การทดสอบผลผลิต การคุ้มครองพันธุ์ และการผลิตเมล็ดพันธุ์ ของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว หอม สีแดง ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-006.1
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การทดสอบผลผลิต การคุ้มครองพันธุ์ และการผลิตเมล็ดพันธุ์ ของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว หอม สีแดง ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
บทคัดย่อ :

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว หอม

สีแดง ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ด้วยวิธีผสมกลับ โดยใช้เครื่องหมาย hd1, hd2, hd4, hd5, sd1, fgr, wx และ SSIIa ช่วยในการคัดเลือก (MAB) จะได้ข้าวที่สามารถปลูกได้ตลอดปี ต้นเตี้ย ออกดอกเร็ว หอม มีทั้งข้าวเจ้า และข้าวเหนียวที่จะขอยื่นจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.2542 จำนวน 2 พันธุ์ ในงบประมาณปี 2563 เก็บข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ของสายพันธุ์

ข้าว สังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า หอม สีแดง จำนวน 1 สายพันธุ์ (แม่โจ้ 23) จาก 8 สายพันธุ์ และสายพันธุ์ ข้าวสังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเหนียว หอม สีแดง จำนวน 1 สายพันธุ์ (แม่โจ้ 24) จาก 2 สายพันธุ์ ในลักษณะที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตของข้าวต่าง ๆ คือ ระยะแตกกอเต็มที่ ได้แก่ การมีขนบนแผ่นใบ รูปร่างของลิ้นใบ และสีของกาบใบ ระยะออกดอก ได้แก่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น ทรงกอ วันออกดอก 50% สีของยอดเกสรเพศเมีย ความสูงของต้น จำนวนรวง มุมของใบธง และการโผล่พ้นของรวง ระยะเก็บเกี่ยว การร่วงของเมล็ด ลักษณะรวง อายุเก็บเกี่ยว และความยาวของรวง ระยะหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด สีเปลือกเมล็ด ชนิดของข้าวสาร รูปร่างข้าวกล้องปริมาณอะมิโลส อุณหภูมิแป้งสุก ความคงตัวของแป้งสุก กลิ่นหอม และความต้านทานต่อโรคและแมลง ซึ่งจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ใช้ในการนำไปยื่นขอจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ต่อไป ผลิตรวงพันธุ์ดัก จำนวน 2 ฤดู คือ ฤดูนาปี 2562 และฤดูนาปรัง 2563 สามารถบันทึกลักษณะออกดอกของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า หอม สีแดง มีอายุวันออกดอก 75% เฉลี่ย 113 และ 114 วันตามลำดับ คัดเลือกรวงพันธุ์ดักได้ทั้งหมด 53 และ 130 กอตามลำดับ และ สายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเหนียว หอม สีแดง มีอายุวันออกดอก 75% เฉลี่ย 102 และ 99 วันตามลำดับ และคัดเลือกรวงพันธุ์ดักได้ทั้งหมด 35 และ 123 กอตามลำดับ

ในขณะเดียวกันได้ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในสถานี ฤดูนาปี 2562 ในแปลงนาอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้รับมาตรฐาน USDA และ IFOAM เพื่อให้สายพันธุ์ข้าว

สังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว หอม สีแดง มีข้อมูลเพื่อสนับสนุนศักยภาพของสายพันธุ์ให้มั่นใจก่อนจะเผยแพร่ สู่เกษตรกร พบว่ามีผลผลิตต่อไร่ในนาอินทรีย์อยู่ระหว่าง 309-647 กิโลกรัมต่อไร่ สายพันธุ์ สังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/

ข้าวเหนียว หอม สีแดง มีความกว้างของเมล็ดข้าวเปลือกอยู่ระหว่าง 1.70-1.80 มิลลิเมตร มีความยาวของเมล็ดข้าวเปลือกระหว่าง 8.30-9.80 มิลลิเมตร มีความหนาของเมล็ดข้าวเปลือกระหว่าง

1.60-1.70 มิลลิเมตร มีความกว้างของเมล็ดข้าวกล้องระหว่าง 1.70-1.80 มิลลิเมตร มีความยาวของเมล็ดข้าวกล้องระหว่าง 5.90-6.80 มิลลิเมตร และมีความหนาของเมล็ดข้าวกล้องระหว่าง 1.40-1.60 มิลลิเมตร ส่วนผลผลิตในฤดูนาปรัง 2562 มีคุณลักษณะทางการสีของเมล็ด พบว่าสายพันธุ์ สังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว หอม สีแดง ไม่มีท้องไข่ มีปริมาณข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว ระหว่างร้อยละ 68.61 – 85.48 มีปริมาณข้าวหัก อยู่ระหว่างร้อยละ 14.95 – 31.77 คุณลักษณะทางกายภาพของเมล็ด พบว่ามีความยาวของเมล็ดข้าวสาร ระหว่าง 5.79 – 6.69 มิลลิเมตร จัดเป็นเมล็ดสั้นถึงเมล็ดยาวชั้น 2 หรือเมล็ดยาว มีสัดส่วนความยาวต่อความกว้าง ระหว่าง 3.64 – 4.10 จัดเป็นรูปร่างเมล็ดเรียว ในด้านคุณลักษณะทางเคมี พบว่ามีระยะการไหลของเจล อยู่ระหว่าง 27.83 – 84.17 มิลลิเมตร จัดเป็นประเภทแป้งสุกแข็งถึงแป้งสุกอ่อน มีอัตราการยืดตัวของเมล็ดข้าวสุก ระหว่าง 1.33 – 1.54 มีปริมาณอะมิโลส (ร้อยละ) ระหว่างร้อยละ 3.7 – 23.35 จัดเป็นข้าวเหนียวและข้าวเจ้าอะมิโลสปานกลาง และมีค่าการสลายตัวในสารละลายด่าง 1.7%KOH อยู่ระหว่าง 2 – 7 จัดเป็นระดับการสลายต่ำถึงสูง รวมทั้งมีสารหอม (2AP) อยู่ระหว่าง 1.16 – 3.17 ppm

และมีคุณภาพทางโภชนาการของสายพันธุ์ดังกล่าวโดยพบว่า มีค่า Vitamin E ระหว่าง

0.29-0.39 mg ค่า Vitamin B1 ระหว่าง 0.34-0.41 mg มีค่า Iron ระหว่าง 1.31-1.72 mg มีค่า Zinc ระหว่าง 0.39-0.96 mg มีค่า Copper ระหว่าง 0.14-0.24 mg มีค่า Total antioxidant active (ORAC) ระหว่าง 13,294.19-17,033.00 ?moles TE ค่า Total antioxidant active (FRAP) ระหว่าง 2,507.09-3,516.61 ?moles TE มีค่า Total polyphenol ระหว่าง 384.84-565.69 mg eq GA มีค่า

Total anthocyanin (Cyanidin, Peonidin) ระหว่าง 7.91-12.99 mg มีค่า Total anthocyanin (Cyanidin) ระหว่าง 7.91-12.91 mg ไม่พบ Total anthocyanin (Peonidin) Carotenoid Profile (Lutein) และ Carotenoid Profile (beta-carotene) มีค่า Folate ระหว่าง 31-53 mcg และมีค่า Gamma Oryzanol ระหว่าง 618.08-802.54 mg/kg

และสามารถยื่นคุ้มครองพันธุ์ในขั้นตอนการจัดเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป พันธุ์พืชป่าฯ ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 และทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ กับสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร ของสายพันธุ์ สังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า หอม สีแดง (แม่โจ้ 23) และสายพันธุ์ สังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเหนียว หอม สีแดง (แม่โจ้ 24) ได้สำเร็จกระทั่งสิ้นสุดขั้นตอน และได้ดำเนินการต่อเนื่องในขั้นตอนที่ 5 ยื่นคำขอจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ และยื่นคำขอรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน จากสำนักคุ้มครองพันธุพืช กรมวิชาการเกษตร ซึ่งข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ที่ใช้ยื่นของสายพันธุ์ สังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า หอม สีแดง (แม่โจ้ 23) คือเป็นต้นเตี้ย ทรงกอตั้ง เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นขนาด 4.16 มิลลิเมตร ความสูงของต้นวัดถึง คอรวง 66 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนบ้าง ลิ้นใบมีรูปร่าง 2 ยอด กาบใบสีเขียว มุมของใบธงตั้งตรง วันออกดอก 50% นาปรัง 118 วัน นาปี 111 วัน ยอดเกสรเพศเมียสีขาว คอรวงโผล่ค่อนข้างมาก จำนวนรวงต่อกอ 16 รวง อายุเก็บเกี่ยว นาปรัง 148 วัน นาปี 141 วัน รวงยาว 27.65 เซนติเมตร เปลือกเมล็ดสีฟาง ข้าวเปลือกมีความยาวเฉลี่ย 9.90 มิลลิเมตร กว้าง 2.00 มิลลิเมตร หนา 1.70 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาวยาวเฉลี่ย 6.55 มิลลิเมตร กว้าง 1.65 มิลลิเมตร หนา 1.53 มิลลิเมตร จัดเป็นข้าวรูปร่างเมล็ดเรียว (อัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง 3.97) น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด (ความชื้น 14%) 17 กรัม จำนวนเมล็ดต่อรวง 182 เมล็ด การติดเมล็ด 82 เปอร์เซ็นต์ การร่วงของเมล็ด 6-25 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณอะมิโลสต่ำร้อยละ 11.55 อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ค่าการสลายเมล็ดในด่าง (1.7%KOH) เท่ากับ 7.0 และมีสารหอม 2AP เฉลี่ย 2.77 ppm และสายพันธุ์ สังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย

ข้าวเหนียว หอม สีแดง (แม่โจ้ 24) มีลักษณะประจำพันธุ์ คือเป็นต้นเตี้ย ทรงกอตั้ง เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นขนาด 4.71 มิลลิเมตร ความสูงของต้นวัดถึงคอรวง 62 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนบ้าง ลิ้นใบมีรูปร่าง 2 ยอด กาบใบสีเขียว มุมของใบธงตั้งตรง วันออกดอก 50% นาปรัง 99 วัน นาปี 104 วัน ยอดเกสรเพศเมียสีขาว คอรวงโผล่ค่อนข้างมาก จำนวนรวงต่อกอ 16 รวง อายุเก็บเกี่ยว นาปรัง

129 วัน นาปี 134 วัน รวงยาว 24.00 เซนติเมตร เปลือกเมล็ดสีฟาง ข้าวเปลือกมีความยาวเฉลี่ย 10.00 มิลลิเมตร กว้าง 2.05 มิลลิเมตร หนา 1.70 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาวยาวเฉลี่ย 6.65 มิลลิเมตร กว้าง 1.70 มิลลิเมตร หนา 1.50 มิลลิเมตร จัดเป็นข้าวรูปร่างเมล็ดเรียว (อัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง 3.91) น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด (ความชื้น 14%) 17 กรัม จำนวนเมล็ดต่อรวง 219 เมล็ด การติดเมล็ด 82 เปอร์เซ็นต์ การร่วงของเมล็ด 26-50% เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณอะมิโลสต่ำร้อยละ 6.48 อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ค่าการสลายเมล็ดในด่าง (1.7%KOH) เท่ากับ 7.0 และมีสารหอม 2AP เฉลี่ย 2.84 ppm และได้ผลิตเมล็ดพันธุ์คัด โดยสามารถบันทึกลักษณะออกดอกของสายพันธุ์ข้าว

สังข์หยดพัทลุง ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า หอม สีแดง (พันธุ์แม่โจ้ 23) มีอายุวันออกดอก 75% เฉลี่ย 108 วัน และคัดเลือกรวงพันธุ์คัดได้ทั้งหมด 142 กอ และ สายพันธุ์ ข้าวสังข์หยดพัทลุง

ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเหนียว หอม สีแดง (พันธุ์แม่โจ้ 24) มีอายุวันออกดอก 75% เฉลี่ย

95 วัน และคัดเลือกรวงพันธุ์คัดได้ทั้งหมด 214 กอ

คำสำคัญ : สังข์หยดพัทลุง ข้าวโภชนาการสูง เครื่องหมายโมเลกุลช่วยผสมกลับ การคุ้มครองพันธุ์พืช การผลิตเมล็ดพันธุ์ ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ข้าวต้นเตี้ย ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวหอม ข้าวสีแดง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

The improvement of Sang Yod Phatthalung rice varieties to become non-photoperiod sensitive, semi-dwarf, aromatic, red, non-glutinous/glutinous and high nutritional value was conducted using hd1, hd2, hd4, hd5, sd1, fgr, wx and SSIIa markers by molecular marker-assisted backcrossing (MAB). Presented non-glutinous/glutinous, semi-dwarf, early flowering and aromatic rice can be grown throughout the year. Sang Yod Phatthalung with non-glutinous and glutinous rice for two new varieties will be registered by PVP law, plant species royal decree act of 1999 in 2020 budget. Data for growth characteristics of 8 rice lines of non-glutinous and 2 rice lines of glutinous were collected, including the full tillering stage (i.e. leaf hair, shape of the tongue leaf and leaf cladding color), flowering phase (i.e. stem diameter, banded, 50% flowering days, color of the female stamens, plant height, number of panicles, corner of the flag leaf and emergence of the sheaves), maturity (i.e. seed loss, sheaves, harvest date and length of the panicles) and after harvest (i.e. paddy weight of 1000 grains, paddy color, type of grain, brown rice shape, amylose content, gelatinization temperature, gel consistency, aroma and resistance to disease and pests). Pure lines were produced for two seasons; rainy season 2019 and dry season 2020.

Sang Yod Phatthalung with non-glutinous rice showed 75% of flowering days in 113 and 114 days, while the number of anticipated breeder seeds were selected with 53 and 130 plants, respectively.

Sang Yod Phatthalung with glutinous rice showed 75% flowering days in 102 and 99 days while the number of anticipated breeder seeds were selected with 35 and 123 plants, respectively.

Moreover, Sang Yod Phatthalung with non-glutinous and glutinous rice was grown in rainy season 2019 at Maejo University organic farm in accordance with USDA and IFOAM standard. The yield of Sang Yod Phatthalung with non-glutinous/glutinous showed 309-647 kg/rai. Rice shapes including paddy width, paddy length, paddy thickness, width of the grain brown rice, length of brown rice seeds and thickness of the grain brown rice were 1.70-1.80, 8.30-9.80, 1.60-1.70, 1.70-1.80, 5.90-6.80 and 1.40-1.60 mm., respectively. As for the yield in the dry season 2019, the milling characteristics of Sang Yod Phatthalung rice seed varieties to become non-photoperiod sensitive, semi-dwarf, aromatic, red, non-glutinous/glutinous and high nutritional value were not chalky grain, with 68.61-85.48% of whole kernels and 14.95–31.77 % of broken rice. Physical characteristics of the seed, the length of the grain was between 5.79 - 6.69 mm. classified as short to class 2 long grain or long grain, and a slender grain shape with the ratio of length to width between 3.64 - 4.10 mm. In terms of chemical characteristics, the flow gel distance was between 27.83 - 84.17 mm and classified as hard to soft-cooked flour. Elongation rate of cooked rice was between 1.33 - 1.54. The percentage amylose content was 3.7 - 23.35 %, classified as glutinous rice and medium amylose non-glutinous rice. The decomposition value in a 1.7% KOH alkali solution was between 2 – 7, categorized as in low to high decomposition level. In addition, it contains aromatic substances (2AP) between 1.16 - 3.17 ppm.The nutritional quality revealed 0.29-0.39 mg of vitamin E, 0.34-0.41 mg of vitamin B1, 1.31-1.72 mg of iron, 0.39-0.96 mg of zinc, 0.14-0.24 mg of copper, 31-53 mcg of folate and 618.08-802.54 mg/kg of gamma oryzanol whereas no total anthocyanin (peonidin), carotenoid lutein and beta-carotene were detected. Moreover, Sang Yod Phatthalung with non-glutinous/glutinous rice displayed a total antioxidant active (ORAC) at 13,294.19-17,0330 ?moles TE, total antioxidant active (FRAP) at 2,507.09-3,516.61 ?moles TE, total polyphenol at 384.84-565.69 mg eq GA, total anthocyanin (cyanidin, peonidin) at 7.91-12.99 mg and total anthocyanin (cyanidin) at 7.91-12.91 mg.

And the registration of the new plant variety, in terms of selection, reservation and collection for local and forest plants, will be filed according to Section 52 of Plant Variety Protection Act B.E. 2542. Moreover, the agreement with Plant Variety Protection Division, Department of Agriculture was made regarding the benefits shared from Sang Yod Phatthalung with non-photoperiod sensitive, semi-dwarf, aromatic, red, non-glutinous rice (namely Maejo 23) and Sang Yod Phatthalung with non-photoperiod sensitive, semi-dwarf, aromatic, red, glutinous rice (namely Maejo 24). It was successfully completed until the end of the procedure. Successively, the fifth step to apply for the registration of a new plant variety and to apply for certification of registered plant variety with Plant Variety Protection Division, Department of Agriculture was made. In which, the characteristics of the variety will be used for the submission of Sang Yod Phatthalung with non-photoperiod sensitive, semi-dwarf, aromatic, red, non-glutinous rice (namely Maejo 23) were as follows; semi-dwarf, erect clump, diameter of the stem was 4.16 mm, height of the trunk to the rice neck was 66 cm., leaf blade: pubescence of surface some weak, cleft leaf: shape of ligule cleft , green leaf sheath, white stamens and corner of the flag leaf was erect, 50% flowering days in dry season was 118 days and 111 days in rainy season. A lot of panicle base showed 16 panicles per plant. Harvest maturity in dry season was 148 days and 141 days in rainy season. Length of panicles was 27.65 cm. Paddy was straw color. Mean of shape including width of paddy, length of paddy, thickness of paddy, width of the grain brown rice, length of brown rice seeds and thickness of the grain brown rice were 9.90, 2.00, 1.70, 6.55, 1.65 and 1.53 mm., respectively. Seeds was slender (length-to-width ratio was 3.97). One thousand grain weight (14% moisture) was 17 g. Number of spikelets per panicle was 182 seeds, seed set was 82 % and seed loss was 6-25 %. Amylose content was 11.55% and with low gelatinization temperature. Seed decomposition value (1.7%KOH) was 7.0. Concentration of 2AP was 2.77 ppm. Sang Yod Phatthalung with non-photoperiod sensitive, semi-dwarf, aromatic, red, glutinous rice (namely Maejo 24) characteristics that will be used for registration were as follows; semi-dwarf, erect clump, diameter of the stem was 4.71 mm., height of the trunk to the rice neck was 62 cm., leaf blade: pubescence of surface some weak, cleft leaf: shape of ligule cleft , green leaf sheath, white stamens and erected corner of the flag leaf. Fifty percent flowering days in dry season was 99 days and 104 days in rainy season. A lot of panicle base showed 16 panicles per plant. Harvest maturity in dry season was 129 days and 134 days in rainy season. Length of panicles was 24 cm. Paddy was straw color. Means of shapes including width of paddy, length of paddy, thickness of paddy, width of the grain brown rice, length of brown rice seeds and thickness of the grain brown rice were 10.00, 2.05, 1.70, 6.65, 1.70 and 1.50 mm., respectively. Seed was slender (length-to-width ratio was 3.91). A thousand grain weight (14% moisture) was 17 g. Number of spikelets per panicle were 219 seeds with 84 % seed set and 6-25 % seed loss. Amylose content was at 6.48% and with low gelatinization temperature. Seed decomposition value (1.7%KOH) was 7.0. Concentration of 2AP was 2.84 ppm. Breeder seeds were produced for this season. Sang Yod Phatthalung with non-photoperiod sensitive, semi-dwarf, aromatic, red, non-glutinous rice (namely Maejo 23) showed 75% of flowering days in 108 days, while a number of breeder seeds were selected with 142 plants and Sang Yod Phatthalung with non-photoperiod sensitive, semi-dwarf, aromatic, red, glutinous rice (namely Maejo 24) showed 75% of flowering days in 95 days, while a number of breeder seeds were selected with 214 plants.

Keyword : Sang Yod Phatthalung, High Nutritional Rice, Molecular marker-assisted backcrossing, Plant Variety Protection, Seed Production, Non-photoperiod Sensitive Rice, Semi-dwarf Rice, Non-glutinous Rice, Glutinous Rice, Aromatic Rice and Red Rice
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ แสงทอง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
60 ไม่ระบุ
2 ว่าที่ ร.ต. หญิงศิรินภา อ้ายเสาร์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์ / สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ / งานบริการวิชาการและวิจัย
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
25 ไม่ระบุ
3 นางสาวอนุชิดา วงศ์ชื่น
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์ / สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ / งานบริการวิชาการและวิจัย
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
10 ไม่ระบุ
4 ดร.ศรัณย์ จีนะเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
5 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
4,007,437.00
   รวมจำนวนเงิน : 4,007,437.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023