การประเมินความเป็นพรีไบโอติกของน้ำเชื่อมฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์จากหัวหอมแขกในแบบจำลองทางเดินอาหารมนุษย์

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-033.3
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การประเมินความเป็นพรีไบโอติกของน้ำเชื่อมฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์จากหัวหอมแขกในแบบจำลองทางเดินอาหารมนุษย์
บทคัดย่อ :

สารสกัดจากหอมแขก (Allium cepa var. viviparum) ประกอบด้วยฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์

(FOSs) เป็นหลักและได้รับการยืนยันสมบัติความเป็นพรีไบโอติกเบื้องต้นในการศึกษาก่อนหน้า

ต่อมาเรียกสารสกัดนี้ซึ่งอยู่ในรูปของน้ำเชื่อมว่า อินูลิน-ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ (inulin-FOSs)

สารที่มีสมบัติเป็นสารพรีไบโอติกต้องทนทานต่อการย่อยในระบบทางเดินอาหารของโฮสต์และ

ต้องหมักได้อย่างจำเพาะโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพของโฮสต์ โมเดลการย่อยได้ใน

ระดับหลอดทดลองได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายสำหรับใช้ประเมินการเปลี่ยนแปลงเชิง

โครงสร้าง การย่อยได้ และการหมักได้ของสารพรีไบโอติก ในอดีตวิธีการตรวจนับเซลล์จุลินทรีย์

บนจานอาหารเลี้ยงเชื้อเป็นวิธีที่ใช้สำหรับศึกษาการหมักได้ของสารพรีไบโอติกที่หมักโดยหัวเชื้อ

จากธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ใช้ตรวจวัดจำนวนและชนิดของจุลินทรีย์บางชนิดเท่านั้น และไม่

สามารถบ่งชี้ความหลากหลายของจุลินทรีย์ได้อย่างครอบคลุม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ประเมินความสามารถในการย่อยได้และการหมักได้ของ inulin-FOSs จากหัวหอมแขกใน

แบบจำลองทางเดินอาหารมนุษย์ ทำมาตรฐานสารสกัดด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณน้ำตาลทั้งหมด

และน้ำตาลรีดิวซ์ด้วยวิธีฟีนอล-กรดซัลฟิ วริกและดีเอ็นเอส ตามลำดับ และวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วย

เทคนิคโครมาโทกราฟี ผิวบาง (TLC) inulin-FOSs มาตรฐานประกอบด้วยน้ำตาลทั้งหมดเท่ากับ

98.0?2.8 กรัมต่อลิตร และน้ำตาลรีดิวซ์เริ่มต้นเท่ากับ 8.7?0.62 กรัมต่อลิตร คิดเป็นค่าองศาของการ

พอลิเมอไรเซชัน (DP) เท่ากับ 11 inulin-FOSs ที่ได้ประกอบด้วยกลูโคสและฟรุกโตสซึ่งเป็ นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและซูโครสซึ่งเป็ นน้ำตาลโมเลกุลคู่เจือปน ผลการประเมินการย่อยได้พบว่า

inulin-FOSs สามารถทนทานต่อสภาวะจำลองในปาก กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กได้ ภายหลัง

จากการวิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากระบบจำลองสภาวะทางเดินอาหาร

ในระดับหลอดทดลอง และแบบแผนของ inulin-FOSs ด้วยเทคนิค TLC แบคทีเรียโพรไบโอติกก

ลุ่ม lactobacilli สามารถหมัก inulin-FOSs ได้อย่างจำเพาะเจาะจง และมีแบบแผนการเจริญที่

เหมือนกับแบบแผนการเจริญที่ได้จากการเลี้ยงจุลินทรีย์ด้วยกลูโคส ฟรุกโตสและซูโครส การหมัก

inulin-FOSs ในระบบจำลองทางเดินอาหารของมนุษย์ใช้อุจจาระจากทารกสุขภาพดีเป็นตัวแทน

ของหัวเชื้อจากธรรมชาติ เทคนิค Next generation sequencing (NGS) เป็นเทคนิคที่ใช้ตรวจวัดความ

หลากหลายทางชีวภาพและจำนวนประชากรของแบคทีเรีย ผลการทดลองพบว่า แบคทีเรียหลักที่ถูก

คัดเลือกด้วย inulin-FOSs คือ ไฟลัม Actinobacteria เช่น Bifidobacterium sp. และจำนวนเพิ่มขึ้น

เป็นสัดส่วนโดยตรงกับเวลา ขณะเดียวกันแบคทีเรียไฟลัม Firmicutes เช่น Clostridium sp. และ

Proteobacteria เช่น Veillonella sp., Enterococcus sp., Klebsiella sp. แ ล ะ Escherichia-Shigella

เป็นแบคทีเรียที่มีจำนวนรองลงมา และมีจำนวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากถูกแทนที่ด้วย

Actinobacteria ที่สำคัญ ได้แก่ Bifidobacterium breve และ Bb. bifidum ผลการทดลองนี้สอดคล้อง

กับชนิดของกรดไขมันสายสั้น (SCFA) หลักที่ได้จากการหมัก inulin-FOSs ได้แก่ กรดแลกติก

และ

กรดอะซิติกซึ่งเป็นกรดอินทรีย์หลักที่ได้ และ SCFA ชนิดนี้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าสามารถ

ผลิตได้โดย Bifidobacterium sp. ผลการทดลองยังพบว่า แหล่งคาร์บอนหลักของการหมัก inulin-

FOSs ในระบบจำลองทางเดินอาหารมนุษย์ ได้แก่ กลูโคส ฟรุกโตส และซูโครสปนมากับ inulin-

FOS หลังจากขั้นตอนการทำบริสุทธ์ิ และฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์สายสั้น 2 ชนิด ได้แก่ คีสโตส

(kestose) และน้ำตาลที่ไม่สามารถจำแนกโครงสร้างได้ซึ่งมีขั้วใกล้เคียงกับคีสโตส เมื่อวิเคราะห์

ด้วยเทคนิค TLC จากผลการทดลองในงานวิจัยนี้สรุปได้ว่า inulin-FOSs จากหัวหอมแขกมีสมบัติ

ความเป็นพรีไบโอติกและสามารถทำงานเชิงหน้าที่บริเวณลำไส้ใหญ่ได้โดยปราศจากการเติม

จุลินทรีย์โพรไบโอติก และจากการเปลี่ยนแปลงประชากรแบคทีเรียระหว่างการหมักสามารถ

อนุมานได้ว่า inulin-FOSs จากหัวหอมแขกสามารถส่งเสริมสุขภาพของผู้บริโภคได้

คำสำคัญ : หอมแขก ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ พรีไบโอติก เทคโนโลยีเอ็นจีเอส
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Evaluation of the Prebiotic Properties of Hom-Kaek Fructooligosaccharide Syrup in Simulating Human Gut Model
Abstract :

According to our previous study, Hom-Kaek (Allium cepa var. viviparum) was found to

consist of fructooligosaccharides which have been approved to be one of potential prebiotics. This

extract, the so-called inulin-fructooligosaccharides ( inulin-FOSs) , is in form of syrup. To be a

prebiotic substance, one must be resistant to a host digestive system system and must be

specifically fermentable by intestinal microbial community and thus promoting host health. In

vitro digestive gut models have been widely accepted for the evaluation of structural changes,

digestibility and fermentability of certain prebiotics. In the past, plate count is a method for

determination of fermentability of prebiotics fermented by a natural inoculum. However, this

method is limited to measure the number and type of some microorganisms and to

comprehensively indicate microbial diversity. The aim of this research study was to evaluate

digestibility and fermentability of inulin-FOSs from Hom-Kaek in the human gut model. The

inulin-FOSs were standardized by quantitative analysis of total sugar and reducing sugars using

phenol-sulfuric acid and DNS methods, respectively and qualitative analysis by thin layer

chromatography (TLC). The standardized inulin-FOSs consisted of 98.0?2.8 g/L total sugars and

8.7?0.62 g/L reducing sugar, thus calculating to degree of polymerization of 11. The obtained

inulin-FOSs contained glucose and fructose as the contaminated monosaccharides and sucrose as

the contaminated disaccharide. The digestibility evaluation results revealed that inulin-FOSs were

resistant toward the simulated oral, gastric, and intestinal conditions after evaluating the released

reducing sugars and profile of inulin-FOSs by thin-layer chromatography obtained from the in

vitro gastrointestinal system. The tested probiotic lactobacilli could specifically fermented inulin-

FOSs and had the same growth pattern as those fermented in glucose, fructose, and sucrose.

Fermentation of the inulin-FOSs in human gut model was conducted using fecal slurry from

healthy infant as the representative of natural inoculum. The next generation sequencing (NGS)

technique was used to determine bacterial diversity and population. The results found that the

most abundance bacteria which were selectively simulated by the inulin-FOSs belonged to

phylum Actinobacteria such as Bifidobacterium sp. Their numbers were increased proportionallyto fermentation time. Meanwhile, bacterial members in phylum Firmicutes such as Clostridium

sp. and Proteobacteria including e. g. Veillonella sp. , Entercoccus sp. , Klebsiella sp. and

Escherichia-Shigella, were the second most abundance bacteria. They were decreased with regard

to the increased numbers of Actinobacteria in particular Bifidobacterium breve and Bb. bifidum.

The results were in agreement with main short-chain fatty acids (SCFA) produced from inulin-

FOSs fermentation including lactic acid and acetic acid. These SCFA are in fact produced by

Bifidobacterium sp. Moreover, the results revealed that the major fermentative carbon sources

were the contaminated glucose, fructose and sucrose, the retained residues after the purification of

inulin-FOSs, two different FOSs including kestose and an unidentified saccharide with a polarity

that is closely related to kestose as judged by TLC technique. Overall, it can be concluded that

inulin-FOSs from Hom-Kaek possesses prebiotic properties and can exhibit its function alone

without probiotic microorganisms. With regard to the changes in bacterial population during the

fermentation, it can be implied that the inulin-FOSs from Hom-Kaek can promote host health.

Keyword : Hom Kaek, Fructooligosaccharides, Prebiotic, NGS technology
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ ดร.สมคิด ดีจริง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
30 ไม่ระบุ
2 นายอภินันท์ กันเปียงใจ
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
70 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
405,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 405,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023