การเปรียบเทียบสูตรอาหารผสมอาร์โธร์สไปร่า และไข่น้ำในการผลิตปูนา เป็นอาหารปลอดภัย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนภาคเหนือตอนบน และรักษาสิ่งแวดล้อม

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-004.4
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การเปรียบเทียบสูตรอาหารผสมอาร์โธร์สไปร่า และไข่น้ำในการผลิตปูนา เป็นอาหารปลอดภัย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนภาคเหนือตอนบน และรักษาสิ่งแวดล้อม
บทคัดย่อ :

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบสูตรอาหารที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโต ความกว้าง ความยาวกระดอง ต้นทุน คุณค่าทางโภชนาการ สารสี โลหะหนัก และคุณภาพน้ำ ในการเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์ปริมาตร 100 ลิตร จำนวน 12 บ่อ วางแผนการทดลองแบบ (CRD) แบ่งเป็น 4 ชุดการทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ดังนี้ T1 อาหารปลาดุกชนิดเม็ด T2 อาหารปลาดุกชนิดเม็ด+อาร์โธรสไปร่าสด 30% T3 อาหารปลาดุกชนิดเม็ด+ไข่น้ำสด 30% และ T4 อาหารปลาดุกชนิดเม็ด+ อาร์โธรสไปร่าผง 3% การวิจัยครั้งนี้ใช้ ปูนาที่มีน้ำหนักเริ่มต้น 11.80?0.51 กรัม/ตัว อัตราการปล่อย 20 ตัว/ตารางเมตร ให้อาหาร 5%/น้ำหนักตัว/วัน เก็บข้อมูลทุก ๆ 30 วัน ระยะเวลา 150 วัน พบว่า ปูนาที่ได้รับอาหารเม็ดผสมสาหร่ายอาร์โธรสไปร่าผง 3% มีน้ำหนักเฉลี่ย 36.85?0.85 กรัม/ตัว อัตราการเจริญเติบโต 0.167 กรัม/ตัว/วัน อัตราน้ำหนักเพิ่มขึ้น 210.67 เปอร์เซนต์ /ตัว อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ 0.77 เปอร์เซนต์/วัน อัตราการรอด 91.67 เปอร์เซนต์ อัตราการแลกเนื้อ 0.42 และประสิทธิภาพการใช้โปรตีน 0.62 ดีกว่าชุดการทดลองอื่น ความกว้างกระดอง และความยาวกระดอง พบว่า ปูนาที่ได้รับอาหารเม็ดผสมสาหร่ายอาร์โธรสไปร่าผง 3% และปูนาที่ได้รับอาหารเม็ดผสมสาหร่ายอาร์โธรสไปร่าสด 30% มีความกว้างกระดอง และความยาวกระดอง มากกว่าชุดการทดลองอื่น และปูนาที่ได้รับอาหารผสมสาหร่ายอาร์โธรสไปร่าผง 3% มีต้นทุนการเลี้ยง 4.03 บาท/ตัว มีโปรตีนในเนื้อ 23.59 เปอร์เซ็นต์ และมีไขมันในเนื้อปูนา 0.31 เปอร์เซ็นต์ แคโรทีนอยด์ในเนื้อ 0.06 มิลลิกรัม/กรัม ดีกว่าชุดการทดลองอื่น และโลหะหนักในเนื้อปูนา ทั้ง 4 ชุดการทดลอง ไม่พบปริมาณโลหะหนัก สาหรับคุณภาพน้ำทั้ง 4 ชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

คำสำคัญ : ปูนา อาร์โธรสไปร่า ไข่น้า อาหารปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Comparison of Arthrospira platensis and Wolffia globosa mixed feed to produce Ricefield crab (Sayamia bangkokensis) food safety for economic development of upper Northern Community and environment aspect
Abstract :

The research aimed to compare different diet formulas on growth, carapace width, carapace length, cost, nutritional value, pigment, heavy metal and water quality were studied. The Ricefield crab (Sayamia bangkokensis) culture were conducted in the cement pond (100 L.), 12 ponds. Four treatments with three replications each CRD were applied including T1 pellet catfish feed, T2 pellet catfish feed+raw Arthrospira 30%, T3 pellet catfish feed+Water meal 30%, T4 pellet catfish feed +powder Arthrospira 3%. Ricefield crab initially stocked were 11.80?0.51 gm/crab, in weight at a density of 20 fish/m2 and feed 5%/crab weight/day. Data was collected every 30 days for a 150-day period

It was found that crab cultured with pellet catfish feed+ powder Arthrospira 3% had average weight (36.85?0.85 g/crab), average daily growth (0.167 g/crab/day), weight gain (210.67 %/crab), specific growth rate (0.77 %/day), survival rate (91.67 %), feed conversion ratio (0.42) and protein efficiency ratio (0.62) and significantly (p < 0.05) bester than the other experiments. The carapace width and carapace length, it was found that the crabs were fed with 3% Arthospira powder and 30% of the raw Arthospira pellet and significantly (p < 0.05) bester than the other experiments. The pellet catfish feed+ powder Arthrospira 3% cultured of ricefield crab, cost of 4.03 baht/body, 23.59% protein, 0.31% fat and carotene 0.06 mg / g and significantly (p < 0.05) bester than the other experiments. The heavy metal in all four treatments of experiments did not find the heavy metal content. The water quality of crab cultured in all experiments were not significant difference and were in the aquaculture standard.

Keyword : Ricefield crab, Arthrospira, water meal, food safety and environment
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.จงกล พรมยะ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
70 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.อานุภาพ วรรณคนาพล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
30 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
584,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 584,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
1 ธันวาคม 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 
ฉบับที่ : 3
หน้า : 75-85
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
1 มิถุนายน 2566
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023