การเจริญเติบโต ผลผลิต และ ความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชของสวนป่าไม้สักภายใต้อายุที่แตกต่างกันบริเวณสวนป่าขุนแม่คำมี จังหวัดแพร่

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-05-001
รหัสอ้างอิง วช. : 63A111000024
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การเจริญเติบโต ผลผลิต และ ความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชของสวนป่าไม้สักภายใต้อายุที่แตกต่างกันบริเวณสวนป่าขุนแม่คำมี จังหวัดแพร่
บทคัดย่อ :

การเจริญเติบโต ผลผลิต และ ความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชของสวนป่าไม้สักภายใต้อายุที่

แตกต่างกัน ที่มีการจัดการด้านวนวัฒนวิทยา ได้ดำเนินการที่สวนป่าขุนแม่คำมี จังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์

เพื่อต้องการทราบลักษณะการเจริญเติบโตและผลผลิตของไม้สัก (Tectona grandis Linn.f.) และความ

หลากหลายของชนิดพันธุ์พืชของสวนป่าไม้สักแต่ละช่วงอายุโดยการวางแปลงขนาด 20?20 เมตร ทำการ

เก็บข้อมูลความโตของไม้สัก ชั้นอายุที่ 1-19 ปี ทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการ

เจริญเติบโตและผลผลิต โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย และแปลงขนาด 50?20 เมตร ทำ

การเก็บข้อมูลชนิดพันธุ์พืช ชั้นอายุที่ 5, 10, 15 และ 20 ปี พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาดัชนีค่าความสำคัญ

ดัชนีความหลากชนิดตามสมการของ Shannon-Weiner index และดัชนีความคล้ายคลึงในพื้นที่

ผลการศึกษาพบว่า ไม้สักในชั้นอายุ 1-19 ปี มีการเจริญเติบโตทางเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับเพียงอก

เฉลี่ยสูงสุด 19.90 เซนติเมตร ความสูงเฉลี่ยสูงสุด 15.16 เมตร และปริมาตรไม้รายต้นเฉลี่ยสูงสุด 0.195

ลูกบาศก์เมตร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุของสวนป่าไม้สัก อย่างไรก็ตาม เมื่อทำการทดสอบทางสถิติแล้ว

พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างอายุของไม้สักกับการเจริญเติบโตทางเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับเพียงอก ความ

สูง และปริมาตรไม้รายต้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่เส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับ

ชิดดิน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการศึกษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืช

ของสวนป่าไม้สัก พบจำนวนชนิดพันธุ์พืชทั้งหมด 49 ชนิด 42 สกุล 21 วงศ์ วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ วงศ์ถั่ว

รองลงมาคือ วงศ์เข็ม วงศ์กะเพรา และวงศ์แคหางค่าง ไม้สักเป็นไม้ท้องถิ่นดัชนีค่าความสำคัญมากที่สุด

รองลงมา ได้แก่ ประดู่ป่า แดง และตะคร้อ สำหรับชนิดไม้เบิกนำ ได้แก่ กางขี้มอด พฤกษ์ และปอกระสา

เมื่อพิจารณาจากดัชนีความหลากหลาย พบว่ามีความหลากหลายทางชนิดสูง มีค่าอยู่ระหว่าง 1.14-3.08 และ

ดัชนีความคล้ายคลึงมีค่าอยู่ระหว่าง 25.64-71.43 เปอร์เซ็นต์ ในไม้ใหญ่ ไม้หนุ่ม และกล้าไม้ จะเห็นว่าใน

พื้นที่สวนป่าไม้สักที่มีการปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยา สามารถส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการเจริญเติบโต

แลผลผลิตของไม้สัก และเจริญทดแทนตามธรรมชาติของความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชได้

คำสำคัญ : ไม้สัก , การเจริญเติบโต , ผลผลิต , ความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืช , สวนป่าขุนแม่คำมี
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Growth, Yield and Species Diversity of Teak (Tectona grandis Linn.) Plantation Under Different Age In Khun Mae Khum Mee Plantation, Phrae Province
Abstract :

Growth, Yield and Species Diversity of Teak (Tectona grandis Linn.f.) Plantation Under Different

Age which had silvicultural management method was studied in Khun Mae Khum Mee plantation, Phrae

province aimed to investigated growth and yield of Teak (Tectona grandis Linn.f.) and species diversity of

Teak plantation in different stand age. The permanent plot with size 20?20 m., were set to collect the growth

of Teak (Tectona grandis Linn.f.) data, at 1-19 year-old of Teak, were randomed set up for measuring

growth and yield. Paired sample linear regression analysis was used as statistical comparsion. And plot with

size 50?20 m., were set to collect tree species data, at 5, 10, 15 and 20 year-old of Teak. In addition,

important value index, species diversity was analyzed by using the Shannon-Weiner index and similarity

index between plot plantation under different age.

The results showed that Teak (Tectona grandis Linn.f.), at 1-19 year-old were the maximum

average growth 19.90 cm., 15.16 m and 0.195 m3.stem-1 in diameter at breast height (DBH), total height

(H) and individual stem volume (V) respectively, tends to increase with age of Teak plantation. However,

Statistical analysis found that the relationship between the age of Teak (Tectona grandis Linn.f.) with

diameter at breast height (DBH), total height (H) and individual stem volume (V) were significantly. In

contrast, there was on significantly is diameter at ground level (D0). And the result showed that, Species

Diversity of Teak (Tectona grandis Linn.f.) Plantation there were 49 species 42 genus and 21 families. The

most commonly family found was Fabaceae, following with Rubiaceae, Lamiaceae and Bignoniaceae.

Tectona grandis were the most important value index native tree species, followed by Pterocarpus

macrocarpus, Xylia xylocarpa, and Schleichera oleosa. In addition, were the important value index pioneer

tree species are Albizia odoratissima, Albizia lebbeck and Broussonetia papyrifera. When the species

diversity of Shannon–Weiner index was the highest value of species diversity range from 1.14-3.08 and the

similarity index range from 25.64-71.43 % in Tree, sapling and seedling. Therefore, Silvicultural practices

in Teak plantation can be promote increased growth and yield of Teak (Tectona grandis Linn.f.) was

growing and natural regeneration species diversity of tree species.

Keyword : Teak (Tectona grandis Linn.f.), Growth, Yield, Species Diversity, Khun Mae Khum Mee Plantation
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Green
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อลาภ คำโย
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
70 ไม่ระบุ
2 รองศาสตราจารย์ ดร.แหลมไทย อาษานอก
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
3 อาจารย์ ดร.คนิติน สมานมิตร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
650,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 650,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023