ ในงานวิจัยนี้ได้นำเครื่องหมายดีเอ็นเอดังกล่าวมาศึกษาในประชากร F2 ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์รับ คือ ข้าวขาวพันธุ์ปทุมธานี 1 และพันธุ์ให้ คือ ข้าวดำพันธุ์ก่ำน้อย จำนวน 300 ต้น การทดสอบการถ่ายทอดเครื่องหมายดีเอ็นเอที่จำเพาะต่อยีน OsB1, OsDFR และ OsC1 ในประชากร F2 โดยการวิเคราะห์ไคสแควร์การถ่ายทอด 1, 2 และ 3 ยีน พบว่า มีการถ่ายทอดเป็นไปตามกฎของเมนเดล ยกเว้น การถ่ายทอดยีน OsC1 แบบ 1 ยีน ไม่เป็นไปตามกฎเมนเดล การวิเคราะห์ปริมาณแอนโทไซยานินโดยวิธี pH differential ในเมล็ดของประชากร F2 พบว่า ต้นที่ 299 มีปริมาณแอนโทไซยานินสูงที่สุดเท่ากับ 35.04 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมเมล็ดแห้ง สอดคล้องกับวิธี HPLC ที่มีค่า cyanidin-3-O-glucoside (C3G) สูงที่สุดเท่ากับ 39.52 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมเมล็ดแห้ง การวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH ในเมล็ดของประชากร F2 พบว่า ต้นที่ 199 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดเท่ากับ 9.7 ไมโครโมลต่อกรัมเมล็ดแห้ง ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับข้าวพันธุ์ให้ก่ำน้อย การทดสอบไคสแควร์ของสีเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวในประชากร F2 พบว่า มีการกระจายตัวของสีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นไปตามกฎของเมนเดล คือ 3:1 (color : colorless) สอดคล้องกับจีโนไทป์เครื่องหมายดีเอ็นเอของยีน OsB1 คือ A_ (color) และ aa (colorless) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจีโนไทป์ของเครื่องหมายดีเอ็นเอของยีน OsB1, OsDFR และ OsC1 กับฟีโนไทป์ในประชากร F2 โดยวิธี ANOVA และ Regression พบว่า เครื่องหมายดีเอ็นเอของยีน OsB1 เท่านั้นมีความสัมพันธ์กับปริมาณแอนโทไซยานิน ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสีเยื่อหุ้มเมล็ด โดยมีค่า R2 เท่ากับ 31.9 %, 40.6 % และ 69.5 % ตามลำดับ

เมื่อทดสอบไคสแคว์ของการถ่ายทอดเครื่องหมายดีเอ็นเอของยีน OsB1, OsDFR และ OsC1 ในประชากร BC1F1 ทั้งหมด 321 ต้น โดยวิเคราะห์การถ่ายทอด 1 ยีน พบว่า การถ่ายทอดจีโนไทป์ของเครื่องหมายดีเอ็นเอของยีน OsB1 เท่านั้นที่เป็นไปตามกฎของเมนเดล คือ Aa: aa เท่ากับ 1: 1 จากการตรวจสอบเครื่องหมายดีเอ็นเอของยีน OsB1, OsDFR และ OsC1 ในประชากร BC1F1 พบว่า คัดเลือกได้ทั้งหมด 15 ต้น ที่พบจีโนไทป์ของทั้ง 3 เครื่องหมายดีเอ็นเอ เป็นแบบ heterozygous และพบต้นที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ 8 ต้น สีน้ำตาลเข้ม 4 ต้น สีแดงเข้ม 2 ต้น และสีแดง 1 ต้น แล้วนำไปทำการผสมกลับเพื่อผลิตเมล็ด BC2F1 และปล่อยให้ผสมตัวเองเพื่อผลิตเมล็ด BC1F2 การวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดของประชากร BC1F1 ด้วยวิธี DPPH พบว่า ต้นที่ 297 มีค่าเท่ากับ 12.8 ไมโครโมลต่อกรัมเมล็ดแห้ง ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าข้าวพันธุ์ให้ก่ำน้อย ที่มีค่าเท่ากับ 8.8 ไมโครโมลต่อกรัมเมล็ดแห้ง

ในงานวิจัยนี้ เครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด CAPS ของยีน OsB1 มีความสัมพันธ์กับฟีโนไทป์ คือ ปริมาณแอนโทไซนานิน ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสีเยื่อหุ้มเมล็ด ดังนั้น สามารถใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอของยีน OsB1 คัดเลือกข้าวที่เยื่อหุ้มเมล็ดมีสี มีปริมาณแอนไทไซยานินสูง และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวทำให้คัดเลือกต้นข้าวได้ตั้งแต่ระยะแรกของการเจริญเติบโต ช่วยย่นระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ได้เยื่อหุ้มเมล็ดมีสี และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น นอกจากนี้ เมล็ด BC2F1 และ BC1F2 ที่คัดเลือกได้จากเครื่องหมายดีเอ็นเอในงานวิจัยนี้ ซึ่งมีลักษณะเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำและแดง มีปริมาณแอนโทไซยานินสูง และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง จะเป็นประโยชน์โดยสามารถนำไปใช้พัฒนาเพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ดีมีคุณค่าทางโภชนาการสูงต่อไปได้

คำสำคัญ : ข้าว , แอนโทไซยานิน , เครื่องหมายดีเอ็นเอ , ยีนควบคุม , ยีนโครงสร้าง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

Black rice has high accumulation of anthocyanins on pericarp tissues. OsB1 and OsC1 genes are important for the controls of anthocyanin biosynthesis in rice. OsDFR gene is structural gene that encodes the vital enzyme in anthocyanin biosynthesis pathway. Our research granted in the year of 2019 showed that DNA markers specific to OsB1, OsDFR and OSC1 genes could be used to distinguish between white and black rice. In this study, we used these DNA markers to study the F2 population of 300 plants derived from the cross between white pericarp rice (Pathumthani 1) as a receptor and black pericarp rice (Kham Noi) as a donor. The inheritance of DNA markers specific to OsB1, OsDFR and OSC1 genes was analyzed by Chi-square test with 1, 2 and 3 genes. The results showed that DNA markers specific to OsB1 and OsDFR followed the Mendelian manner but DNA marker specific to OsC1 did not. Analysis of anthocyanin content by pH differential method in seeds of F2 progenies showed that plant no. 299 had highest anthocyanin content of 35.04 mg/100 gDW, consistent with 39.52 mg/100 gDW of the cyanidin-3-O-glucoside (C3G) content determined by HPLC method. Antioxidant activity was analyzed by DPPH assay in seeds of F2 progenies and the result showed that plant no. 199 had highest antioxidant activity of 9.7 ?moles/gDW which was similar to that of Kham Noi parent. Analysis of inheritance of F3 pericarp colors by Chi-square test showed the ratio of 3 colored: 1 colorless, corresponding to genotype of OsB1 marker of 3 A_: 1 aa. The relationship between genotype of DNA markers specific to OsB1, OsDFR and OsC1 and phenotype of F2 population was analyzed by ANOVA and regression method. The results suggested that only OsB1 marker was related to anthocyanin content, antioxidant activity and pericarp color which had R2 of 31.9 %, 40.6 % and 69.5 %, respectively.

The inheritance of DNA markers specific to OsB1, OsDFR and OSC1 genes was individually analyzed by Chi-square test in 321 plants of BC1F1 population. The results showed that only DNA marker specific to OsB1 followed the Mendelian law which had the ratio of 1:1 (Aa:aa). The 15 plants of BC1F1 population which were heterozygous for DNA markers of OsB1, OsDFR and OSC1 genes were selected. They had different pericarp colors including 8 black, 4 dark brown, 2 dark red and 1 red which were further backcrossed with Pathumthani 1 for production of BC2F1 seeds and selfing for production of BC1F2 seeds. Antioxidant activity was analyzed by DPPH assay in seeds of BC1F1 and the result showed that plant no. 297 had highest antioxidant activity of 12.8 ?moles/gDW which was higher than 8.8 ?moles/gDW of Kham Noi parent.

In this study, the CAPS marker of OsB1 had relationship with phenotype of anthocyanin content, antioxidant activity and pericarp color. Therefore, it could be used for selection of rice with colored pericarp, high anthocyanin and antioxidant activity in the early stage of development which will be beneficial to plant breeding for facilitating selection and shortening the time in breeding Thai rice for high nutritional value. In addition, the seeds of BC2F1 and BC1F2 which were selected by the DNA markers and had black and red pericarp colors, high anthocyanin and antioxidant activity, will be further used for improvement of rice varieties with increased nutritional value.

Keyword : rice, anthocyanins, DNA markers, regulatory genes, structural gene
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
60 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.นฤมล เข็มกลัดเงิน
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
25 ไม่ระบุ
3 อาจารย์ ดร. สมจริง รุ่งแจ้ง
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทุเรียน ทาเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
5 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
786,079.00
   รวมจำนวนเงิน : 786,079.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023