การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งกับเห็ดเศรษฐกิจและสมุนไพร

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-002
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งกับเห็ดเศรษฐกิจและสมุนไพร
บทคัดย่อ :

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิงกับเห็ดเศรษฐกิจและสมุนไพรมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือเพื่อพัฒนาโรงเรือนเพาะเห็ดสกุลนางรมที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เพื่อตรวจสอบผลการพยากรณ์ด้วยวิธีการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณและโครงข่ายประสาทเทียม โดยใช้เกณฑ์ในการเปรียบเทียบจากการวัดผลความคลาดเคลื่อน 2 แบบ คือ เปอร์เซ็นต์ของความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean absolute percentage error; MAPE) และรากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (Root mean square error; RMSE) เปอร์เซ็นต์ของความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean absolute percentage error; MAPE) ศึกษารูปแบบของการเก็บรักษาผลผลิตเนียมหอมอย่างง่าย เพื่อยืดอายุในการจำหน่าย ศึกษาการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาอย่างง่าย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตเนียมหอม โครงการย่อยที่ 1 พบว่า วิธีโครงข่ายประสาทเทียมให้ความแม่นยำในการพยากรณ์สูงกว่าตัวแบบการถดถอยพหุคูณ ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างของโครงข่ายประสาทเทียม เป็นแบบไม่ใช่เชิงเส้นจึงสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรดังกล่าวที่มีต่อน้ำหนักของดอกเห็ดว่าได้ดีกว่าตัวแบบการถดถอยพหุคูณนั่นเอง โครงการย่อยที่ 2 พบว่าการปลูกเนียมหอมในระดับแปลงปลูกที่ควบคุมปัจจัยการผลิตด้วยระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เป็นการควบคุมความชื้นในดิน (มินิสปริงเกอร์) และความชื้นในอากาศในพื้นที่บริเวณแปลงปลูก (พ่นหมอก) โดยมีการพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์ ให้ปุ๋ย 2 ชนิด คือ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยมูลวัว ร่วมกับระยะปลูก 3 ระยะ คือ 30 x 30 เซนติเมตร 50 x50 เซนติเมตร และ 70 x 70 เซนติเมตร พบว่า ระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ช่วยควบคุมความชื้นในดิน และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศเหนือแปลงปลูกได้ดี ต้นเนียมหอมที่ปลูกระยะ 30 x 30 เซนติเมตร ที่ให้ปุ๋ยเคมี มีปฏิสัมพันธ์กัน สามารถเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิต (ใบ) ค่าคลอโรฟิลล์ ความสูง สูงที่สุด เมื่อนาไปเก็บรักษาในถุงพลาสติก (LDPE) แบบไม่เจาะรู เก็บในตู้เย็น นาน 15 วัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงของคลอโรฟิลล์เล็กน้อย มีน้าหนักที่สูญเสียไปร้อยละ 4.00 – 6.00 ไม่มีโรคเกิดขึ้น และสามารถแปรรูปเป็นชาเชียวผงได้ โดยสูตรผสมระหว่างเนียมหอม 1 ส่วน ใบเตย 2 ส่วน และหญ้าหวานร้อยละ 1 (โดยน้าหนัก) ให้กลิ่นและรสชาติเหมาะสมที่สุด ผงของชาที่ได้จากเนียมหอมที่ให้ปุ๋ยเคมีจะมีสีเขียวเข้มมากกว่าที่ให้ปุ๋ยอินทรีย์ และมีค่าปริมาณฟีนอลลิกรวมและกิจกรรรมการต้านสารอนุมูลอิสระสูงที่สุด โครงการย่อยที่ 3 พบว่า การพัฒนาโรงเรือนเพาะเห็ดสำเร็จรูปควบคุมโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาะเห็ดสกุลนางรมในโรงเรือนสำเร็จรูปและเพื่อพัฒนาโรงเรือนเพาะเห็ดสกุลนางรมที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง โดยระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้นในอากาศภายในโรงเรือนเพาะเห็ดสำเร็จรูปและวัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในโรงเรือน และสามารถควบคุมการรดน้าและพัดลมระบายอากาศในโรงเรือนเพาะเห็ดผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ผลการวิจัยพบว่าค่าจากอุปกรณ์เซนเซอร์ที่วัดได้ มีความต่อเนื่องและสามารถทางานได้ตลอดระยะเวลาในการทดลอง ทาให้ได้ค่าที่สามารถบ่งชี้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นเนียมหอมและจานวนผลผลิตของเห็ด ซึ่งระบบนี้สามารถนาไปใช้งานได้จริงตามวัตถุประสงค์

คำสำคัญ : อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง , เนียมหอม , สมุนไพร , เห็ด , ซาเนียมหอม , การเก็บรักษาเนียมหอม , สารต้านอนุมูลอิสระ , การพยากรณ์ , ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ , โครงข่ายประสาทเทียม , โรงเรือนเห็ดอัจฉริยะ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

The application of internet technology of living things to economic mushrooms and herbs

is aimed at developing an oyster mushroom house that controls temperature and humidity with

the internet of things technology. To examine forecasting results using linear, multiple, and neural

network regression methods. The comparison was obtained from two measurements of error:

percentage of mean absolute percentage error (MAPE) and the square root of mean square error

(RMSE). Percentage of error. Mean absolute percentage error (MAPE) was studied in the simple

method of storage of fragrant aromatic yields. To extend the life of distribution, Study the simple

processing of tea products. In order to add value to the production of niamhom Sub-project, 1

found that the neural network method gave higher predictive accuracy than the multiple

regression model. This is due to the structure of the neural network. As a non-linear regression

model, the relationship between the variables and the mushroom weight was better developed

than the multiple regression model. Sub-project 2, it was found that aromatic, aromatic cultivation

at the level of internet-controlled production of things (IoT) is the control of soil moisture. (Mini

sprinkler) and air humidity in the planting area (fogging) with 50 percent camouflage, 2 types of

fertilizers, chemical fertilizers, cow manure with 3 spacing of 30 x 30 cm, 50 x50 cm, And 70 x 70

centimeters, it was found that the Internet of Things (IoT) system helps control soil moisture. And

relative humidity in the air above the planting plot well Onion plants grown at a distance of 30 x

30 cm with chemical fertilizers. Interact Good growth ability, yield (leaf), highest Chlorophyll value

when stored in non-perforated plastic (LDPE) bags, refrigerated for 15 days with chlorophyll

change. Slightly The weight loss was 4.00% - 6.00%. No disease occurred. And can be processed

into powdered tea. The formula is a mixture of 1 part niam, 2 parts pandan leaves, and 1% stevia

(by weight), giving the best smell and taste. The powder of the tea obtained from the aromatic

Niamh fertilized is dark green than that of the organic fertilizer. And has the highest total phenolic

content and antioxidant activity Sub-project 3 found that the development of prefabricated

mushroom greenhouses controlled by the internet of things technology using internet of things

technology? The objectives of this study were to study the suitable environment for cultivating

oyster mushrooms in prefabricated houses and to develop a temperature and humidity controlled house for oyster mushroom cultivation using internet of things technology. The

developed system can measure the temperature. Humidity in the air in the mushroom house and

measure carbon dioxide in the house. And can control the watering and ventilation fan in the

mushroom house through an application on a smartphone. The results of the research showed

that the measured values from the sensor devices are continuous and able to work throughout

the duration of the experiment. This results in an indication of environmental conditions suitable

for the growth of aromatic plants and the yield of mushrooms. Which this system can be used

for practical purposes.

Keyword : Internet of Things, Naimhom, Medicinal Plants, Mushroom, Strobilanthes nivea, Niamhom Tea, Antioxidant, Forecasting, Multiple linear regression, Artificial neural network, Mushroom smart farm
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ชุดโครงการ : แผนงาน หรือชุดโครงการ
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ณฐวุฒ พยัฆคิน
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
40 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.วัชรี เลขะวิพัฒน์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
40 ไม่ระบุ
3 อาจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จรัสรัตนไพบูลย์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
30/4/2563 ถึง 1/10/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
846,280.00
   รวมจำนวนเงิน : 846,280.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023