ความหลากหลายของกล้วยไม้ในป่าชุมชนบ้านปางเปา ตำบลขี้เหล็ก อำเภอ แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-60-043/61-052
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ความหลากหลายของกล้วยไม้ในป่าชุมชนบ้านปางเปา ตำบลขี้เหล็ก อำเภอ แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ :

การศึกษาความหลากหลายของกล้วยไม้ในป่าชุมชนบ้านปางเปา ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการศึกษาในแต่ละสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 พบกล้วยไม้ 63 ชนิด ใน 2 วงศ์ย่อย คือ วงศ์ย่อยออร์คิดอยดีอี (Orchidoideae) เผ่าออร์คิดีอี (Orchideae) พบกล้วยไม้ 14 ชนิด ใน 4 สกุล คือ สกุลท้าวคูลู (Brachycorythis) 1 ชนิด สกุลสังหิน (Habenaria) 9 ชนิด สกุลนางอั้ว (Pecteilis) 2 ชนิด และสกุลนางตาย (Peristylus) 2 ชนิด และวงศ์ย่อยอีพิเดนดรอยดีอี (Epidendroideae) พบกล้วยไม้ 49 ชนิด ใน 8 เผ่า ได้แก่ เผ่าเนอร์วิลีอี (Nervileae) 1 สกุล คือ สกุลบัวสันโดษ (Nervillea) 1 ชนิด เผ่ามาลาซิดีอี (Malaxideae) 3 สกุล คือ สกุลไลพาลีส (Liparis) 2 ชนิด สกุลหูเสือ (Malaxis) 1 ชนิด และสกุลพัดนางชี (Oberonia) 1 ชนิด เผ่าซิมบิดีอี (Cymbideae) 4 สกุล คือ สกุลเอื้องโรย (Bromheadia) 1 ชนิด สกุลกาเรการ่อน (Cymbidium) 2 ชนิด สกุลว่านอึ่ง (Eulophia) 5 ชนิด และสกุลเอื้องจูงนาง (Geodorum) 3 ชนิด เผ่าอาร์ธูซีอี (Arethuseae) 2 สกุล คือว่านข้าวเหนียว (Pachystoma) 1 ชนิด และสกุลเอื้องดินใบหมาก (Spathoglottis) 1 ชนิด เผ่าซีโลจีนีอี (Coelogyneae) 1 สกุล คือสกุลหมากเลื่อม (Coelogyne) 2 ชนิด เผ่าโพโดคิลีอี (Podochileae) 1 สกุล คือ สกุลเอื้องตะขาบขาว (Eria) 2 ชนิด เผ่าเดนโดรบิอี (Dendrobieae) 2 สกุล คือ สกุลสิงโต (Bulbophyllum) ชนิด และสกุลหวาย (Dendrobium) 8 ชนิด และเผ่าแวนดีอี (Vandeae) 9 สกุล คือ สกุลกุหลาบ (Aerides) 3 ชนิด สกุลพญาไร้ใบ (Chiloschista) 1 ชนิด สกุลไคลโซสโตมา (Cleisostoma) 3 ชนิด สกุลเอื้องลิ้นดำ (Luisia) 3 ชนิด สกุลฟาแลนอปซีส (Phalaenopsis) 1 ชนิด สกุลช้าง (Rhynchostylis) 1 ชนิด สกุลเข็มหนู (Smitinandia) 1 ชนิด สกุลเสือ (Staurochilus) 1 ชนิด และสกุลสามปอย (Vanda) 2 ชนิด จำนวนประชากรกล้วยไม้ที่พบในแต่ละเขต มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความอุดมสมบูรณ์ของป่า เดือนที่พบกล้วยไม้เริ่มบานจำนวนมากที่สุดในเดือนเมษายน รองลงมาคือเดือนสิงหาคม และพบจำนวนน้อยที่สุดในเดือนธันวาคม

คำสำคัญ : ป่าชุมชนบ้านปางเปา กล้วยไม้พื้นเมือง ความหลากหลายของกล้วยไม้
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Orchid Diversity at Baan Pangpao Community Forest, Tambon Khilek, Maetaeng, Chiangmai.
Abstract :

Study on orchid diversity at Baan Pangpao community forest, tambon Khilek, Maetaeng, Chiangmai. The study was conducted in each week from October, 2015 to September, 2016. Sixty-three species of two subfamilies, Orchidoideae and Epidendroideae, were found in the area. Fourteen Orchidoideae, orchid species of tribe Orchideae were found in 4 genera, Brachycorythis (1 species), Habenaria (9 species), Pecteilis (2 species) and Peristylus (2 species). Fourty-nine Epidendroideae, orchid species were found in 8 tribes, Nervileae (1 species of Nervillea), Malaxideae (2 species of Liparis, 1 species of Malaxis and 1 species of Oberonia), Cymbideae (1 species of Bromheadia, 2 species of Cymbidium,5 species of Eulophia, and 3 species of Geodorum), Arethuseae (1 species of Pachystoma and 1 species of Spathoglottis), Coelogyneae (2 species of Coelogyne), Podochileae (2 species of Eria), Dendrobieae (3 species of Bulbophyllum and 8 species of Dendrobium) and Vandeae (3 species of Aerides, 1 species of Chiloschista, 3 species of Cleisostoma, 3 species of Luisia, 1 species of Phalaenopsis, 1 species of Rhynchostylis, 1 species of Smitinandia, 1 species of Staurochilus and 2 species of Vanda).

The number of orchid populations found in each zone had a positive relationship with wild abundance. The highest number of orchids was found in April, the second is August, and found the least number in December.

Keyword : Baan Pangpao community forest, Orchid diversity, Orchid conservation
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิต อินปรา
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
271,200.00
   รวมจำนวนเงิน : 271,200.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023