การยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าของผลผลิตสัตว์น้ำ: พัฒนาสมดุลโซ่อาหาร ในระบบไบโอฟลอค เพื่อผลิตปลาทับทิมเชิงพาณิชย์เพื่อลดต้นทุนการผลิต

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-01-005
รหัสอ้างอิง วช. : 63A111000019
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าของผลผลิตสัตว์น้ำ: พัฒนาสมดุลโซ่อาหาร ในระบบไบโอฟลอค เพื่อผลิตปลาทับทิมเชิงพาณิชย์เพื่อลดต้นทุนการผลิต
บทคัดย่อ :

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ต้องการยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าของผลผลิตปลาทับทิมในระบบไบโอฟลอคในแง่การพัฒนาสมดุลโซ่อาหาร โดยการสร้างอาหารปลาโดยใช้ฟลอคจากเนเปียร์ป่นหมัก (napier silage) และฟลอคจากแป้งมัน รวมทั้งเพื่อศึกษา microenvironment และปัจจัยทางคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อมในบ่อเลี้ยง ในการทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการย่อยได้ของเซลลูโลสแบบ in vitro และกิจกรรมของโปรตีเอสอินฮิบิเตอร์ รวมถึงการยับยั้งการทางานของเอนไซม์โปรติเอส เพื่อศึกษารูปแบบของหญ้าเนเปียร์ที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้สำหรับการผลิตอาหารปลานิลแดง โดยสกัดเอนไซม์จากลำไส้ปลานิลแดงขนาด 22 – 25 กรัม/ตัว ศึกษาประสิทธิภาพการย่อยได้ของเซลลูโลสแบบ in vitroในหญ้าเนเปียร์สด หมัก (ระยะเวลา 10 วันแบบ anaerobic) ผึ่งแดด 12 ชั่วโมง และต้ม (ในน้าเดือด 10 นาที) และศึกษากิจกรรมของโปรตีเอสอินฮิบิเตอร์ รวมถึงการยับยั้งการทางานของเอนไซม์โปรติเอสในหญ้าเนเปียร์ทั้ง 4 รูปแบบ จากการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพการย่อยได้ของเซลลูโลสมีค่าสูงที่สุดในหญ้าที่ผึ่งแดด (P<0.05) สาหรับกิจกรรมของโปรตีเอสอินฮิบิเตอร์ และเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์โปรติเอสพบมีค่าต่ำสุดในหญ้าเนเปียร์ผึ่งแดด และต้ม (P<0.05) การทดลองที่ 2 เป็นการศึกษา microenvironment และปัจจัยทางคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อมในบ่อเลี้ยงปลานิลแดงในระบบไบโอฟลอคอย่างเดียว บ่อที่ใช้ไบโอฟลอคร่วมกับแป้งมัน และบ่อที่ใช้ไบโอฟลอคร่วมกับหญ้าเนเปียร์ พบว่า ชนิดแพลงก์ตอนพืชที่พบมี 10 ชนิด 4 Divition แพลงตอนสัตว์ 6 ชนิด 3 Phylum ปัจจัยด้านคุณภาพน้ำที่สำคัญต่อการเลี้ยงปลาที่ได้จากทุกการทดลองอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ในด้านการเจริญเติบโต พบว่าน้ำหนักเฉลี่ย อัตราการเติบโตต่อวัน(ADG) ของบ่อที่ใช้ไบโอฟลอคร่วมกับหญ้าเนเปียร์มีแนวโน้มดีที่สุด ถึงแม้มีค่าไม่ต่างกันทางสถิติกับบ่อที่ใช้ไบโอฟลอคร่วมกับแป้งมัน อย่างไรก็ตามทั้งสองรูปแบบการเลี้ยงให้ผลดีกว่าบ่อที่เลี้ยงด้วยไบโอฟลอคอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)

คำสำคัญ : ไบโอฟลอค , ปลาทับทิม และหญ้าเนเปียร์
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Upgrading of the aquatic animal quality and production: Development of food chain formation and microenvironment in commercial biofloc fish ponds for cost reduction.
Abstract :

This research aimed to improve the quality and increase the yield of red tilapia in the biofloc system. Experiment 1 was to study the digestibility efficiency of In vitro cellulose digestibility and protease inhibitor activity including the percentage of protease activity. Inhibition was conducted to investigate the appropriate conditioning of napier grass to produce red tilapia feed. The cellulase crude extracted from intestine of red tilapia (22 – 25 g/fish) were determined the in vitro cellulase digestibility, the protease inhibitor activity and percentage of protease inhibition from fresh, fermentation (10 days with anaerobic), sun for 12 hours and boiled (10 minutes) napier grass. The results showed that cellulase digestibility were highest in sunny napier grass (P<0.05). In addition, percentage of protease inhibition and protease inhibition activity was lowest in sunny and boiled napier grass (P<0.05). Experiment 2 was the study of the microenvironment and water quality factors in red tilapia cultured in the biofloc system only, in biofloc system with starch and in biofloc system with Napier grass. It was found that there were 10 species of phytoplankton, 4 Divition, and 6 species of zooplankton, 3 Phylum. The important water quality factors obtained in all trials was in the safe criteria. For growth performance, the average weight, the daily growth rate (ADG) of red tilapia rearing in biofloc and napier grass was likely the best. Although the value is not statistically different from those rearing in biofloc with tapioca starch. However, both culturing trials were significantly better than biofloc-only experiment (P <0.05).

Keyword : Biofloc, Red tilapia, Napier Grass
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Green
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ทองมี
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
60 ไม่ระบุ
2 รองศาสตราจารย์ ดร.นิวุฒิ หวังชัย
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
3 รองศาสตราจารย์ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
600,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 600,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
1 พฤษภาคม 2563
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
ฉบับที่ : 2
หน้า :
ระดับการนำเสนอ :
เจ้าของวารสาร :
0.4
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023