การเพิ่มคุณภาพชีวมวลเหลือใช้ทางการเกษตรโดยกระบวนการเพิ่มความหนาแน่นและทอร์รีแฟคชั่นสำหรับการผลิตไฟฟ้าเพื่อชุมชน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-60-011/61-021
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การเพิ่มคุณภาพชีวมวลเหลือใช้ทางการเกษตรโดยกระบวนการเพิ่มความหนาแน่นและทอร์รีแฟคชั่นสำหรับการผลิตไฟฟ้าเพื่อชุมชน
บทคัดย่อ :

-ปัจจุบันแนวโน้มของเชื้อเพลิงหรือพลังงานจากฟอสซิลเริ่มลดลงและคาดว่าจะหมดลงในระยะเวลาอันใกล้ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจำนวนมาก ที่ผ่านมาการกำจัดส่วนหนึ่งด้วยวิธีการเผาทำลายซึ่งส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของคน

ในชุมชน ซึ่งถ้ามีการนำเอาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดเม็ดและนำเข้าสู่กระบวนการทอรีแฟคชั่นเพื่อเพิ่มคุณภาพทางพลังงานแล้วนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าหรือความร้อนอื่นๆ ก็จะส่งผลในภาพรวมของการลดการนำเข้าพลังงานและการส่งเสริมใช้พลังงานทดแทนในประเทศ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการเพิ่มคุณภาพชีวมวลเหลือใช้

ทางการเกษตรโดยใช้กระบวนการเพิ่มความหนาแน่นและทอร์รีแฟคชั่นสำหรับการผลิตไฟฟ้า

เพื่อชุมชน การเพิ่มคุณภาพชีวมวลเริ่มต้นด้วยการศึกษาคุณสมบัติชีวมวล กระบวนการอัดเม็ดเชื้อเพลิงและคุณสมบัติทางกายภาพเชื้อเพลิง กระบวนการทอรีแฟคชั่นศึกษาในส่วนอุณหภูมิและระยะเวลาทำปฏิกิริยาซึ่งอยู่ในช่วง 200-400 ?C และระยะเวลา 20-40 นาที โดยพิจารณา

อัตราพลังงานและมวลที่ได้สูงสุด ซึ่งหลังจากนั้นได้นำเอาชีวมวลอัดเม็ดเข้าสู่

กระบวนการทอรีแฟคชั่นภายใต้อุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสม จากนั้นนำเอาเชื้อเพลิงอัดเม็ดทอริไฟด์ที่ได้ไปวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพอีกครั้ง ในขณะที่ทุกกระบวนการเพิ่มคุณภาพชีวมวลเหลือใช้ทางการเกษตรจะศึกษาปริมาณการใช้พลังงานในการบวนการและสุดท้ายจะประเมินเศรษฐศาสตร์ต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดทอริไฟด์ ผลการศึกษาพบว่า อุณหภูมิและระยะเวลากระบวนการทอริแฟคชั่นที่เหมาะสมของซังข้าวโพด ทางใบปาล์ม และเศษไม้ คือ 200 ?C 20 min, 200 ?C 40 min และ 200 ?C 20 min ตามลำดับ การผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 64-80?C และ 10-21% ตามลำดับ คุณสมบัติกายภาพของเชื้อเพลิงอัดเม็ด

และเชื้อเพลิงอัดเม็ดทอริไฟด์ มีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การใช้เบดซีโอเลท์ 5 A และ ทราย ส่งผลให้คุณสมบัติทางกายภาพลดลงในขณะที่คุณสมบัติทางเคมีหรือพลังงานเพิ่มขึ้น การสูญเสียพลังงานส่วนใหญ่ของการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดทอริไฟด์จะสูญเสียไปกับกระบวนการทอรีแฟคชั่น การผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดทอริไฟด์แบบใช้เบดร่วมมีต้นทุนรวมสูงกว่าการไม่ใช้เบด ต้นทุนรวมการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดของซังข้าวโพด ทางใบปาล์มและเศษไม้ 11,711-18,525 BAHT/Ton-biomass

คำสำคัญ : ชีวมวล กระบวนการเพิ่มความหนาแน่น ทอร์รีแฟคชั่น เชื้อเพลิงอัดเม็ด กระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่น
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

At present, fossil fuels were trended to decline and possible to depleted in the near future. Thailand is an agricultural country with a lot of agricultural wastes. Previously, some of them used with burning method which could affects the environment and health of the people in the community. On the other hand, agricultural wastes if applied to produce fuel pellets and brought into torrefaction process to upgrade quality energy it might be helpful to produce high heating and electricity

which can be reduce the energy imports and promote the use of renewable energy in the country. Therefore, the objective of research needs to upgrade agricultural wastes biomass by using densification and torrefaction processes for produce electricity for the community. The upgrading of biomass was studied with different parameters including biomass properties, pelletizing process, and physical biomass pellet properties. The torrefaction process was observed in temperature and time reaction between 200-400 ?C and 20-40 minutes with analyzed the maximum energy

and mass yields. Subsequently, it will be used biomass pellet into suitable temperature and

time torrefaction and then brought torrefied pellets were analyzed chemical and physical properties again for quality confirmation. Consequently, each process was studied with energy input

and analyzed production cost of torrefied pellets. The result was found that, the appropriate temperature and time torrefaction of corn cob, palm leaves and wood residue of 200 ?C 20 min, 200 ?C 40 min and 200 ?C 20 min, respectively. The suitable of temperature and moisture of pellets production in a range of 64-80?C and 10-21%, respectively. The physical properties of biomass pellets and torrefied pellets were standard, the use of zeolite 5A and sand bed were affected

and reduce physical properties while the chemical and energy properties were increased.

The most energy was loss of produce torrefied pellets was lose from torrefaction process.

The torrefied pellets production by bed type was higher total cost than non-bed type. The total cost of corn cob, palm leaves and wood residue in a range of 11,711-18,525 BAHT/Ton-biomass.

Keyword : Biomass Densification Torrefaction Pellet fuel Gasification process
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิกราน หอมดวง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
50 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติกร สาสุจิตต์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูรัตน์ ธารารักษ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ผู้วิจัยร่วม
15 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
287,700.00
   รวมจำนวนเงิน : 287,700.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023