การพัฒนาระบบการผลิตต้นพันธุ์หัวหอมแขก (Allium cepa var. viviparum) จากการเพาะเลี้ยงเยื่อ

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-033.1
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนาระบบการผลิตต้นพันธุ์หัวหอมแขก (Allium cepa var. viviparum) จากการเพาะเลี้ยงเยื่อ
บทคัดย่อ :

หัวหอมแขก (Alium cepa var. viviparum) เป็นพืชที่มีแนวโน้มนาไปใช้ประโยชน์ในด้านอาหารสุขภาพได้สูง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่มีการปลูกหัวหอมแขกเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย โดยหัวหอมแขกที่บริโภคภายในประเทศนั้นมาจากการนาเข้าแทบทั้งสิ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบการผลิตต้นพันธุ์หัวหอมหัวแขกจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนต่าง ๆ ของการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในขั้นตอนการชักนาให้เกิดยอดในสภาพปลอดเชื้อได้นาชิ้นส่วนหัวหอมแขกมาฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารฆ่าเชื้อชนิดต่าง ๆ ได้แก่ Clorox? 25%, mercuric chloride 0.1%, silver nitrate 1% และ hydrogen peroxide 6% เป็นระยะเวลา 10, 15 และ 20 นาที ผลปรากฏว่า การแช่ชิ้นส่วนหัวใน mercuric chloride 0.1% หรือ silver nitrate 1% นาน 20 นาที พบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ต่าเพียง 20.00-25.00% และยังมีการเกิดยอดได้สูง 83.33-85.00% แต่การแช่ silver nitrate ทาให้ชิ้นส่วนพืชช้าเป็นสีน้าตาล เมื่อเปรียบเทียบผลของการผ่าหัวหอมแขก 4, 6 และ 8 ส่วนต่อการชักนาให้เกิดยอด พบว่า การผ่าหัวแบบต่าง ๆ สามารถชักนาการเกิดยอดใกล้เคียงกัน 61.67-67.50% โดยการผ่าหัว 8 ส่วน สามารถชักนาให้เกิดยอดต่อชิ้นส่วนและมีจานวนยอดต่อหัวมากที่สุด 1.31 และ 6.40 ตามลาดับ ในขั้นตอนการเพิ่มปริมาณยอดหัวหอมแขกได้นาชิ้นส่วนลาต้นมาเพาะเลี้ยงโดยเปรียบเทียบการไม่ผ่าและการผ่าลาต้นตามแนวยาว พบว่า ชิ้นส่วนพืชทั้งสองแบบมีการเกิดยอดใหม่จานวน 1 ยอดต่อชิ้นส่วน โดยการไม่ผ่าลาต้นเกิดเพียงยอดเดียวต่อชิ้นส่วนลาต้นตั้งต้น ในขณะที่การผ่าลาต้นเกิดยอดเพิ่มเป็น 2 ยอดต่อชิ้นส่วนลาต้นตั้งต้นนอกจากนี้การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนลาต้นบนอาหารกึ่งแข็งสูตร Murashige and Skoog (MS) ดัดแปลงที่ไม่เติมและเติมไซโตไคนิน ได้แก่ 6-benzylaminopurine (BAP) 1.0 และ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ thidiazuron (TDZ) 0.25 และ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า การเติม TDZ เพิ่มปริมาณยอดได้สูงกว่า BAP โดยการเติม TDZ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถเพิ่มปริมาณยอดได้สูงที่สุด 3.9 ยอดต่อชิ้นส่วน ในขณะที่การไม่เติมไซโตไคนินเกิดยอดเพียง 1 ยอดต่อชิ้นส่วน ในขั้นตอนการชักนาให้ออกรากได้นาชิ้นส่วนลาต้นมาเพาะเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS ดัดแปลงที่ไม่เติมและเติมออกซิน ได้แก่ indole-3-butyric acid (IBA) และ 1-naphthalene acetic acid (NAA) 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า ลาต้นหัวหอมแขกสามารถเกิดรากทั้งในอาหารที่ไม่เติมและเติมออกซิน โดยการเติม IBA 1 มิลลิกรัมต่อลิตร มีความเหมาะสมในการชักนาให้ออกราก ซึ่งมีอัตราการออกรากสูง 87.67% และมีจานวนรากมากที่สุด 16.75 รากต่อต้น ในขั้นตอนการปรับสภาพและย้ายปลูกในโรงเรือนได้ศึกษาระยะเวลาการชักนาให้ออกรากก่อนย้ายปลูก โดยนาชิ้นส่วนลาต้นมาเพาะเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS ดัดแปลงที่เติม IBA 1 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นระยะเวลาต่าง ๆ ก่อนนาไปย้ายปลูก ได้แก่ 0, 1, 2 และ 4 สัปดาห์ พบว่า ต้นชักนาการออกรากเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ มีอัตราการรอดชีวิตเมื่อย้ายปลูกในโรงเรือนสูงที่สุด 85.71% นอกจากนี้ได้เปรียบเทียบผลของวัสดุปลูกต่าง ๆ ได้แก่ ดินร่วนและทราย (1:1), ดินร่วน ทราย และขี้เถ้าแกลบ (1:1:3), ดินร่วน ทราย และขุยมะพร้าว (1:1:3) และดินร่วน ทราย ขี้เถ้าแกลบ และพีทมอส (1:1:3:3) พบว่า การย้ายปลูกต้นในวัสดุปลูก ดินร่วน ทราย ขี้เถ้าแกลบ และพีทมอส (1:1:3:3) ทาให้ต้นมีอัตราการรอดชีวิตสูงที่สุด 80.00% รวมทั้งต้นมีการเจริญเติบโตในด้านความสูงต้น จานวนใบ ความยาวราก และจานวนรากมากที่สุดด้วย (17.07 ซม., 5.13 ใบต่อต้น, 8.35 ซม. และ 25.49 รากต่อต้น ตามลาดับ) จากผลการศึกษาที่ได้จึงนามาการออกแบบระบบการผลิตหัวหอมแขกจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สาหรับใช้เป็นแนวทางในการผลิตต้นพันธุ์เพื่อนาไปใช้ส่งเสริมการปลูกภายในประเทศและลดการนาเข้าต่อไป

คำสำคัญ : หัวหอมแขก การขยายพันธุ์พืชด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ระบบการผลิต
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Development of micropropagation system for Hom-kaek onion (Allium cepa var. viviparum)
Abstract :

Hom-kaek onion (Allium cepa var. viviparum) has a high potential to serve as a functional food. However, to date, there has been no commercial cultivation of Hom-kaek onion in Thailand, and the demands for this plant has been fulfilled mostly by importation. This study aimed to developed a propagation system of Hom-kaek onion using tissue culture technique. Here, we examined various factors during the tissue culture process for the production of Hom-kaek plantlets. During the initiation phase, onion bulbs were sterilized using 25% Clorox?, 0.1% mercuric chloride, 1% silver nitrate, or 6% hydrogen peroxide for 10, 15, and 20 min. Overall, low rates of microbial contaminations (20.00-25.00%) and shoot induction (83.33-85.00%) were observed. Nonetheless, silver nitrate exposure caused the explanted onion to darken and bruised. Comparing the effects of cutting the onion bulbs (4, 6, and 8 sections per bulb), comparable shoot induction rates were ranged from 61.67% to 67.50%. By cutting the onion bulb into 8 sections, the averages of 1.31 shoots per explant and 6.4 shoots per initial bulb were observed. During the multiplication phase, the initiated plants were cut longitudinally and each section capable of shoot formation was found. This suggested that without re-division, 1 initial section gave rise to 1 shoot while with a longitudinal re-division, 1 initial section gave rise to 2 onion shoots. When the effects of cytokinin supplementations were compared, shoot formation rates of the onion explants grown on modified semi-solid MS medium with 1.0-2.0 mg/L BAP and 0.25-0.5 mg/L TDZ, and without supplementation (control) were evaluated. In general, we found TDZ was more effective than BAP supplementation. Compared to the non-supplemented control (1.0 shoot per piece), an addition of 0.5 mg/L TDZ led to the formation of 3.9 shoots per piece on the average. During the root induction phase, the effects of auxins with varying concentrations (0.5 and 1.0 mg/L of either IBA or NAA) were examined. Interestingly, root formation rates in both the auxin-induced and the non-induced control were observed. It was found that 1.0 mg/L IBA was the most efficient for root induction as it promoted 87.67% of root induction, yielding the highest average numbers of roots per shoot (16.75 roots per shoot). Subsequently, in the adjustment period before the plantlet transfer to greenhouse, root induction periods were varied and plantlet survival rates were determined. The onion shoots were grown on the modified semi-solid MS medium supplemented with 1.0 mg/L IBA and allowed root formation for 0, 1, 2, and 4 weeks prior to the greenhouse transfer. Two weeks of root induction period prior to the plantlet transfer was the most optimal time, yielding an 85.71% survival rate. Additionally, the different planting materialswere compared, which included loam soil: sand (1:1), loam soil: sand: rice husk ash (1:1:3), loam soil: sand: coconut coir fiber (1:1:3), and loam soil: sand: rice husk ash: peat moss (1:1:3:3). It was found that the latter formula (1:1:3:3 loam: sand: rice husk ash: peat moss) led to the highest survival rates of the onion plantlets (80.00%) and the highest growth in terms of shoot height, leaf number, root length, and root number (17.07 cm, 5.13 leaves/shoot, 8.35 cm, 25.49 roots/shoot, respectively). The results from this study will aid in designing and developing the micropropagation system for large-scale production of Hom-kaek plantlets to enhance the domestic cultivation of Hom-kaek onion and reduce the import costs in the future

Keyword : Allium cepa var. viviparum, micropropagation, production system
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ภูมิสุทธาผล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
50 ไม่ระบุ
2 น.ส.รังสิมา อัมพวัน
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร / กองบริหารงานบริการวิชาการ / งานปรับปรุงและขยายพันธุ์พืช และสัตว์
ผู้วิจัยร่วม
25 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีกาญจนา คล้ายเรือง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
4 นางภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์ / สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ / งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
360,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 360,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023