การประมาณค่าทางพันธุกรรมและการศึกษาระดับโมเลกุลเพื่อการพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลจากระบบไบโอฟลอคเข้าสู่การเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์โดยการคัดเลือก

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-003.7
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การประมาณค่าทางพันธุกรรมและการศึกษาระดับโมเลกุลเพื่อการพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลจากระบบไบโอฟลอคเข้าสู่การเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์โดยการคัดเลือก
บทคัดย่อ :

การประมาณค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักปลานิลอินทรีย์ภายใต้การเลี้ยงในระบบไบโอฟลอค โดยการประมาณค่าจากประชากรปลานิลรุ่นที่ 2 จำนวน 71 และ 66 ครอบครัวเมื่ออายุ 2-3 เดือนและ 3-4 เดือน องค์ประกอบความแปรปรวนถูกประมาณค่าด้วยวิธี Restricted Maximum Likelihood (REML) โดยใช้ Average Information (AI) algorithm ร่วมกับแบบจำลองสัตว์ (animal model) พบว่าค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักปลานิลมีความแตกต่างไปตามช่วงอายุ โดยที่อายุ 2-3 เดือน ค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักตัวมีค่าเท่ากับ 0.02?0.06 ซึ่งมีค่าต่ำ ที่อายุ 3-4 เดือน ค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักตัวมีค่า 0.16 ? 0.04 ซึ่งมีค่าปานกลางและมีค่ามากกว่าที่อายุ 2-3 เดือน

จากการประเมินผลการตอบสนองต่อการคัดเลือกหลังจากคัดพันธุ์ 1 รุ่นได้จากผลต่างของค่าเฉลี่ย least square mean ของปลานิลกลุ่มคัดเลือกกับค่าเฉลี่ย least square mean ของปลานิลกลุ่มควบคุมมีค่าเท่ากับ 0.98 กรัม/รุ่น หรือคิดเป็น 11.78 % และมีความแตกต่างระหว่างกลุ่มคัดเลือกที่มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) ซึ่งนับว่ามีความก้าวหน้าในระดับที่ค่อนข้างดี

การศึกษาในระดับโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต โดยสุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 50 ตัว แบ่งเป็น 2 ขนาด (ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก) พบว่า ปลากลุ่มควบคุมขนาดใหญ่ มีค่าเฉลี่ยของน้ำหนัก ความยาวและความหนา สูงกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งสอดคล้องกับค่าสัดส่วนกิจกรรมเอนไซม์ทริปซิน/ไคโมทริปซิน (T/C ratio) ส่วนค่าเฉลี่ยความกว้างของปลาขนาดใหญ่กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง มีค่าสูงกว่าปลาขนาดเล็กกลุ่ม โดยค่าเลือด พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันในปลาทุกกลุ่ม ส่วนยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต พบว่า ยีน GHR1 ในกล้ามเนื้อของกลุ่มปลาขนาดใหญ่มีค่าสูงกว่ากลุ่มปลาขนาดเล็ก จึงสรุปได้ว่ายีน GHR1 ในกล้ามเนื้ออาจจะมีความเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของลูกปลาที่คัดพันธุ์ครั้งนี้

คำสำคัญ : ปลานิล , ปรับปรุงสายพันธุ์ , การคัดพันธุ์ , ผลตอบสนองต่อการคัดพันธุ์ , ไบโอฟลอค
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

In this study, heritability was estimated for total weight at 2 -3 and 4 -5 months after hatching. Estimation was made on data from 71 and 66 full-sib families (2-3 and 3-4 months of age). The analysis of variance was performed using a mixed linear animal model and variance components were analyzed following an animal model using Restricted Maximum Likelihood procedure (REML) employing average information (AI) algorithm. Heritability estimates (h2) for growth related traits varied considerably with ages. At 2-3 months old, h2 for body weight (BW;0.02?0.06) were low. At 4-5 months old, h2 of BW (BW; 0.16 ? 0.04) were higher than those estimated at 2-3 months old.

Response to selection (R), by different between least square mean of selected line and control line is

g./generation as 11.78 %. It was showed highly significant (p<0.01) and good trend by EBV selection.

For molecular level that involving growth, 50 fished of control and treatment groups were sampled for 2 sizes; large and small. It was resulted that the large size of control group showed the highest of average values of weight, length and body thickness. While average body depth of large size fishes of both control and treatment groups showed higher value than the small groups. For blood parameter, hematocrit of all groups showed no different. For growth gene, GHR-1 in muscle of treatment large group showed higher than the small group. Therefore GHR-1 in muscle may be involved in the selective breeding program of this project.

Keyword : nile tilapia, genetic improvement, selection, realized response, biofloc
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยภายใต้งานวิจัย มจ.1-63-02-003 : การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสรา กิจเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
60 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราพร โรจน์ทินกร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
20 ไม่ระบุ
3 อาจารย์ ดร.โดม อดุลย์สุข
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
3,493,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 3,493,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
14 พฤษภาคม 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ : 1
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
1 กรกฎาคม 2565
วารสารที่ตีพิมพ์ : Agriculture and Natural Resources 
ฉบับที่ : 4
หน้า : 725-736
ระดับการนำเสนอ : ระดับนานาชาติ
เจ้าของวารสาร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1
23 ธันวาคม 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
ฉบับที่ : 1
หน้า : 26-32
ระดับการนำเสนอ : ระดับนานาชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.4
19 เมษายน 2565
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
ฉบับที่ :
หน้า : 1-6
ระดับการนำเสนอ : ระดับนานาชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.4
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
1 ตุลาคม 2563
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : เชิงพาณิชย์
30 กรกฎาคม 2564
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : เชิงพาณิชย์
1 ตุลาคม 2564
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : เชิงพาณิชย์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023