การบริหารจัดการการผลิตและสุขภาพปลานิลเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเพื่อความมั่นคั่งและยั่งยืนของธุรกิจ

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-003.3
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การบริหารจัดการการผลิตและสุขภาพปลานิลเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเพื่อความมั่นคั่งและยั่งยืนของธุรกิจ
บทคัดย่อ :

ภาพรวมผลผลิตเฉลี่ยปลานิลซึ่งเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจของไทยยังต่ำ (480 กิโลกรัม/ไร่) แม้ว่าจะมีตัวอย่างฟาร์มที่มีการบริหารจัดการที่ดี งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อการผลิตปลานิล โดยลงพื้นที่สุ่มเก็บข้อมูลการเลี้ยงปลาเพื่อนำมาวิเคราะห์ผลประกอบการและหาแนวทางในการพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงปลานิลให้มีความยั่งยืน จากการสำรวจลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการเลี้ยงปลานิลในกระชังในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชรและตาก พบว่า เกษตรกรไม่ได้ปรับรูปแบบการเลี้ยงที่จะส่งผลให้ศักยภาพการผลิตสูงขึ้นอย่างชัดเจน มีบางรายติดตั้งเครื่องเติมอากาศแต่ยังไม่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน เกษตรกรพบปัญหาปลาตายระหว่างการเลี้ยงแต่ไม่ได้ตรวจวินิจฉัยสาเหตุและโรคที่เกิดขึ้น ผู้เลี้ยงมีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อแก้ไขปัญหา หรือบางรายงดการให้อาหารจนกว่าปลาจะหยุดตาย ยังไม่มีการใช้เกลือช่วยลดความเครียดระหว่างการเลี้ยงที่ชัดเจน รวมทั้งไม่มีแบบแผนในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ โรคติดเชื้อแบคทีเรีย 3 ชนิดหลักที่ตรวจพบในปลานิล ได้แก่ Flavobacterium columnare, Streptococcus agalactiae และ Aeromonas hydrophila โดยการตายของปลามักจะเกิดรอยต่อระหว่างปลายฤดูร้อนถึงฤดูฝน นับตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ส่วนปรสิตเห็บระฆังจะแทรกเข้ามาเมื่อปลามีความอ่อนแอ ปัญหาปลาน็อคตายยังเป็นปัญหาประจำทุกปีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและน้ำอย่างฉับพลัน มีการรวมกลุ่มของเกษตรกรทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อประโยชน์ในการจัดหาลูกพันธุ์ จัดซื้ออาหารสำเร็จรูปและจำหน่ายผลผลิต การขาดบริหารจัดการที่ดีตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) ตั้งแต่โรงเพาะฟัก การอนุบาล ตลอดจนถึงกระบวนการเลี้ยงปลานิลยังมีน้อย เพราะเกษตรกรขาดแรงจูงใจที่จะพัฒนาฟาร์มให้ได้มาตรฐาน เนื่องจากราคาจำหน่ายปลานิลที่ได้มาตรฐานไม่ได้สูง ดังนั้นเพื่อให้การผลิตปลานิลเป็นไปอย่างยั่งยืน เกษตรกรควรใช้การตลาดนำการผลิต เลือกทำเลที่เหมาะสม มีการใช้สายพันธุ์ที่ดี ปล่อยลูกพันธุ์ขนาดที่โตขึ้นในอัตราที่เหมาะสมตามระบบการเลี้ยง หมั่นศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลการเลี้ยง ปรับวิธีการเลี้ยงให้เหมาะสมตามสภาพน้ำและอากาศ

คำสำคัญ : ปลานิล สุขภาพปลานิล การบริหารจัดการการผลิต การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

The overall tilapia production, one of the most important inland aquaculture in Thailand, has remained very low (480 kg/Rai) although there are some good practices available. The objectives of this research were to get the information about current status of tilapia culture, tilapia diseases, the problems relating to climate change and other factors affecting the tilapia production. The second year of this research had been carried out by farm visits to collect the tilapia culture data which were then analyzed to generate the sustainable tilapia farming. This year, data was collected from Chiangmai, Chiangrai, Lamphun, Lampang, Uttaradit, Phitsanulok, Kamphaeng Phet, and Tak. It was found that most fish farmers do not adjust the culture techniques to enhance their productivity. Some set up the aeration; however, the application of them is still not effective. Fish farmers have faced fish death during a culture period, but the sick or moribund fish are not diagnosed. Some chemicals and antibiotics have been used to solve this problem. Some stop feeding until the fish death is over. There is no salt application for stress relief and no water exchange plan for fish culture in earthen ponds. Three major fish bacterial pathogens include Flavobacterium columnare, Streptococcus agalactiae, and Aeromonas hydrophila. Fish death usually occurs during season change from late summer to rainy season; March – July. In cases of fish stress, Trichodina may become pathogenic ectoparasite interfering with feeding and respiration of small fish. The massive deaths of cage cultured tilapia due to an improper reservoir management and the abrupt changes in weather as well as water quality were reported every year. Tilapia farmers' associations have been formally and informally set up in order to get the benefit from seed and commercial feed buying as well as product selling. There are still a room for Good Aquaculture Practices (GAP) including hatchery, nursery, and on-farm culture because most farmers lack of the motivation to improve their farms due to the GAP fish product is not high. To be a sustainable tilapia culture, farmers must apply a market driven, select the suitable sites, release the good quality of bigger fingerlings in the appropriate stocking density depending on the culture system, go on studying the culture techniques and analysis, adapt the culture method to suit to water and climate situation.

Keyword : Tilapia, Tilapia Health, Tilapia Diseases, Fish Farm Management, Climate Change
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยภายใต้งานวิจัย มจ.1-63-02-003 : การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.ชนกันต์ จิตมนัส
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
80 ไม่ระบุ
2 รองศาสตราจารย์ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
365,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 365,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
2 มกราคม 2566
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง 
ฉบับที่ : 1
หน้า : 31-40
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัยพากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
0.6
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023