วัสดุปรับปรุงดินจากลีโอนาร์ไดต์และดินขาวเพื่อใช้เป็นตัวปลดปล่อยธาตุอาหารและกำจัดคลอเรตในดิน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-04-001
รหัสอ้างอิง วช. : 63A111000003
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : วัสดุปรับปรุงดินจากลีโอนาร์ไดต์และดินขาวเพื่อใช้เป็นตัวปลดปล่อยธาตุอาหารและกำจัดคลอเรตในดิน
บทคัดย่อ :

ลีโอนาร์ไดต์เป็นวัสดุธรรมชาติที่ถูกนำมาใช้ทางด้านการเกษตรกรรม เนื่องจากลีโอนาร์ไดต์มีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิกาและสารประกอบฮิวมัส โดยเฉพาะสารฮิวมิกซึ่งประกอบด้วยกรดฟูลวิก กรดฮิวมิก และฮิวมิน ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาปริมาณของตัวดูดซับ เวลาที่ใช้ในการดูดซับ และความเข้มข้นของตัวถูกดูดซับ พบว่าปริมาณลีโอนาร์ไดต์ที่เหมาะสมในการดูดซับเท่ากับ 3 กรัม เวลาที่เหมาะสมในการดูดซับ เท่ากับ 4 ชั่วโมง และความเข้มข้นของสารละลายคลอเรตเหมาะสมที่ถูกดูดซับด้วยลีโอนาร์ไดต์ เท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อลิตร มีเปอร์เซ็นต์การดูดซับ เท่ากับ 8.57 ขณะที่ปริมาณลีโอนาร์ไดต์ผสมดินขาวที่เหมาะสมในการดูดซับ เท่ากับ 3 กรัม เวลาที่เหมาะสมในการดูดซับ เท่ากับ 4 ชั่วโมง และความเข้มข้นของสารละลายโพแทสเซียมคลอเรตเหมาะสมที่ถูกดูดซับด้วยลีโอนาร์ไดต์ผสมดินขาว เท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อลิตร มีเปอร์เซ็นต์การดูดซับ เท่ากับ 6.94 นั่นคือลีโอนาร์ไดต์สามารถดูดซับคลอเรตได้ดีกว่าลีโอนาร์ไดต์ผสมดินขาวเพียงเล็กน้อย จากนั้นนำลีโอนาร์ไดต์ศึกษาการดูดซับไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม พบว่าลีโอนาร์ไดต์ดูดซับไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม คิดเป็น 1.2, 1.6 และ 9 มิลลิกรัมต่อกรัมของลีโอนาร์ไดต์ และเปอร์เซ็นต์การดูดซับเท่ากับ 99.06, 72.74, และ 93.14 ตามลำดับ เมื่อนำลีโอนาร์ไดต์ปลดปล่อยไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม คิดเป็น 0.12, 0.18 และ 0.15 มิลลิกรัมต่อลิตรต่อกรัมของลีโอนาร์ไดต์ เปอร์เซ็นต์การปลดปล่อย 9.95, 18.24 และ 8.05 ตามลำดับ

เก็บดินบริเวณสวนลำไยหมู่บ้านป่าขาม ตำบลป่าขาม อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เพื่อวิเคราะห์ปริมาณคลอเรตก่อนที่จะปรับปรุงด้วยลีโอนาร์ไดต์ ปริมาณคลอเรตลดลง 25 เปอร์เซ็นต์ในสัปดาห์แรก และเปอร์เซ็นต์ของคลอเรตลดลง 7 และ 3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อผ่านไปทุกสัปดาห์

คำสำคัญ : วัดสุปรับปรุงดิน การปลดปล่อยธาตุอาหาร ลีโอนาร์ไดต์ ดินขาว คลอเรต
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Soil amendment from leonardite and kaolinite for releasing fertilizer and removing chlorate in soil
Abstract :

Leonardite are a natural material that is used for agriculture. Since, leonardite has a majority compoment such as silica and humus compounds, especially humic substances consisting of fulvic acid, humic acid, and humin. In this research, the amount of adsorbent, the contacting time, and the concentration of adsorbate were studied. The optimized conditions were 3 g of leonardite, 4 hr for contacting time, and 200 mg/L of chlorate. The percentage of chlorate adsorption by leonardite was 8.57. While, the adsorbent was the mixture of leonardite and kaolin in amount of 3 g, 4 hr for contacting time, and 200 mg/L of chlorate provided 6.94 percentage of adsorption. Leonardite could be a bit more ability to adsorb chlorate than leonardite mixed with kaolin. Further, leonardite was studied to adsorb nitrogen, phosphorus, and potassium. They were 1.2, 1.6, and 9 mg/L per 1 g of leonardite. The percentage of adsorption were 99.06, 72.74 and 93.14, respectively. In case of desorption, 0.12, 0.18, and 0.15 mg/L per 1 g of leonardite. The percentage of desorption were 9.95, 18.24, and 8.05, respectively.

The soil was collected from the Pakham village, PaKham District, Muang, Lamphun Province. It was determined the amount of chlorate before treated with leonardite. The amount of leonardite was decrease 25 % in the first week. The percentage of chlorate was decreased as 7 and 3 in each one week later.

Keyword : Soil amendment, releasing fertilizer, Leonardite, Kaolinte, Chlorate
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Green
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชดาภรณ์ ปันทะรส
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.วีรินท์รดา ทะปะละ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพชรลดา กันทาดี
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
4 น.ส.จิราภรณ์ กิติกุล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์ / สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ / งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
300,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 300,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023