การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสาหรับระบบเกษตรนาแปลงใหญ่

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02-001.4
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสาหรับระบบเกษตรนาแปลงใหญ่
บทคัดย่อ :

การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตภาคเหนือตอนบน มีแนวคิดในการทำวิจัยและพัฒนาระบบข้อมูล และสารสนเทศสำหรับระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตภาคเหนือตอนบนขึ้นมา โดยมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database) และสารสนเทศ ให้มีรูปแบบการเข้าถึงฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้มากขึ้น มีการแสดงข้อมูลคือ ราคาตลาด ผลผลิต ต้นทุนการผลิตข้าว การเก็บเกี่ยว ปัจจัยการผลิต เทคนิควิธีการเพาะปลูก แหล่งทรัพยากรในชุมชน การใช้ประโยชน์จากที่ดิน เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับสถานะการณ์การเพาะปลูก การตลาด และการใช้เทคโนโลยี ของการปลูกข้าวในปัจจุบันต่อไป

เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบประกอบด้วยโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ โปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เว็บเซอร์เวอร์ที่ใช้ในการบริหารจัดการข้อมูล และโปรแกรมที่ใช้ในการตกแต่งรูปภาพ พัฒนาระบบตามแนวทางของวงจรการพัฒนาระบบ Water Fall Model ด้วยภาษา Visual Basic และใช้ MS SQL Server 2017 เป็นระบบจัดการฐานข้อมูล ได้ทำการประเมินความพึงพอใจของระบบ จากผู้ใช้บริการด้วยวิธีการทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่าผู้ใช้บริการสารสนเทศนี้ รวมทั้งสิ้น 27 คน มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนค่าเฉลี่ย 3.93 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47 แสดงว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับมากและสามารถนำไปใช้งานจริงได้ต่อไป

คำสำคัญ : ระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ , ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

The development of decision support system for the large Agricultural land plot of farmers in upper northern region. The conceptual research, and information system development. The data was the large agricultural land plot of farmers in upper northern region, that developed database and designed to facilitate data entry to have an efficiency and potential, that can be used more the utilization. The data show namely, the market price, production, cost of rice production harvesting production factor cultivation techniques community resources land use, etc. include, to provide information that supports decision making for cultivation, marketing and using information technology for currently grown rice.

The development of the systems consists of programming language, relational database and web server for database management. This developed system based on the development cycle of the water fall model system with visual basic is a programming language developed by Microsoft Sql Server 2017 that can create database.

The satisfaction questionnaires was applied to validate the systems. the results from 27 system users was shown that the satisfaction of the users was very high level (X = 3.93 SD = 0.47). A development system which means can be to work efficiently at a high level and applied to support the tasks.

Keyword : Decision Support System, the Large Agricultural Land Plot
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 นายสมชาย อารยพิทยา
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : สำนักงานมหาวิทยาลัย / กองเทคโนโลยีดิจิทัล / งานวิจัยและพัฒนา
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
80 ไม่ระบุ
2 อาจารย์นนท์ ปิ่นเงิน
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
330,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 330,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023