การปรับปรุงพันธุ์ปลาหนังลูกผสม 3 สายพันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์และวิสาหกิจชุมชน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-004.2
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การปรับปรุงพันธุ์ปลาหนังลูกผสม 3 สายพันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์และวิสาหกิจชุมชน
บทคัดย่อ :

การศึกษาการเจริญเติบโตของปลาหนังลูกผสม 3 สายพันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าเชิงพาณิชย์และวิสาหกิจชุมชน โดยทำการผสมพันธุ์ปลาเทโพ ปลาลูกผสมบึกสยามและปลาเทพา ดังนี้คือ (1) แม่เทโพ ? พ่อเทโพ, (2) แม่บึกสยาม ? พ่อบึกสยาม, (3) แม่บึกสยาม ? พ่อเทโพ, (4) แม่เทโพ ? พ่อบึกสยาม และ (5) แม่บึกสยาม ? พ่อเทพา พบว่าการเจริญเติบโตของปลาหนังลูกผสมในแต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p < 0.01) โดยที่อายุ 11 เดือน คู่ผสมสายพันธุ์ (4) แม่เทโพ ? พ่อบึกสยาม มีนํ้าหนักและความยาวสูงสุดมีค่าเท่ากับ 47.17?14.36 กรัมและ 18.46?1.83 เซนติเมตร รองลงมาเป็นคู่ผสมสายพันธุ์ (2) แม่บึกสยาม ? พ่อบึกสยาม มีนํ้าหนักและความยาวเท่ากับ 36.24?24.32 กรัม และ 16.70?3.04 เซนติเมตร คู่ผสมสายพันธุ์ (3) แม่บึกสยาม ? พ่อเทโพ มีนํ้าหนักและความยาวเท่ากับ 33.07?23.27 กรัม และ 15.49?3.21 เซนติเมตร คู่ผสมสายพันธุ์ (5) แม่บึกสยาม ? พ่อเทพา มีนํ้าหนักและความยาวเท่ากับ 27.83?8.51กรัม และ 15.13?1.46 เซนติเมตร โดยคู่ผสมสายพันธุ์ (1) แม่เทโพ ? พ่อเทโพ มีนํ้าหนักและความยาวน้อยที่สุดซึ่งมีค่าเท่ากับ 21.31?5.82 กรัม และ 13.51?1.36 เซนติเมตร

จากการศึกษายังพบว่าที่อายุ 11 เดือน ค่าเฮตเทอโรซีสของคู่ผสม แม่เทโพ ? พ่อบึกสยาม มีค่าสูงสุด โดยมีค่าอยู่ที่ 63.71% รองลงมาคือ แม่บึกสยาม ? พ่อเทโพ โดยมีค่าอยู่ที่ 14.95 % ตามลำดับ การประเมินค่าอัตราพันธุกรรมของปลาหนังและปลาหนังลูกผสมที่อายุ 11 เดือน ทั้งลักษณะนํ้าหนักและความยาวตัวมีค่าสูง โดยมีค่าเท่ากับ 0.08?0.11 และ 0.08?0.11 ตามลำดับ จากผลการวิเคราะห์คุณภาพเนื้อและคุณค่าทางโภชนาการในปลาหนังลูกผสมสายพันธุ์ต่างๆ ชี้ให้เห็นถึงศัยกภาพของการปรับปรุงพันธุ์จากการผสมข้ามซึ่งได้รวมข้อดีของแต่ละสายพันธุ์ไว้ทั้ง 3 สายพันธุ์ ระหว่าง ปลาหนังลูกผสมบึกสยาม (ลูกผสมระหว่างพ่อปลาบึกxแม่ปลาสวาย) และ ปลาเทโพ ซึ่งนอกจากให้การเจริญเติบโตที่ดีแล้ว ยังสามารถพัฒนาคุณภาพเนื้อให้ดีขึ้นได้อีกด้วย จากการวิจัยในครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการผลิตปลาหนังลูกผสม 3 สายพันธุ์ระหว่างแม่เทโพxพ่อบึกสยาม ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตปลาหนังลูกผสมในระบบการผลิตสัตว์นํ้าเพื่อเพิ่มมูลค่าและอาหารสุขภาพให้กับวิสาหกิจชุมชนต่อไป

คำสำคัญ : ปลาหนังลูกผสม , การเจริญเติบโต , เฮตเทอโรซีส , การปรับปรุงพันธุ์ , วิสาหกิจชุมชน
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

A study on the growth performance of 3 hybrid catfish biotypes for commercial aquaculture and community enterprise, comprising of Pangosius larnaudii, BukSiam hybrid catfish (male Pangasianodon gigas x female P. hypophthalmus) and Pangasius sanitwongsei. Mating as follows: (1)female P. larnaudii ? male P. larnaudii, (2)female BukSiam hybrids catfish ?male BukSiam hybrids catfish, (3)female BukSiam hybrids catfish ? male P. larnaudii, (4)female P. larnaudii ? male BukSiam hybrid catfish and (5)female BukSiam hybrids catfish ?male P. sanitwongsei. It was found that, at 11 months old, the final body weight and total length of different biotypes were highly significant differences (p<0.01). Body weight and total length of hybrid (female P. larnaudii ? male BukSiam hybrid catfish) were highest: 47.17?14.36 g. and 18.46?1.83 cm.; body weight and total length of hybrid (female BukSiam hybrids catfish ? male BukSiam hybrid catfish) were 36.24?24.32 g. and 16.70?3.04 cm.; body weight and total length of hybrid (female BukSiam hybrids catfish ? Male P. larnaudii) were 33.07?23.27 g. and 15.49?3.21 cm.; body weight and total length of hybrid (female BukSiam hybrids catfish ? male P. sanitwongsei) were 27.83?8.51 g. and 15.13?1.46 cm.; body weight and total length of female P. sanitwongsei ? male P. sanitwongsei were lowest: 21.31?5.82 g. and 13.51?1.36 cm. respectively.

The heterosis of hybrid (female P. larnaudii ? male BukSiam hybrid catfish) at 11 months of age was highest at 63.71%; next is hybrid (female BukSiam hybrid catfish ? Male P. larnaudii) was 14.95 % respectively. Estimation of heritability in catfish and hybrid catfish at 8 months old were high for body weight and total length (h2BW: 0.08?0.11 and h2TL: 0.08?0.11). The heritabilities and correlations showed desirable prospective for selective breeding of body weight and total length.

The results show the potential for crossbreeding, combining the advantages of each of the three strains between BukSiam hybrid catfish (male Pangasianodon gigas x female P. hypophthalmus) and P. larnaudii in term of growth and quality of fillets. These results imply that the potential of the production of 3 hybrid fish species produced from female P. larnaudii ? male BukSiam hybrid catfish for increasing of hybrid catfish production in the aquaculture system in order to value added and healthy food to community enterprises.

Keyword : hybrid catfish, growth, heterosis, genetic improvement, community enterprises
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยภายใต้งานวิจัย มจ.1-63-02-004 : การผลิตสัตว์น้ำเศรษฐกิจในชุมชนเพื่อพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน
หน่วยงานต้นสังกัด :
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสรา กิจเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
50 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
1,034,939.00
   รวมจำนวนเงิน : 1,034,939.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
31 มกราคม 2565
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 
ฉบับที่ : 1
หน้า : 104-113
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023