การเตรียมฟิล์มแป้งมันสำปะหลังเสริมแรงด้วยเซลลูโลสจากต้นกล้าข้าวเหนียวสันป่าตองเพื่อพัฒนาใช้ในงานบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-002.6
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การเตรียมฟิล์มแป้งมันสำปะหลังเสริมแรงด้วยเซลลูโลสจากต้นกล้าข้าวเหนียวสันป่าตองเพื่อพัฒนาใช้ในงานบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
บทคัดย่อ :

งานวิจัยนี้ได้ทาการเตรียมฟิล์มไบโอคอมพอสิตจากแป้งมันสาปะหลังที่เสริมแรงด้วยไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากต้นกล้าข้าวเหนียวสันป่าตอง โดยมีกลีเซอรอลเป็นสารพลาสติไซเซอร์ โดยที่ไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากต้นกล้าข้าวเหนียวสันป่าตองจะถูกสกัดด้วยกระบวนการปรับสภาพโดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ในการกาจัดลิกนิน หลังจากนั้นใช้สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ในกระบวนการฟอกขาว และทาปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสด้วยกรดซัลฟิวริกตามลาดับ จากนั้นทาการเตรียมฟิล์มไบโอคอมพอสิตที่เสริมแรงด้วยไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากต้นกล้าข้าวเหนียวสันป่าตองที่ปริมาณร้อยละ 0 ถึง 60โดยน้าหนักของแป้ง ด้วยเทคนิคการหล่อขึ้นรูปโดยใช้ตัวทาละลาย ทาการศึกษาผลของปริมาณไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสที่มีต่อสมบัติทางความร้อนและสมบัติเชิงกลของฟิล์มไบโอคอมพอสิตที่เตรียมได้ และทาการทดสอบการย่อยสลายทางชีวภาพของฟิล์มไบโอคอมพอสิตด้วยวิธีการฝังดินเป็นระยะเวลา 8 วัน และนาผลการทดสอบที่ได้มาเปรียบเทียบกับการย่อยสลายของถุงพลาสติกทางการค้า 3 ชนิดคือ ถุงพลาสติกทางการค้า ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ถุงพลาสติกเย็นแบบขุ่น และถุงพลาสติกร้อนแบบใส ผลการศึกษาพบว่า การเติมไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากต้นกล้าข้าวเหนียวสันป่าตองในฟิล์มแป้งทาให้ค่าเสถียรทางความร้อนของฟิล์มไบโอคอมพอสิตมีค่าลดลง แต่ส่งผลให้ค่าความทนแรงดึงและค่ามอดุลัสของยังมีค่าเพิ่มขึ้น ฟิล์มไบโอคอมพอสิตของแป้งมันสาปะหลังที่เสริมแรงด้วยไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสจากจากต้นกล้าข้าวเหนียวสันป่าตองที่ปริมาณร้อยละ 10 ถึง 30 โดยน้าหนักของแป้ง พบว่าสามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลา 3 วัน แต่เมื่อเพิ่มปริมาณไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสที่เป็นสารเสริมแรงให้มากขึ้น ทาให้เกิดการย่อยสลายที่ช้าลงและฟิล์มไบโอคอมพอสิตสามารถย่อยสลายอย่างสมบูรณ์ได้ในระยะเวลา 8 วัน สาหรับถุงพลาสติกทางการค้าทั้ง 3 ชนิด ไม่เกิดการย่อยสลายใด ๆ ภายในระยะเวลาที่ทาการทดสอบ

คำสำคัญ : ฟิล์มพลาสติก , แป้งมันสำปะหลัง , เซลลูโลส , การย่อยสลายทางชีวภาพ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Preparation of San Pa Tong Variety Cellulose Reinforced Cassava Starch Films for Biodegradable Packaging Development
Abstract :

In this research, starch-based biocomposites films reinforced with San Pa Tong sticky rice microcrystalline cellulose and plasticized with glycerol were prepared. Microcrystalline cellulose from San Pa Tong sticky rice (SPT-MCC) were extracted by alkaline delignification process, bleached with hydrogen peroxide and hydrolysis with sulfuric acid, respectively. Starch-based biocomposite films reinforced with San Pa Tong sticky rice microcrystalline cellulose (SBF-SPT-MCC) were prepared by solvent casting technique. Microcrystalline cellulose content was varied from 0-60 %w/w based on starch content. Effect of microcrystalline cellulose content on thermal and mechanical properties of the composite film were studied. Biodegradation of biocomposite films were investigated by soil burial test methods for 8 days. Biodegradation of biocomposite films were studied compared with the degradation of 3 types of commercial plastic bags. The result showed that thermal stability of biocomposite films decreased with the increasing of microcrystalline cellulose content, while the tensile strength and Young’s Modulus of biocomposite films increased with the increasing of microcrystalline cellulose content. Starch-based biocomposite film completely decomposed within 8 day. For all 3 types of commercial plastic bags, no degradation occurred within the testing period.

Keyword : Plastic Film, Cassava Starch, Cellulose, Biodegradation
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Green
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุษารัตน์ รัตนคำนวณ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
315,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 315,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023