การศึกษาคุณภาพทางเคมี และการสีของเมล็ดของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากโครงการย่อยที่ 1 และโครงการย่อยที่ 2

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-006.3
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การศึกษาคุณภาพทางเคมี และการสีของเมล็ดของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากโครงการย่อยที่ 1 และโครงการย่อยที่ 2
บทคัดย่อ :

คุณภาพการสี คุณภาพทางกายภาพและคุณภาพทางเคมีมีความสำคัญต่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าว เพื่อให้ได้ข้าวที่เป็นที่ต้องการของตลาด ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคและเหมาะสมต่อการแปรรูปต่อไปตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ประกอบด้วยข้าวเจ้า จำนวน 14 ตัวอย่าง เป็นข้าวเจ้าพันธุ์เปรียบเทียบ 3ตัวอย่างและข้าวเจ้าที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ 11 ตัวอย่าง และข้าวเหนียวจำนวน 10 ตัวอย่าง เป็นข้าวเหนียวพันธุ์เปรียบเทียบ 2 ตัวอย่าง ข้าวเหนียวที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ 8 ตัวอย่าง นำมาทำการวัดค่าคุณภาพการสี คุณภาพทางกายภาพและคุณภาพทางเคมี พบว่าความชื้นของข้าวเปลือกและข้าวสารของข้าวเจ้ามีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 12.45-14.00 และ 8.25-9.14 ตามลำดับ ส่วนความชื้นของข้าวเปลือกและข้าวสารของข้าวเหนียวมีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 12.05-13.20 และ 7.99-9.04 ตามลำดับ ปริมาณข้าวสารที่ได้จากข้าวเจ้าและข้าวเหนียวมีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 53.58-65.64 และ 55.58-65.64 ของข้าวเปลือก ตามลำดับ ปริมาณข้าวสารเต็มเมล็ดและต้นข้าวของข้าวเจ้าและข้าวเหนียวมีค่าเท่ากับร้อยละ 52.39-84.61 และ 72.01-92.11 ของข้าวสารทั้งหมด ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณของต้นข้าวและข้าวเต็มเม็ดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตัวอย่างข้าวเจ้าและข้าวเหนียวในการทดลองนี้มีเมล็ดยาวปานกลางร้อยละ 57.14 และ 70.00 ของตัวอย่างข้าวแต่ละชนิดทั้งหมด ส่วนรูปร่างข้าวเจ้าและข้าวเหนียวทุกตัวอย่างจัดเป็นข้าวที่มีรูปร่างเมล็ดเรียว โดยมีสัดส่วนของความยาวต่อความกว้างมากกว่า 3.0 ทุกตัวอย่าง แป้งสุกที่ได้จากแป้งข้าวเจ้าพันธุ์ปรับปรุงในการทดลองนี้ร้อยละ 80 (8 ตัวอย่าง) เป็นประเภทแป้งสุกแข็ง ส่วนพันธุ์อ้างอิงร้อยละ 100 (3 ตัวอย่าง) จัดเป็นแป้งสุกอ่อน ส่วนแป้งสุกที่ได้จากแป้งข้าวเหนียวเป็นแป้งสุกอ่อนทุกตัวอย่าง เมื่อพิจารณาผลของการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้า มีแนวโน้มเพิ่มความแข็งของแป้งทำให้เปลี่ยนจากแป้งสุกอ่อนเป็นแป้งสุกแข็ง ข้าวเจ้าในการทดลองนี้มีอัตราการยืดตัวอยู่ในช่วง 1.35-1.54 ส่วนข้าวเหนียวมีค่าอยู่ในช่วง 1.33-1.49 ข้าวเจ้ามีปริมาณอะมิโลสอยู่ในช่วงร้อยละ 9.96-23.35 ซึ่งข้าวพันธุ์ปรับปรุงมีทั้งที่เป็นข้าวอะมิโลสต่ำและปานกลาง ส่วนข้าวเจ้าพันธุ์อ้างอิงมีเฉพาะประเภทข้าวอะมิโลสต่ำ ส่วนข้าวเหนียวมีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 3.70-6.18 จัดเป็นข้าวอะมิโลสต่ำทุกตัวอย่างทั้งข้าวเหนียวพันธุ์อ้างอิงและพันธุ์ปรับปรุง การสลายตัวในด่างของข้าวเจ้ามีค่าตั้งแต่ 2-7 ส่วนข้าวเหนียวมีค่า 4-7 ส่วนสมบัติทางด้านความหนืด (pasting properties) เป็นดังนี้อุณหภูมิในการเกิดเจลของแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียวในการทดลองนี้มีค่าอยู่ในช่วง 86.75-91.51 และ 73.99-79.33 องศาเซลเซียส ความหนืดสูงสุด (peak viscosity) ในการทดลองนี้มีค่า 1340.00-4166.67 และ 1534.21-2678.00 เซนติพอยส์ สำหรับข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ตามลำดับ

คำสำคัญ : ข้าวเจ้า , ข้าวเหนียว , อะมิโลส , การสลายตัวในสารละลายด่าง , ความคงตัวของแป้งสุก , อุณหภูมิแป้งสุก , อัตราการยืดตัวของเมล็ดข้าวสุก , คุณภาพการสี
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

Milling, physical and chemical qualities are important for rice breeding to obtain the market-potential, healthy and processing suitable rice. 14 non-glutinous rice samples (3 reference samples and 11 breed samples) and 10 glutinous rice samples (2 reference samples and 8 breed samples) were used in this research and analyzed for milling, physical and chemical qualities. It was found that the moisture content of paddy and milled non-glutinous rice were in the ranges of 12.45-14.00 and 8.25-9.14, respectively. The moisture content of paddy and glutinous rice were in the ranges of 12.05-13.20 and 7.99-9.04, respectively. The milled rice yield of non-glutinous rice and glutinous rice was 53.58-65.64 and 55.58-65.64 of the paddy rice, respectively. The total content of the whole and head rice of the non-glutinous and glutinous rice was perfectly good and had the values of 52.39-84.61 and 72.01-92.11 of the total milled rice, respectively. All rice samples had the long grain with the ratio of length/width higher than 3.0. 80% (8 samples) of the cooked starch obtained from the breed non-glutinous rice were hard. The 100% (3 samples) of the cooked reference non-glutinous rice were soft. For all of the cooked glutinous rice starch were soft. Breeding rice increased the hardness of the cooked non-glutinous rice starch. The elongation ratio of the non-glutinous rice was in the range of 1.35-1.54 while thet of the glutinous rice was in the range of 1.33-1.49. The amylose content of the non-glutinous rice was in the range of 9.96-23.35%. The breed non-glutinous rice samples were classified as low-medium amylose rice while the reference non-glutinous ones were classified as low amylose rice. For all glutinous rice were low amylose rice with 3.70-6.18% amylose contents. The degradation scores in the alkali of rice non-glutinous was 2-7 and that of the glutinous rice was 4-7. The pasting properties were as follows:- the gelatinization temperature of non-glutinous and glutinous rice flour was in the range of 86.75-91.51 and 73.99-79.33 ?C, respectively. The peak viscosity of non-glutinous and glutinous rice flour was 1340.00-4166.67 and 1534.21-2678.00 cP, respectively.

Keyword : Non-glutinous Rice, Glutinous Rice, Amylose, Alkaline test, Gel consistency, Gelatinization temperature, Elongation ratio, Milling Quality
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ หวังเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
40 ไม่ระบุ
2 รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา แดงปรก
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
40 ไม่ระบุ
3 อาจารย์ ดร.จิตราพร งามพีระพงศ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ แสงทอง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
314,432.00
   รวมจำนวนเงิน : 314,432.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023