การคัดเลือก ศึกษาพันธุ์ และทดสอบผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้าหอม ต้านทานต่อโรคแมลงที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-006.2
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การคัดเลือก ศึกษาพันธุ์ และทดสอบผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้าหอม ต้านทานต่อโรคแมลงที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
บทคัดย่อ :

ในปัจจุบันกระแสของความนิยมข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงหรือข้าวที่มีคุณลักษณะพิเศษมีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงควรมีการศึกษาพันธุ์ข้าวลักษณะดังกล่าว เลือกมาเพาะปลูกเพิ่มผลผลิตเพื่อการส่งออกโดยนำกลยุทธ์ในด้านการตลาดและคุณลักษณะพิเศษตลอดจนบรรจุภัณฑ์มาประกอบการประชาสัมพันธ์ ดังนั้นโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือก ศึกษาพันธุ์ และทดสอบผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้าหอม ต้านทานต่อโรคแมลงที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง จากการดำเนินงานในปีงบประมาณปี 2563 ฤดูที่ 1 (ฤดูนาปี 2562) ปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นต้น 2 แถว ต้น F7 ของประชากรหอมมะลิแดง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้าหอม ต้านทานต่อโรคแมลง จำนวน 50 สายพันธุ์ สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพให้ผลผลิตมากที่สุดได้ 16 เบอร์ พบว่ามีผลผลิตอยู่ระหว่าง 341-775 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นคัดเลือกต้นที่มีลักษณะทางการเกษตรที่ดีได้ทั้งหมด 298 ต้น ปล่อยให้ผสมตัวเอง ได้เมล็ด F8 นำเมล็ด F8 ตรวจด้วยเครื่องหมายโมเลกุล Bph3, xa5, qBL1, qBL11 เลือกต้นที่มียีโนไทป์เป็น homozygous ของตำแหน่งยีน Bph3, xa5, qBL1, qBL11 มากที่สุด ได้จำนวน 105 ต้น ที่มีอายุวันออกดอก 75% อยู่ระหว่าง 86-111 วัน สำหรับ ฤดูที่ 2 (ฤดูนาปรัง 2563) ปลูกศึกษาพันธุ์ 4 แถว ต้น F8 ของประชากรหอมมะลิแดง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้าหอม ต้านทานต่อโรคแมลง จำนวน 35 สายพันธุ์ พบว่าสายพันธุ์ที่มีศักยภาพให้ผลผลิตจำนวน 16 เบอร์ มีผลผลิตอยู่ระหว่าง 748-1,082

กิโลกรัมต่อไร่ มีอายุวันออกดอก 75% อยู่ระหว่าง 89-131 วัน จากนั้นคัดเลือกต้นที่มีลักษณะทางการเกษตรที่ดีได้ทั้งหมด 186 ต้น แล้วเลือกสายพันธุ์ข้าว หอมมะลิแดง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า ต้านทานต่อโรค จำนวน 16 สายพันธุ์ ที่มีศักยภาพให้ผลผลิต ผสมตัวเองได้เมล็ด F9 จากนั้นนำเมล็ด F9 ตรวจด้วยเครื่องหมายโมเลกุล qBL1, qBL11, fgr, Wx/wx, Wxa/Wxb, SSIIa, Rc, OsB1 marker พบว่าทั้ง 16 สายพันธุ์ มียีโนไทป์เป็น homozygous ของตำแหน่งยีน qBL1, qBL11, fgr, Waxy, SSIIa, Rc, OsB1 ทั้งหมด โดยมียีน qBL1 และ qBL11 ที่ควบคุมให้ข้าวมีความต้านทานต่อโรคไหม้ ยีน fgr ควบคุมให้ข้าวหอม ยีน Waxy ควบคุมความเป็นข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ซึ่งทั้ง 16 สายพันธุ์ เป็นข้าวเจ้าทั้งหมด ยีน SSIIa ควบคุมให้ข้าวมีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ยีน Rc ความคุมให้ข้าวเป็น

สีแดง และ ยีน OsB1 ควบคุมให้ข้าวเป็นสีดำ ซึ่งการศึกษาการตรวจยีโนไทป์ดังกล่าวทำให้สามารถคัดเลือกข้าวที่มีคุณลักษณะเป็นข้าวเจ้าหอม มีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ เป็นข้าวสีแดง และสีดำ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดังนั้นสามารถนำไปปลูกทดสอบผลผลิตภายในสถานีต่อไป

คำสำคัญ : การคัดเลือก การศึกษาพันธุ์ การทดสอบผลผลิตหอมมะลิแดง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้าหอม ต้านทานต่อโรคแมลง คุณค่าทางโภชนาการสูง เครื่องหมายโมเลกุล
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

Nowadays, a trend of rice with high nutritional value or with special properties has continuously increasing. Therefore, such rice varieties should be studied and selected,

to cultivate and increase productivity for exportation by employing marketing strategies in terms, special properties, and distinct packaging of public interest. Thus, this project aims to select, study, and yield test of non-photoperiod sensitive, semi dwarf, aromatic non-glutinous, resistant to diseases and insect, and high nutritional value of Hom Mali Dang rice lines. During the first year (2020), season 1 (rainy season 2019), an observation trial, planted 2 rows of 50 F7 lines

non-photoperiod sensitive, semi dwarf, aromatic non-glutinous, resistant to diseases and insect and high nutritional value of Hom Mali Dang and the 16 plots with the highest yield potential were selected. It was found that the between yield was 341-775 kg per rai. Then, 298 plants with good agricultural characteristics were selected. Self-pollinated F8 seeds were produced and selected by molecular markers; Bph3, xa5, qBL1, qBL11. The most There were 105 lines with homozygous genotypes of the Bph3, xa5, qBL1, qBL11 gene were selected with the flowering date average of 75% in between 86-111 days. In season 2 (dry season 2020), the advance trial planted 4 rows of

35 F8 lines non-photoperiod sensitive, semi dwarf, aromatic non-glutinous, resistant to diseases and insect, and high nutritional value of Hom Mali Dang. and the 16 plots with the highest yield potential were selected. It was found that the between yield was 748-1,082 kg per rai with the flowering date average of 75% in 89-131 days. And 186 plants One hundred eighty-six lines with good agricultural characteristics were selected. As a result, the 16 lines of non-photoperiod sensitive, semi dwarf, aromatic non-glutinous, resistant to diseases and high nutritional value of Hom Mali Dang with the highest yield potential were selected and self-pollinated F9 seeds were produced. The, F9 seeds were then selected by molecular markers; qBL1, qBL11, fgr, Wx/wx, Wxa/Wxb, SSIIa, Rc, OsB1. It was found that all genotypes of the 16 lines were homozygous at qBL1, qBL11, fgr, Waxy, SSIIa, Rc, OsB1 genes. Thus, qBL1 and qBL11 genes control rice to have resistance to blast disease. The fgr gene controls the fragrant rice while waxy genes control

non-glutinous/glutinous rice on which all 16 lines were all non-glutinous. SSIIa gene controls rice to have a low starch gelatinization temperature. The Rc and OsB1 genes control the rice to red and black, respectively. These studies of the genotyping were able to select rice that have properties of fragrant rice, low starch gelatinization temperature, red and black colors of rice with high nutritional value. Therefore, they can be planted and further tested on Intra-station trial.

Keyword : yield selection, observation, advance trail, Hom Mali Dang, non-photoperiod sensitive rice, semi-dwarf rice, aromatic non-glutinous rice, Hom Mali Dang, disease and insect resistance, high nutritional values, molecular markers
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 นางสาวอนุชิดา วงศ์ชื่น
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์ / สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ / งานบริการวิชาการและวิจัย
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ แสงทอง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
25 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีกาญจนา คล้ายเรือง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
4 ว่าที่ ร.ต. หญิงศิรินภา อ้ายเสาร์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์ / สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ / งานบริการวิชาการและวิจัย
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
5 ดร.ศรัณย์ จีนะเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
5 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
3,710,541.00
   รวมจำนวนเงิน : 3,710,541.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023