การยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าของผลผลิตสัตว์น้ำ: การลดการสะสมของสารที่ก่อให้เกิดกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาทับทิมที่เลี้ยงแบบไบโอฟลอค (BIOFLOC) ด้วยการควบคุม C/N ratio และ การเลี้ยงแบบน้ำใสก่อนจับขาย

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-01-009
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าของผลผลิตสัตว์น้ำ: การลดการสะสมของสารที่ก่อให้เกิดกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาทับทิมที่เลี้ยงแบบไบโอฟลอค (BIOFLOC) ด้วยการควบคุม C/N ratio และ การเลี้ยงแบบน้ำใสก่อนจับขาย
บทคัดย่อ :

การผลิตปลานิลด้วยระบบไบโอฟลอคที่ความหนาแน่นสูง เป็นการเลี้ยงปลาเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นและประหยัดต้นทุนด้านอาหาร เนื่องจากปลาสามารถกินฟลอคเป็นอาหารได้ การรักษาระดับของตะกอนและการรักษาระดับธาตุอาหารจึงเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของผลของอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C:N) ในบ่อเลี้ยง ต่อการสะสมกลิ่นโคลน เพื่อปรับใช้ในการเลี้ยงปลานิลที่เลี้ยงในระบบไบโอฟลอคที่มีกลิ่นโคลนต่ำ ทำการทดลองเพื่อเปรียบเทียบ ผลของระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C:N) ในบ่อเลี้ยง ได้ออกแบบเป็น 3 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษา C:N ต่อค่ากลิ่นโคลนในน้ำ แพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำ ในฟาร์มเอกชน 2 แห่งคือ บ้านแม่กุ้งหลวง ต.ทุ่งต้อม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ (ฟาร์ม 1) และฟาร์ม บ้านห้วยส้ม ต.สันกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ (ฟาร์ม 2) การทดลองที่ 2 เปรียบเทียบผลของการเลี้ยงปลานิลที่อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C:N) ที่ 14:1 (T1) และที่ระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C:N) ที่ 10:1 (T2) ต่อการเจริญเติบโตและการสะสมกลิ่นโคลนในน้ำ ได้ทดลองในบ่อขนาด 2 ตัน เลี้ยงเป็นระยะเวลา 90 วัน การการทดลองที่ 3 เปรียบเทียบวิธีการลดกลิ่นสาบโคลนในน้ำที่เลี้ยงด้วย biofloc แบบเดิมและตามด้วยแบบน้ำใสก่อนจับขาย ผลการทดลองที่ 1 พบว่าน้ำจากบ่อเลี้ยงปลาในฟาร์ม 1และฟาร์ม 2 มีการสะสมของกลิ่นโคลนโดยมี ค่าจีออสมิน เฉลี่ยเท่ากับ 0.10?0.18 ?g/l และ 0.31?0.11 ?g/l ตามลำดับ ส่วนค่าเอ็มไอบี เฉลี่ยเท่ากับ 0.12?0.21 ?g/l และ 0.18?0.19 ?g/l ตามลำดับส่วนค่า ปริมาณฟลอคที่ตกตะกอน (settled floc) ในฟาร์ม 1และฟาร์ม 2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58?4.13 ml/l และ 1.20?0.62 ml/l จากการตรวจสอบชนิดของ แพลงก์ตอนพืชกลุ่มที่สร้างกลิ่นโคลนได้แก่ กลุ่ม Anabaenopsis sp. พบหนาแน่นมากในทั้ง 2 ฟาร์ม การทดลองที่ 2 พบว่า กลิ่นโคลนในบ่อเลี้ยงปลานิล มีค่าสูงถึง 0.10 ?g/l ปริมาณฟลอคที่ตกตะกอนใน T1 และT2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 52.64?1.84 และ 34.73?13.9 ml/l ตามลำดับ การเจริญเติบโต และอัตราการแลกเนื้อ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิต พบว่า การเลี้ยงที่ค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับ 14:1 มีต้นทุนค่าอาหารต่ำกว่าปลาที่เลี้ยงที่คาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับ 10:1 นอกจากนี้ยังพบว่า การเลี้ยงด้วยไบโอฟลอคแบบเดิมร่วมกับระบบน้ำใสก่อนจับขายสามารถลดกลิ่นโคลนในน้ำได้

คำสำคัญ : การเลี้ยงปลานิล ระบบไบโอฟลอค ค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจน การลดกลิ่นโคลนในน้ำ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Upgrading of the aquatic animal quality and production: Mitigation of off flavors in hybrid tilapia raised in biofloc system using the control of C/N ratio and depuration technique
Abstract :

High density of tilapia production by biofloc farming system aims to get more produce and save food costs because fish can eat floc as food. Maintaining sludge and maintaining nutrient levels is essential. Therefore, this research aimed to study the effect of carbon: nitrogen (C:N) ratio in ponds on the accumulation of off-flavor. The experiment was designed for 3 trials. Experiment 1 studied the effects of C:N ratio on accumulation of off-flavor, phytoplankton and water quality in 2 private farms: Baan Mae Kung Luang, Thung Tom Subdistrict, San Pa Tong District, Chiang Mai Province (Farm 1) and Ban Huay Som Farm, San Klang Subdistrict, San Pa Tong District, Chiang Mai Province (Farm 2). Experiment 2 compared the effects of tilapia culture at a carbon to nitrogen (C:N) ratio of 14: 1 (T1) and a carbon: nitrogen (C: N) at 10: 1 (T2) on growth performance and the accumulation of muddy smell in the water. This trial was conducted in a 2-ton pond cultured over a period of 90 days. Experiment 3 compared methods for reducing the off flavor in conventional biofloc tilapia culture and conventional system followed by changing to 1-month clear water before harvest. The results of the first experiment showed that the water from the fish ponds in Farm 1 and Farm 2 accumulated mud odor with mean gosmin values of 0.10 ? 0.18 ?g / l and 0.31 ? 0.11 ?g / l, respectively and the mean MIB value of 0.12 ? 0.21 ?g / l and 0.18 ? 0.19 ?g / l, respectively. The settled floc in farm 1 and farm 2 were 4.58 ? 4.13 ml / l and 1.20 ? 0.62 ml / l. The phytoplankton that produced the mud smell was Anabaenopsis sp. and were found heavily in both farms. Experiment 2 showed that the muddy smell in tilapia ponds water was as high as 0.10 ?g / l. Settled floc in T1 and T2 were 52.64 ? 1.84 and 34.73 ? 13.9 ml / l, respectively. Growth rate and feed conversion ratio were significant difference (P <0.05). it was found that production cost of culture fish by biofloc with a carbon: nitrogen ratio of 14: 1 was lower than that of carbon-to-nitrogen fish. 10:1. Moreover, raising fish with traditional biofloc in combination with clear water system before selling can reduce the muddy smell in the water.

Keyword : off flavour, biofloc fish culture system, hybrid tilapia, C/N ratio, geosmin, MIB
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Green
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.นิวุฒิ หวังชัย
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
60 ไม่ระบุ
2 รองศาสตราจารย์ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
3 อาจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
4 นายนิตย์ธินันท์ บริรักษ์
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
1,000,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 1,000,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
23 ตุลาคม 2563
วารสารที่ตีพิมพ์ : Biomass Conversion and Biorefinery
ฉบับที่ :
หน้า :
ระดับการนำเสนอ :
เจ้าของวารสาร : Springer Nature
1
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023