โครงการบริหารจัดการแผนบูรณาการเกษตรและอาหารประจำปี 2563

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-02
รหัสอ้างอิง วช. : 63Z20707186001
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 มีนาคม 2564
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : โครงการบริหารจัดการแผนบูรณาการเกษตรและอาหารประจำปี 2563
บทคัดย่อ :

แผนงานเกษตรและอาหาร ปี 2563 ได้รับการจัดสรรงบประมาณผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวนเงิน 37,053,800 บาท ภายใต้การลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งเป็นหน่วยบริหารจัดการทุนระดับประเทศ ดังนั้นการบริหารจัดการโครงการวิจัยภายใต้แผนงานเกษตรและอาหารเพื่อให้มีการดำเนินงานตามกรอบแนวทางการรับทุนอุดหนุนการวิจัยในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ติดตามและวิเคราะห์การรายงานผลการดำเนินงานวิจัยและผลการใช้จ่ายงบประมาณของโครงการวิจัย 2) ประเมินผลการดำเนินงานวิจัยที่สร้างผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ ตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดสำคัญ (OKRs) ของโครงการวิจัย 3) ประสานงานกับหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัย (สกสว.) ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการวิจัยและการรายงานผล 4) ประสานงานนักวิจัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานวิจัย ซึ่งได้ศึกษาเอกสารโครงการวิจัยภายใต้แผนเกษตรและอาหารจำนวน 10 ชุดโครงการ รวม 46 โครงการย่อย ติดตามการรายงานความก้าวหน้าของโครงการในระบบ NRIIS จัดทาเกณฑ์ในการประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อการประเมินปัจจัยนำเข้า ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ และจัดประชุมรายงานความก้าวหน้าของโครงการ รวมถึงการติดตามงานวิจัยในพื้นที่ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่ ชุมพร และแพร่ จากผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านผลผลิต (Output) เมื่อเทียบกับแผนที่ตั้งไว้ 5 ข้อ สามารถบรรลุเป้าหมาย 3 ข้อ น้อยกว่าเป้าหมาย 4 ข้อ (น้อยกว่าเป้าหมายเนื่องจากการงานวิจัยด้านปรับปรุงพันธุ์ต้องการระยะเวลาการดำเนินงานต่อเนื่องอย่างน้อย 3-5 ปีจึงสามารถออกพันธุ์ใหม่และเข้าสู่กระบวนการจดทะเบียนพันธุ์ได้ การนับผลผลิตในระยะ 1 ปีจึงได้ผลผลิตต่ำกว่าเป้าหมาย รวมถึงการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้าพื้นที่วิจัยและการนำเสนอผลงานวิจัยของโครงการต่างๆ) และมากกว่าเป้าหมาย 1 ข้อ การประเมินด้านความสอดกับยุทธศาสตร์ชาติและแหล่งทุน โครงการทั้ง 46 โครงการ มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ทั้ง 4 ยุทธศาสตร์ โดยมีระดับความสอดคล้องทุกยุทธศาสตร์ในระดับ มาก และ มากที่สุด 2) ด้านการประเมินผลลัพธ์ (Outcome) ของโครงการทั้งหมดภายใต้แผนงานเกษตรและอาหารตามที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลง มี 21 ข้อ ผลงานวิจัยทำให้เกิดผลลัพธ์ตามที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลง ผลลัพธ์ที่เป็นองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถทำให้เกิดการพัฒนาระบบการเกษตรและอาหารของประเทศทุกโครงการ การประเมินระดับความพร้อมของเทคโนโลยีสาหรับผลผลิตและผลิตภัณฑ์ (TRL) เพื่อการใช้ประโยชน์ มีระดับ TRL3 จำนวน 23 ผลงาน TRL4 จำนวน 19 ผลงาน TRL5 และTRL 6 ระดับละ 1 ผลงาน 3) ด้านผลกระทบ (Impact) ที่เกิดขึ้นจากโครงการวิจัยทั้งหมดภายใต้แผนงานเกษตรและอาหารตามที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลง มี 17 ข้อ การประเมินผลกระทบช่วงก่อนปิดโครงการยังเห็นผลน้อย แต่สามารถเตรียมการเพื่อประเมินผลกระทบไปจนถึงระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่หลังปิดโครงการ โดยเฉพาะโครงการที่มีผลการประเมินศักยภาพในการสร้างผลกระทบสูง และจะเห็นผลชัดเจนในช่วง 3 ปีขึ้นไปนับจากปี 2564 ผลการวิเคราะห์จากการประเมินตนเองของคณะนักวิจัยในโครงการวิจัยย่อยก่อนปิดโครงการทั้ง 46 โครงการ คาดว่าผลงานจะสร้างผลกระทบตามที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลง การวิเคราะห์คาดการณ์เพื่อประเมินความคุ้มค่าการลงทุนวิจัยทำให้ทราบว่าโครงการสามารถทำให้เกิดการคืนทุนได้

คำสำคัญ : เกษตรและอาหาร การประเมินผลโครงการ ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี นวัตกรรม
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Project Management of Agriculture and Food Integrated Program Year 2563.
Abstract :

The Agriculture and Food Program Year 2020 was granted for 37,053,800 baht through Science Research and Innovation Fund under MOU between Maejo University and Thailand Science Research and Innovation (TSRI). TSRI acts as the national funding allocation. The activities of Project Management of Agriculture and Food Program were done by using the national funding allocation guidelines in the MOU. The objectives of the program were 1) monitor and analysis the progress report and budget report in NRIIS 2) evaluate the research output, outcome and impact in order to meet the program objective and key results (OKRs) 3) co-operate with the national funding allocation for reporting 4) administrate and co-operate with researchers and organizations. The number of 46 research proposals from 10 main projects were investigated. Monitoring and synthesis of progress and budget reports in NRIIS were done. Development of criterias for evaluation of outputs, outcomes and impacts in order to meet the program objective and key results were also carried out. Moreover, the meetings for progress reports were organised. Site visits for monitoring the progression of research activities were taken place in Chiang Mai, Phrae and Chumpon Provinces. The results revealed that 1) The outputs with 5 criterias in the MOU, met the targets 3 criterias, lower than the targets 4 criterias and higher than the targets 1 criteria. The evaluation for the harmonization with national strategy showed that all 46 research subprojects gave high to highest score. 2) The outcomes with 21 criterias in the MOU, the expected outcome from all research achievements met the targets. The outcomes i.e. knowledge, technologies and innovations could be used for development of national agriculture and food system. The analysis of TRL showed that 46 research subprojects met TRL 3-6. The prototypes were in TRL 3, TRL 4, TRL 5 and 6 were 23,19, 1 and 1, respectively. 3) The impacts (17 criterias) from all 46 projects evaluated before closing of the project were less. However, the preparation for 5 years evaluation beyond were arranged. In particular for the high impact evaluated projects, the impacts would be obviously obtained in 3 years onwards from year 2021. The expected impacts from self assessment of 46 research subprojects, met the targets in the MOU. Condition of the return on investment of

Keyword : agriculture and food, project evaluation, technology readiness level (TRL), innovation
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Green
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์วัลย์ เมฆกมล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
40 นักวิจัยรุ่นเก่า
2 อาจารย์ ดร.สุชาดา สายทิ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
30 นักวิจัยรุ่นเก่า
3 นายสมยศ มีสุข
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร / กองบริหารงานวิจัย / งานบริหารและส่งเสริมการวิจัย
ผู้วิจัยร่วม
10 นักวิจัยรุ่นเก่า
4 นายภาณุลักษณ์ ศรีรินทร์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร / กองบริหารงานวิจัย / งานสารสนเทศและเผยแพร่งานวิจัย
ผู้วิจัยร่วม
10 นักวิจัยรุ่นเก่า
5 นางจิรนันท์ เสนานาญ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร / กองบริหารงานวิจัย / งานบริหารเงินทุนวิจัย
ผู้วิจัยร่วม
10 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
729,939.00
   รวมจำนวนเงิน : 729,939.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023