การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-003
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร
บทคัดย่อ :

งานวิจัย เรื่อง การผลิตสัตว์เศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหาร ประกอบด้วย 7 โครงการ ได้แก่ 1) การประมาณค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักปลานิลอินทรีย์ภายใต้การเลี้ยงในระบบไบโอฟลอค 2) ประสิทธิภาพของสารสกัดกระเทียมเสริมอาหารในการเลี้ยงปลานิล 3) ศักยภาพของพืชสมุนไพรไทยและจุลินทรีย์โปรไบโอติกต่อการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันของปลานิล 4) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพซินไบโอติกส์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การยับยั้งโรคติดเชื้อ กิจกรรมของเอนไซม์ย่อยอาหารและการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันในปลานิลวัยอ่อน 5) การปรับปรุงคุณภาพไข่ไก่ด้วยสาหร่ายไบรูลิน่า 6) การบริหารจัดการการผลิตและสุขภาพปลานิลเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยน แปลงสภาพอากาศเพื่อความมั่นคั่งและยั่งยืนของธุรกิจ 7) รูปแบบที่เหมาะสมในการใช้เศษเหลือปลาจากกระบวนการผลิตปลาส้มและหอยเชอรี่เป็นอาหารเลี้ยงปลาช่อนในระบบน้ำหมุนเวียนแบบอะควาโปนิคส์ เข้าสู่การเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยปีที่ 2 มีดังนี้ การประมาณค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักปลานิลอินทรีย์ภายใต้การเลี้ยงในระบบไบโอฟลอค โดยการประมาณค่าจากประชากรปลานิลรุ่นที่ 2 จำนวน 71 และ 66 ครอบครัวเมื่ออายุ 2-3 เดือนและ 3-4 เดือน องค์ประกอบความแปรปรวนถูกประมาณค่าด้วยวิธี Restricted Maximum Likelihood (REML) โดยใช้ Average Information (AI) algorithm ร่วมกับแบบจำลองสัตว์ (animal model) พบว่าค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักปลานิลมีความแตกต่างไปตามช่วงอายุ โดยที่อายุ 2-3 เดือนค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักตัวมีค่าเท่ากับ 0.02?0.06 ซึ่งมีค่าต่ำ ที่อายุ 3-4 เดือน เดือนค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักตัวมีค่า 0.16 ? 0.04 ซึ่งมีค่าปานกลางและมีค่ามากกว่าที่อายุ 2-3 เดือน จากการประเมินผลการตอบสนองต่อการคัดเลือกหลังจากคัดพันธุ์ 1 รุ่นได้จากผลต่างของค่าเฉลี่ย least square mean ของปลานิลกลุ่มคัดเลือกกับค่าเฉลี่ย least square mean ของปลานิลกลุ่มควบคุมมีค่าเท่ากับ 0.98 กรัม/รุ่น หรือคิดเป็น 11.78 % และมีความแตกต่างระหว่างกลุ่มคัดเลือกที่มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) ซึ่งนับว่ามีความก้าวหน้าในระดับที่ค่อนข้างดี

การวิจัยใช้สารสกัดสมุนไพรเสริมอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตของปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารอินทรีย์ โดยใช้สารสกัดกระเทียม และสูตรสารสกัดกระเทียมผสมสมุนไพรอื่น 0.5%(w/w) เป็นเวลา 16 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มควบคุม (C) ได้น้ำหนักปลารวมทั้งหมด เท่ากับ 51.6 kg กลุ่มปลาที่ได้รับสารสกัดกระเทียม (T1) ได้น้ำหนักปลารวมทั้งหมด เท่ากับ 52.1 kg กลุ่มปลาที่ได้รับสูตรสารสกัดกระเทียมผสมสมุนไพรอื่น (T2) ได้น้ำหนักปลารวมทั้งหมด เท่ากับ 62.3 kg ดังนั้นจากการทดลองนี้ กลุ่ม T2 ได้น้ำหนักปลารวมเพิ่มขึ้นจากกลุ่มควบคุม เท่ากับ 20.7 % ปลาที่ได้รับสารสกัดกระเทียมและสมุนไพรอื่น ช่วยเพิ่มผลผลิตปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารอินทรีย์ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และสารสกัดสมุนไพรสามารถเร่งการเจริญเติบโตในปลาขนาดเล็กในระหว่างเลี้ยงได้

การเสริมซินไบโอติกส์ มีผลต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของปลา อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน อัตราการแลกเนื้อ และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะดีขึ้น และมีผลต่อค่ากิจกรรมของไลโซไซม์ในเลือด และประสิทธิภาพการทำลายเชื้อแบคทีเรียของเซลล์เม็ดเลือด (NBT) ในซีรั่ม รวมถึงเอนไซม์ทริปซิน ไคโมทริปซิน โปรติเอส และอะไมเลสในลำไส้ และกระเพาะอาหารของปลานิลวัยอ่อน สูงกว่าการเสริมพรีไบโอติกส์เพียงอย่างเดียว หรือโปรไบโอติกส์เพียงอย่างเดียว เมื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ซินไบโอติกส์ โดยนำเชื้อโปรไบโอติกส์ B. subtilis ทำเป็นผงแห้ง โดยผสมเชื้อโปรไบโอติกส์กับ Skim milk (10%) ทำให้แห้งด้วยเครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze dry) ปริมาณเชื้อที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์หลังจากทำเป็นผงแล้ว ในวันที่ 0, 7, 14, 30 และ 120 วัน เก็บที่อุณหภูมิเฉลี่ย 27 ?C พบว่า ในวันที่ 0 (เริ่มต้น) มีปริมาณเซลล์ B. subtilis อยู่ 1.08?109 CFU/g เมื่อเก็บไว้เป็นเวลา 7, 14, 30 และ 120 วัน พบว่ามีปริมาณเซลล์ลดลงเท่ากับ 1.06?109, 8.50?108, 1.46?108 และ 3.85?107 CFU/g ตามลำดับ

การใช้สารสกัดจากพืช มะขามป้อม (Phyllanthus emblica) หอมแดง (Allium ascalonicum)และ ดอกแค (Sesbania grandiflora) และ สารสกัดจากพืชสมุนไพร เกสรบัวหลวง (Nelumbo nucifera) ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra) และมะแข่วน (Zanthoxylum Limonella) ร่วมกับการใช้ Lactobacillus acidophilus และ ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae เสริมในอาหารทดลอง ต่อประสิทธิภาพการเติบโต องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อปลา และภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ในการเลี้ยงปลานิล การทดลองแรก ใช้อาหารทดลอง 4 สูตร ได้แก่ อาหารเสริมวิตามินซี (VC) เป็นอาหารควบคุม อาหารเสริมด้วยมะขามป้อม (MP) อาหารเสริมด้วยหอมแดง (HD) และ อาหารเสริมด้วยดอกแค (DK) เลี้ยงปลานิลขนาดเริ่มต้นเฉลี่ย 53 ก จำนวน 3 ซ้ำ ในกระชัง ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ผลการทดลองพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วย VC, MP และ HD มีน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วย DK อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการแลกเนื้อ (FCR) ของปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริม DK และ HD มีค่าต่ำกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม VC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริม MP (p>0.05) อัตราการรอดตาย ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในอาหารทดลองทุกสูตรกับชุดควบคุม (p>0.05) หลังเสร็จสิ้นการทดลอง พบว่า ปริมาณโปรตีนในเนื้อปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร HD มีค่าต่ำสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรอื่น แต่ปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร MP มีปริมาณโปรตีนในเนื้อปลาไม่แตกต่างจากอาหารควบคุม (VC) นอกจากนี้ยังพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร MP มีปริมาณฮีมาโตครีต และปริมาณโปรตีนในซีรัม สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร DK อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่าง (p>0.05) จากชุดควบคุม (VC) สูตรอาหารที่ต่างกันในการทดลองครั้งนี้ไม่ส่งผลต่อ ปริมาณ ซีรัมไลโซไซม์ ปริมาณเม็ดเลือดแดง และปริมาณเม็ดเลือดขาว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การทดลองที่สอง ศึกษาการใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพร เกสรบัวหลวง (Nelumbo nucifera) ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra) และมะแข่วน (Zanthoxylum Limonella) เสริมในอาหารทดลอง ต่อประสิทธิภาพการเติบโต และภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ในการเลี้ยงปลานิล ใช้อาหารทดลอง 4 สูตร ได้แก่ อาหารเสริมวิตามินซี เป็นอาหารควบคุม (CT), อาหารเสริมด้วยเกสรบัวหลวง 0.05% (NN) , อาหารเสริมด้วยชะเอมเทศ 0.05% (GG) และ อาหารเสริมด้วยมะแข่วน 0.05% (ZL) เลี้ยงปลานิลขนาดเริ่มต้นเฉลี่ย 46.4 ก จำนวน 3 ซ้ำ ในกระชัง ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ผลการทดลองพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วย NN มีน้ำหนักสุดท้าย, น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น, อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร CT และ MK อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการแลกเนื้อ (FCR) และ อัตราการรอดตาย ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในอาหารทดลองทุกสูตร (p>0.05) หลังเสร็จสิ้นการทดลอง พบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารทดลองทุกสูตร (NN, GG และ ZL) มีปริมาณโปรตีนสูงกว่า CT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร NN และ GG มีปริมาณฮีมาโตครีตสูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร ZL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่าง (p>0.05) จากชุดควบคุม (CT) ปริมาณซีรัมไลโซไซม์และเม็ดเลือดแดงในปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร GG มีค่าสูงกว่า CT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่าง (p>0.05) จาก NN และ ZL สูตรอาหารที่ต่างกันในการทดลองครั้งนี้ไม่ส่งผลต่อ ปริมาณ พลาสมา โปรตีน และปริมาณเม็ดเลือดขาว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การทดลองที่สาม ใช้อาหารทดลอง 4 สูตร โดยใช้อาหารเสริมเกสรบัวหลวง (NN) และอาหารเกสรบัวหลวงผสมกับ L. acidophilus 0.2% (LA) อาหารเกสรบัวหลวงผสมกับ ยีสต์ (S. cerevisiae) 0.2% (SC) และอาหารเกสรบัวหลวงผสมกับ L. acidophilus 0.2% ร่วมกับ ยีสต์ (S. cerevisiae) 0.2% (LS) ตามลำดับ เลี้ยงปลานิลขนาดเริ่มต้นเฉลี่ย 47.5 กรัม จำนวน 3 ซ้ำ ในกระชัง ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ผลการทดลองพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร SC มีน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักเพิ่ม และอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร NN อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างจากปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร LA และ LS ผลของอาหารทดลองต่อ FCR และอัตรารอดของปลานิลในการทดลองครั้งนี้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) หลังเสร็จสิ้นการทดลอง พบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร LA และ SC ปริมาณโปรตีนในเนื้อสูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร CT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร SC มีปริมาณ hematocrit (Ht) serum lysozyme และปริมาณ red blood cell (RBC) สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร NN อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตาม สูตรอาหารที่ต่างกันในการทดลองครั้งนี้ไม่ส่งผลต่อปริมาณ plasma protein และ white blood cell (WBC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ดังนั้นสามารถใช้สารสกัดจากมะขามป้อมเสริมในอาหารทดลองเลี้ยงปลานิลแทนการใช้วิตามินซี โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อปลาและภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และการใช้เกสรบัวหลวง ร่วมกับยีสต์ S. cerevisiae เสริมในอาหารทดลองส่งผลให้ปลานิลมีอัตราการเจริญเติบโต ดีกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม

จากการสำรวจลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการเลี้ยงปลานิลในกระชังในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชรและตาก พบว่า เกษตรกรไม่ได้ปรับรูปแบบการเลี้ยงที่จะส่งผลให้ศักยภาพการผลิตสูงขึ้นอย่างชัดเจน มีบางรายติดตั้งเครื่องเติมอากาศแต่ยังไม่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน เกษตรกรพบปัญหาปลาตายระหว่างการเลี้ยงแต่ไม่ได้ตรวจวินิจฉัยสาเหตุและโรคที่เกิดขึ้น ผู้เลี้ยงมีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อแก้ไขปัญหา หรือบางรายงดการให้อาหารจนกว่าปลาจะหยุดตาย ยังไม่มีการใช้เกลือช่วยลดความเครียดระหว่างการเลี้ยงที่ชัดเจน รวมทั้งไม่มีแบบแผนในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ โรคติดเชื้อแบคทีเรีย 3 ชนิดหลักที่ตรวจพบในปลานิล ได้แก่ Flavobacterium columnare, Streptococcus agalactiae และ Aeromonas hydrophila โดยการตายของปลามักจะเกิดรอยต่อระหว่างปลายฤดูร้อนถึงฤดูฝน นับตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ส่วนปรสิตเห็บระฆังจะแทรกเข้ามาเมื่อปลามีความอ่อนแอ ปัญหาปลาน็อคตายยังเป็นปัญหาประจำทุกปีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและน้ำอย่างฉับพลัน มีการรวมกลุ่มของเกษตรกรทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อประโยชน์ในการจัดหาลูกพันธุ์ จัดซื้ออาหารสำเร็จรูปและจำหน่ายผลผลิต การขาดบริหารจัดการที่ดีตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) ตั้งแต่โรงเพาะฟัก การอนุบาล ตลอดจนถึงกระบวนการเลี้ยงปลานิลยังมีน้อย เพราะเกษตรกรขาดแรงจูงใจที่จะพัฒนาฟาร์มให้ได้มาตรฐาน เนื่องจากราคาจำหน่ายปลานิลที่ได้มาตรฐานไม่ได้สูง

การปรับปรุงคุณภาพไข่ไก่ด้วยสาหร่ายสไปรูลิน่าในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาในแม่ไก่สายพันธุ์โรมันบราวน์ อายุ 17 สัปดาห์ 320 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 20 ตัว กลุ่มที่ 1 แม่ไก่ได้รับอาหารควบคุมไม่เสริมสาหร่ายสไปรูลิน่า (0%) กลุ่มที่ 2 และ 3 แม่ไก่ได้รับอาหารควบคุมเสริมสาหร่ายสไปรูลิน่าที่ 0.10 และ 0.15% ตามลำดับ กลุ่มที่ 4 แม่ไก่ได้รับอาหารไก่ไข่ทางการค้า ทำการศึกษาสมรรถภาพการผลิตไข่ และคุณภาพไข่ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และเมื่อสิ้นสุดการทดลอง ทำการศึกษาคุณค่าทางโภชนะของไข่ไก่ต้มสุกทั้งฟอง กรดอะมิโนในไข่ขาวต้มสุก กรดไขมันในไข่แดงต้มสุก และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในไข่แดงดิบ ผลการศึกษาพบว่า ตลอด 1-12 สัปดาห์ปริมาณอาหารที่กินไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) แม่ไก่ในกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับสาหร่ายมีผลผลิตไข่ที่ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารทางการค้า (P < 0.05) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักไข่กลุ่มที่ได้รับอาหารทางการค้าไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุม (P > 0.05) แต่ต่ำกว่ากลุ่มสาหร่ายสไปรูลิน่า (P < 0.05) น้ำหนักไข่ ดัชนีไข่แดง ความหนา ความแข็งแรง และสีของเปลือกไข่ และค่า Hough unit ของทุกกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) มีเพียงสีของไข่แดงที่พบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่ามีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมแต่ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารทางการค้า (P < 0.05) ไข่ไก่ทั้งฟองของแต่ละกลุ่มมีความชื้น โปรตีนรวม คาร์โบไฮเดรทที่ย่อยได้ง่าย ( NFE) ไขมันรวม เถ้ารวม เยื่อไยรวม แคลเซียม และฟอสฟอรัส ไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) ไข่แดงดิบของกลุ่มที่ได้รับอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลิน่า 0.10% มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ 25.95% โดยไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มความคุม (P >0.05) แต่การใช้สาหร่ายสไปรูลิน่าที่ 0.15% ทำให้ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระลดลงเหลือ 6.49% (P < 0.05) ไม่พบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มที่ได้รับอาหารทางการค้า จากการวิเคราะห์กรดไขมันในไข่แดงต้มสุกของกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ใช้สาหร่าย 0.15% พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (P > 0.05) ยกเว้นพบ tricosylic acid เฉพาะกลุ่มที่ได้รับสาหร่าย myristic acid ของกลุ่มที่ได้รับสาหร่ายมีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุม (P < 0.05) และ stearic acid และ docosahexaenoic acid ของกลุ่มที่ได้รับสาหร่ายสไปรูลิน่า 0.15% มีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P < 0.05) เช่นเดียวกับกรดอะมิโนในไข่ขาวต้มสุกของกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ใช้สาหร่าย 0.15% พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (P > 0.05) ยกเว้น isoleucine และ valine ของกลุ่มที่ได้รับสาหร่ายสไปรูลิน่า 0.15% มีแนวโน้มสูงกว่ากลุ่มควบคุม (P = 0.098 และ P = 0.091) ดังนั้นสามารถใช้สาหร่ายสไปรูลิน่าที่ระดับ 0.10-0.15% ในสูตรอาหารไก่ไข่ปลอดภัยเพื่อปรับปรุงสีของไข่แดงแต่ไม่สามารถให้สีเทียบเท่ากับอาหารทางการค้าที่ใช้สารสีสังเคราะห์ การใช้อาหารปลอดภัยทำให้ผลผลิตไข่ต่ำกว่าอาหารทางการค้าและหากให้ความสำคัญกับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของไข่แดงควรใช้สาหร่ายสไปรูลิน่าที่ระดับ 0.10%

การศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้เศษเหลือปลาจากกระบวนการผลิตปลาส้มและหอยเชอรี่เป็นอาหารเลี้ยงปลาช่อนในระบบน้ำหมุนเวียนแบบอะควาโปนิคส์เพื่อพัฒนาสู่การเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์โดยแต่ละการทดลองเลี้ยงด้วยอาหารผสมสูตรที่มีหอยเชอรี่ในและของเหลือจากการแปรรูปสัดส่วนทดแทนปลาป่นร้อยละ 0, 25, 50 และชุดควบคุมเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป ทดลองเลี้ยงปลาช่อนในบ่อทดลองด้วยระบบอะควาโปนิคส์ โดยการทดลองที่ 1 เลี้ยงปลาช่อนจากขนาด 3 นิ้วให้ได้ขนาด 6 นิ้ว ระยะเวลา 3 เดือน อัตราความหนาแน่น 100 ตัวต่อตารางเมตร เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าชุดควบคุมและชุดทดลองที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมหอยเชอรี่ 50 เปอร์เซ็นต์ ให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเท่ากับ 101.0+2.14 กรัม และ 104.0+2.07 กรัม โดยเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทางสถิติพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) อัตราการรอดตาย และอัตราการเจริญเติบโตต่อวันของชุดควบคุมให้ค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 65.32 และ 64.82 เปอร์เซ็นต์, 1.10 และ 1.34+1.28 กรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ การทดลองที่ 2 เลี้ยงปลาช่อนจากขนาด 6 นิ้ว ให้ได้ขนาดตลาด ระยะเวลา 3 เดือน อัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าชุดควบคุมให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเท่ากับ 209.01+3.56 กรัม แตกต่างกับทุกชุดการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการรอดตาย 61.08+4.17 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการเจริญเติบโตต่อวันเฉลี่ยเท่ากับ 1.04+2.28 กรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ คุณสมบัติของน้ำมีเหมาะสมต่อการเลี้ยงและการเจริญเติบโตของปลาช่อนและประสิทธิภาพของการใช้อาหารแต่ละชุดการทดลองให้ผลคุณภาพน้ำที่ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ด้านผลผลิตของผักที่ปลูกในระบบอะควาโปนิคส์ของทุกชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) แต่มีข้อสังเกตระหว่างการทดลองว่าผักที่มีรากจำนวนมาก เช่น ผักบุ้ง คื่นช่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าผักชนิดอื่น ทั้งนี้ผลการศึกษาทำให้ทราบว่าของการใช้แหล่งโปรตีนอื่นเพื่อทดแทนปลาป่นในสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงปลาช่อนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเลี้ยงปลากินเนื้อชนิดอื่นได้

คำสำคัญ : ปลานิล ปรับปรุงสายพันธุ์ การคัดพันธุ์ เครื่องหมายพันธุกรรม ไบโอฟลอค สารสกัดกระเทียมอาหารอินทรีย์ สารสกัดสมุนไพรไทย การเจริญเติบโต โปรไบโอติก พืชสมุนไพร ภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อปลา ซินไบโอติกส์ พรีไบโอติกส์ เอนไซม์ย่อยอาหาร สุขภาพปลานิล การบริหารจัดการการผลิต การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไก่ไข่ ผลผลิตไข่ คุณภาพไข่ สไปรูลิน่า ปลาช่อน อะควาโปนิคส์ หอยเชอรี่ เศษเหลือปลา
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

There were 7 projects in the Economic Animal Production for Food Security and Safety Research including 1) Genetic parameter estimation and molecular marker for genetic improvement in Nile tilapia from biofloc system to organic aquaculture by selection 2) Efficacy of Garlic Extract Added Feed in Nile Tilapia Culture 3) Potential of Thai herbs and probiotics on growth and nonspecific immune response in organic Tilapia culture system 4) Development of synbiotics bioproducts affecting on growth performance, disease resistance, digestive enzyme activity and im?munological response in fry Nile tilapia 5) Production and Health Management of Tilapia for Prosperous and Sustainable Business 6) Egg quality improvement by using Spirulina platensis 7) Suitable use of fermented fish by-product and snail in diets for fish in aquaponics system to organic aquaculture. The second-year results were as follows; heritability was estimated for total weight at 2 -3 and 4 -5 months after hatching. Estimation was made on data from 71 and 66 full-sib families (2-3 and 3-4 months of age). The analysis of variance was performed using a mixed linear animal model and variance components were analyzed following an animal model using Restricted Maximum Likelihood procedure (REML) employing average information (AI) algorithm. Heritability estimates (h2) for growth related traits varied considerably with ages. At 2-3 months old, h2 for body weight (BW;0.02?0.06) were low. At 4-5 months old, h2 of BW (BW; 0.16 ? 0.04) were higher than those estimated at 2-3 months old. Response to selection (R), by different between least square mean of selected line and control line is 0.98 g./generation as 11.78 %. It was showed highly significant (p<0.01) and good trend by EBV selection.

The efficacy of garlic extract additive feed and other herbs in Nile Tilapia culture were carried out for 16 weeks. It was found that the total weight of fish in control group (C) were 51.6 kg, the ones of fish received feed with garlic extract garlic extract additive feed (T1) were 52.1 kg while the ones of fish received feed with garlic extract garlic and other herbs extract additive feed and other herbs (T2) were 62.3 kg. In sum, fish in T2 had 20.7% increase in production.

The supplementing synbiotics affected to increase fish weight, ADG, FCR, specific growth rate, the lysozyme activity in blood, the bactericidal efficacy of serum blood cells (NBT), trypsin, chymotrypsin, protease, and amylase enzymes in intestine and stomach of fry Nile tilapia. These activities were higher than the supplementing with prebiotics or probiotics alone. The development synbiotics bioproduct, probiotics B. subtilis was dried by mixing with Skim milk (10%) and freeze dried. After making the powder on days 0, 7, 14, 30 and 120 days, stored at 27 ? C, B. subtilis cell contents were 1.08 ? 109 CFU / g at initial day (day 0) and continue decreased when stored for 7, 14, 30 and 120 days, the viable cell count decreased to 1.06 ? 109, 8.50 ? 108, 1.46 ? 108 and 3.85 ? 107 CFU / g, respectively.

The effect of plant extracts (Phyllanthus emblica Allium ascalonicum and Sesbania grandiflora) and the effect of plant extracts (Nelumbo nucifera, Glycyrrhiza glabra and Zanthoxylum Limonella) incorporated with the effect of Lactobacillus acidophilus and yeast, Saccharomyces cerevisiae on growth performance, carcass composition and non-specific immune of tilapia was investigated. The first trial, tilapia fingerlings (initial weight 53 g) were allocated into triplicate nylon net hapas and were fed one of four treatment diets: diet supplemented with vitamin C (control), diet supplemented with Phyllanthus emblica (MP), diet supplemented with Allium ascalonicum (HD) and diet supplemented with Sesbania grandiflora (DK) for 90 days. The results showed that fish fed diet of MP HD and VC significantly (p<0.05) enhanced growth performance (final weight, weight gain, average daily weight gain – ADG) compared with DK group. There were no significant differences on survival rate among groups fed with different diets. The fish meat protein content was significantly (p<0.05) lower in fish fed DK diet. The hematocrit and plasma protein levels were significantly higher (p<0.05) when fish fed with MP than those fed DK. However, serum lysozyme red blood cell and white blood cell levels were not influenced by the treatments. The second trial, Tilapia fingerlings (46.6 g) were allocated into triplicate nylon net cages and were fed one of four treatment diets: diet supplemented with vitamin C (CT, control diet), diet supplemented with Nelumbo nucifera 0.05% (NN), diet supplemented with Glycyrrhiza glabra 0.05% (GG) and diet supplemented with Zanthoxylum limonella 0.05% (ZL) for 90 days. The results showed that fish fed diet of NN significantly (p<0.05) enhanced growth performance (final weight, weight gain, average daily weight gain – ADG) compared with CT amd ZL groups. There were no significant differences on FCR and survival rate among groups fed with different diets. All experimental diets (NN GT ZL) significantly (p<0.05) increased protein content in fish compared to the control group (CT). The hematocrit levels were significantly higher (p<0.05) when fish fed with NN and GG than those fed ZL. Serum lysozyme and red blood cell were significantly higher (p<0.05) in fish fed GG compared with CT. However, plasma protein and white blood cell levels were not influenced by the treatments. The third trial, tilapia fingerlings (initial weight 47.5 g) were allocated into triplicate nylon net and were fed one of four treatment diets: diet supplemented with Nelumbo nucifera 0.05% (NN), diet supplemented with NN and L. acidophilus 0.2% (LB) NN and Saccharomyces cerevisiae 0.2% (YS) and NN and L. acidophilus 0.2% + S. cerevisiae 0.2% (LS) for 90 days. The results showed that fish fed diet SC significantly (p<0.05) enhanced growth performance (final weight, weight gain, average daily weight gain – ADG) compared with NN, while there was no significant difference (p>0.05) in growth parameters in the fish fed diets SC LA and LS. There were no significant differences on feed conversion ratio (FCR) and survival rate among groups fed with different diets. Fish fed diets LA and SC exhibited significant (p<0.05) higher protein in meat compared with NN. The hematocrit, serum lysozyme and red blood cell were significantly higher (p<0.05) when fish fed with SC than those fed NN. However, plasma protein and white blood cell levels were not influenced by the treatments. The results presented in the current study demonstrated that Phyllanthus emblica extract can supplement in diet replaced vitamin C without adverse effects on growth parameters, non-specific immune response and fish meat compositions of tilapia, and supplementation of NN and S. cerevisiae 0.2% (SC) enhanced growth performance of tilapia.

According to farm visits to collect the tilapia culture data which were then analyzed to generate the sustainable tilapia farming; This year, data was collected from Chiangmai, Chiangrai, Lamphun, Lampang, Uttaradit, Phitsanulok, Kamphaeng Phet, and Tak. It was found that most fish farmers do not adjust the culture techniques to enhance their productivity. Some set up the aeration; however, the application of them is still not effective. Fish farmers have faced fish death during a culture period, but the sick or moribund fish are not diagnosed. Some chemicals and antibiotics have been used to solve this problem. Some stop feeding until the fish death is over. There is no salt application for stress relief and no water exchange plan for fish culture in earthen ponds. Three major fish bacterial pathogens include Flavobacterium columnare, Streptococcus agalactiae, and Aeromonas hydrophila. Fish death usually occurs during season change from late summer to rainy season; March – July. In cases of fish stress, Trichodina may become pathogenic ectoparasite interfering with feeding and respiration of small fish. The massive deaths of cage cultured tilapia due to an improper reservoir management and the abrupt changes in weather as well as water quality were reported every year. Tilapia farmers' associations have been formally and informally set up in order to get the benefit from seed and commercial feed buying as well as product selling. There are still a room for Good Aquaculture Practices (GAP) including hatchery, nursery, and on-farm culture because most farmers lack of the motivation to improve their farms due to the GAP fish product is not high.

Egg quality improvement by using Spirulina platensis was conducted in 320 Roman brown hens 17 weeks of ages. The laying hens were randomly assigned to 4 experimental groups (Completely Randomized Design; CRD), 4 replicates of 20 laying hens. Group 1, the chickens were fed control diet without Spirulina platensis (0%). Group 2 and 3 the chickens were fed the 0.10 and 0.15% Spirulina platensis diets respectively. Group 4, the chickens were fed commercial laying hen diet. The egg production performance and egg quality were observed for 12 weeks. The nutritional content in boiled whole egg, amino acid profile in boiled white egg, fatty acid profile in boiler egg yolk and antioxidant activity in raw egg yolk were observed at the end of the experimental period. The overall results of the 1-12 weeks showed that the feed intake was not different (P > 0.05). The egg production in control and the Spirulina platensis groups were lower than commercial group (P < 0.05). The feed conversion ratio of commercial group was not different from control group (P >0.05) but higher than the Spirulina platensis groups (P < 0.05). The egg weight, yolk index, egg shell thickness, strength and color and Hough unit of the experimental groups were not different (P > 0.05). The egg yolk color in the Spirulina platensis groups was higher than the control group but lower than the commercial group (P < 0.05). The moisture, crude protein, nitrogen free extract (NFE), crude fat, crude fibre, calcium and phosphorus of whole boiled egg were not different (P > 0.05). The raw egg yolk of the 0.10% Spirulina platensis group showed the DPPH radical-scavenging activity as 25.95% and was not different from control group (P > 0.05) but the using Spirulina platensis at 0.15% decreased the DPPH radical-scavenging activity to 6.49% (P < 0.05). The antioxidant activity was not found in the commercial diet group. The boiled egg yolk fatty acid profile in the control and 0.15% Spirulina platensis groups were not different (P > 0.05) excepted that the tricosylic acid was detected in S. platensis group, the mysristic acid of Spirulina platensis group was higher than control and the steric acid and docosahexaenoic acid in Spirulina platensis group was lower than control (P < 0.05). The boiled white egg amino acid profile in the control and 0.15% Spirulina platensis groups were not different (P > 0.05) excepted that the isoleucine and valine of the 0.15% Spirulina platensis group tended to be higher than control group (P = 0.098 and P = 0.091). Therefore, the 0.15% Spirulina platensis in safety laying hen diet improved egg yolk colour but was not similar to the commercial diet. The using of safety feed resulted in lower egg production than commercial feed. The 0.10% Spirulina platensis should be use for the egg yolk antioxidant activity purpose.

The appropriate fermented fish by product mixed with snail meat as a feed for snakehead fish in aquaponic recirculation systems for development into organic aquaculture was determined. Each experiment was conducted with 3 levels of a snail meat include 0, 25, 50% instead of fishmeal while control unit was fed instant pellet feed. The first experiment was conducted the size of snakehead from 3 inches to 6 inches within 3 months under stocking density at 100 fishes per square meter. The result was found that the control and the 50% snail meat had the highest weight gain at 101.0+2.14 g and 104.0+2.07 g. respectively but no difference level (p>0.05). while survival rate and average daily weight gain of control attained the highest at 65.32 percent and 1.10 grams per fish per day, respectively. The second experiment was conducted at 6 inches size until marketable size within 3 months under 50 fishes per square meter The result showed that control obtained the highest weight gain at 209.01+3.56 g and significant at 0.05 level (p<0.05) while the survival rate and average daily weight gain were 61.08+4.17 percent and 1.04+2.28 g per fish per day respectively. The water quality was suitable for the cultivation and growth of snakehead fish and no significant different while the yield of vegetables in the aquaponic system were no different (p>0.05). Remark the morning glory and celery were observed the highest than others. The results of this study show that the use of other protein sources to replace fishmeal in the formulation for snakehead fish farming can be used as a guideline for the development of other carnivorous fish.

Keyword : Nile tilapia (Oreochromis niloticus), genetic improvement, selection, genetic marker, biofloc, Garlic extracts, organic feed, Thai-herb extracts, growth, Probiotic; Plant herb; Non-specific immune; Carcass composition, Aquaculture, Synbiotics, Prebiotics, Digestive enzymes, Tilapia Health, Tilapia Diseases, Fish Farm Management, Climate Change, laying hen, egg production, egg quality, Spirulina platensis, Snake head fish, Aquaponics, fermented fish by-product, Snail
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : แผนงาน หรือชุดโครงการ
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.ชนกันต์ จิตมนัส
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 นางสาววาสนา กองสมบัติ
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
14 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
6 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสรา กิจเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
6 ไม่ระบุ
5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราพร โรจน์ทินกร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
6 ไม่ระบุ
6 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุดมลักษณ์ สมพงษ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
6 ไม่ระบุ
7 น.ส.น้ำเพชร ประกอบศิลป์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / สำนักงานคณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ / งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
6 ไม่ระบุ
8 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัวเรียม มณีวรรณ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
6 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
30/4/2563 ถึง 1/10/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
7,232,365.00
   รวมจำนวนเงิน : 7,232,365.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
1 กันยายน 2563
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 
ฉบับที่ : 3
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.8
25 ธันวาคม 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ : 1
หน้า : 178-188
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023