การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีในการไม่เจริญเติบโตของปลายยอดเกสรเพศเมียของลำไยพันธุ์อีดอในฤดูหนาว

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-06-003
รหัสอ้างอิง วช. : 63A111000013
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีในการไม่เจริญเติบโตของปลายยอดเกสรเพศเมียของลำไยพันธุ์อีดอในฤดูหนาว
บทคัดย่อ :

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีในการไม่เจริญเติบโตของยอดเกสรเพศเมียของลำไยพันธุ์อีดอในฤดูหนาว คัดเลือกต้นลำไยจำนวน 10 ต้นจากสวนลำไยของสาขาไม้ผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design; CRD) มี 2 กรรมวิธี คือ พันธุ์อีดอ และพันธุ์พวงทอง แต่ละกรรมวิธีมีจานวน 5 ซ้ำ โดยการราดสารโพแทสเซียมคลอเรตต้นเดือนพฤศจิกายน ดอกลำไยบานกลางเดือนธันวาคมที่มีสภาพอากาศหนาว จากผลการทดลอง ช่วงที่ก่อนดอกเพศเมียจะบานเป็นช่วงที่อุณหภูมิลดต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นเมื่ออุณภูมิสูงขึ้นดอกเพศเมียเริ่มบานส่งผลให้ปลายยอดเกสรเพศเมียของพันธุ์อีดอมีความผิดปกติคือปลายยอดไม่เปิดถึง 92 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ พันธุ์พวงทองที่มีความผิดปกติของปลายยอดเกสรเพศเมียเพียง 12 เปอร์เซ็นต์ โดยมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ความผิดปกติของก้านเกสรของดอกเพศเมีย พบว่าพันธุ์อีดอมีความผิดปกติคือก้านเกสรคดงอมากถึง 84 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่พวงทองมีความผิดปกติเพียงเล็กน้อย คือ 8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง สาหรับขนาดของดอกเพศเมีย พบว่าดอกเพศเมียของลำไยพันธุ์อีดอมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์พวงทอง คือ 0.72 และ 0.40 เซนติเมตร ตามลาดับ อย่างไรก็ตามปลายยอดดอกเพศเมียพันธุ์อีดอมีความกว้าง และความยาวมากกว่าพันธุ์พวงทอง เท่ากับ 0.04, 0.02 และ 0.18 และ 0.15 เซนติเมตร ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ส่วนปริมาณธาตุสังกะสีและโบรอนในดอกลำไยเพศเมีย พบว่าพันธุ์อีดอมีธาตุสังกะสีอยู่ 19 ppm และโบรอนมีค่าเท่ากับ 6.19 ppm ส่วนพวงทองมีสังกะสีและโบรอนน้อยกว่าพันธุ์อีดอ เท่ากับ 12 และ 5.60 ppm ตามลำดับ

คำสำคัญ : สังกะสี โบรอน สัณฐานวิทยา ยอดเกสรเพศเมีย ลำไย
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : The study in physical and chemical change for non-growth of the tip of the stigma of longan (Dimocarpus longan Lour var. Daw) in winter
Abstract :

The aim of this study was physical and chemical change for un-growth of the stigma of “E-Daw” (Dimocarpus longan Lour) in winter. Ten longan trees were selected from a longan orchard at Division of Pomology SanSai district, Chiang Mai Province, Thailand. The experiment was following a completely randomized design (CRD) with 2 treatments and 5 replications. The treatments were as follows: E-Daw and Puangthong to the study was phenological and abnormal of the stigmas. The longan trees to induced flowering by Potassium chlorate (KClO3) on November and flowering on mid-December were low temperature. Before blooming of pistillate were lowes 15 OC temperature. When high temperature more 15 OC, as a result to flower of ‘E-Daw’ had abnormal increasing to 92 percent and Puangthong 12 percent at significantly difference. As the style of pistillate had abnormal to 84 percent of ‘E-Daw’ while the 8 percent of Puangthong were significantly difference. The pistillate size of “E-Daw” flower had the bigger than Puangthong at 0.72 and 0.40 centimeters, respectively. However, the width and length of the tip stigmas of pistillate flower of ‘E-Daw’ more than Puangthong were significantly difference. Zinc and Boron in pistllate flower of ‘E-Daw’ were 19 and 6.19 ppm respectively, and the Puangthong had Znce and Boron were 12 and 5.60 ppm respectively.

Keyword : Zine Boron Morphology Stigmas Dimocarpus longan Lour.
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินัย วิริยะอลงกรณ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 น.ส.วัชรินทร์ จันทวรรณ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร / กองบริหารงานบริการวิชาการ / งานปรับปรุงและขยายพันธุ์พืช และสัตว์
ผู้วิจัยร่วม
30 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา แกล้วกล้า
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
4 อาจารย์ ดร.เอกวิทย์ ตรีเนตร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
400,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 400,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
5 มกราคม 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 
ฉบับที่ : ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 (2021): มกราคม-เมษายน 2564 (12-
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
0.8
26 เมษายน 2567
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 
ฉบับที่ : ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 (2024): มกราคม - เมษายน 2567
หน้า : 1-12
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : Faculty of Architecture and Planning Thammasat University
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023