การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารชีวโมเลกุลในกลุ่มอาการความผิดปกติทางสรีรวิทยาของผิวเปลือกลำไย โดยเทคนิคเมทาโบโลมิกส์

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-62-01-008.3
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารชีวโมเลกุลในกลุ่มอาการความผิดปกติทางสรีรวิทยาของผิวเปลือกลำไย โดยเทคนิคเมทาโบโลมิกส์
บทคัดย่อ :

การวิเคราะห์ทางด้านสรีรวิทยา และเมทาโบโลมิกส์ในเปลือกลำไยพันธุ์ดอ (Dimocarpus longan Lour. var. Daw) ที่บ้านภูดิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยนี้เปรียบเทียบตรวจสอบกลุ่มอาการความผิดปกติทางสรีรวิทยาของผิวเปลือกลำไยหลังได้รับสังกะสี และโบรอน ที่ความเข้มข้น (w/w) 0% (T1), 0.1% B (T2), 0.2% B (T3), 0.1% Zn (T4), 0.2% Zn (T5), 0.1% B + 0.1% Zn (T6) และ 0.2% B + 0.2% Zn (T7) ) โดยศึกษาจากใบลำไยหลังได้รับสารเป็นเวลา 0, 8, 16, 24 และ 28 สัปดาห์ และในเปลือกลำไยหลังติดผล 1, 2 และ 4 เดือน การวิเคราะห์ LC-MS ทางด้านเมทาโบไลท์ของใบพบว่า โครมาโทแกรมผลรวมของไอออน (TIC) ในช่วงท้ายของโครมาโทแกรม (rt 15-20 นาที) ถูกรบกวนด้วยสารจับใบและสารลดแรงตึงผิว ทำให้ไม่สามารถแปลผลได้อย่างมีความหมายและไม่สามารถนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้ที่สัมพันธ์กับอาการความผิดปกติทางสรีรวิทยาของผิวเปลือกลำไยได้ ดังนั้นจึงศึกษาตัวบ่งชี้ด้านเมทาโบไลท์จากสารที่สกัดมาจากเปลือกของลำไยที่ได้รับสังกะสี (T6) กับกลุ่มที่แสดงความผิดปกติทางสรีรวิทยา (T1) ที่อายุ 1,2 และ 4 เดือน หลังการติดผล พบว่ามีสารสำคัญ 2 ชนิด มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (q < 0.05) ในเปลือกลำไยกลุ่ม T6 อายุ 1 เดือน หลังการติดช่อผล คือสาร 6-(Hydroxymethyl)-2,4(1H,3H)-pteridinedione ซึ่งเป็นสารขั้นกลาง (intermediate) ในกระบวนการสร้าง folate และ ?-aminoheptanoic acid ซึ่งเป็นตัวเหนี่ยวนำให้สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อจุลินทรี ย์และพบว่าสารสำ คัญ 2 ชนิด คือ 6-methyl thiohexylhydroximoyl-glutathione และ

trihomomethionine มีปริมาณลดลงสอดคล้องกับการลดลงของ vegetative storage protein บนเปลือก

ลาํ ไยที่ไดรั้บโบรอนและสังกะสีในการศึกษาดา้ นโปรติโอมิกส์

คำสำคัญ : อาการความผิดปกติทางสรีรวิทยาของผิวเปลือกลำไย สังกะสี โบรอน เทคนิคเมทาโบโลมิกส์
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Study on the change of biomolecules in the physiological disorder syndromes of longan peel skin by metabolomics technique
Abstract :

Physiological and Metabolomics analysis were analysed in longan peel (Dimocarpus longan

Lour. Var. Daw) from Ban Phu Din, Mae Taeng District, Chiang Mai Province. This research compared

the physiological disorders of longan peel after applied Zn and B solution at concentration (w/w) 0%

(T1), 0.1% B (T2), 0.2% B (T3), 0.1% Zn (T4), 0.2% Zn (T5), 0.1% B + 0.1% Zn (T6) และ 0.2% B +

0.2% Zn (T7). Metabolites were extracted from leaves after either Zn or B was applied at 0, 8, 16, 24

and 28 weeks and from fruit peel at 1, 2 and 4 months after fruit set. The analysis of LC-MS in the

metabolomics of leaves was found that total ion chromatogram (TIC) in terminal phase was disturbed

by leaf binding agents and surfactants. Therefore, it is unable to interpret the LC-MS data set to facilitate

the search for the metabolites from leaves that related to the physiological disorders or used as

biomarker. Therefore, the study of metabolite biomarker was studied from longan peel between 0.2%

w/w zinc treated longan fruit (T6) and the control that shown physiological disorder fruit (T1) at 1, 2

and 4 months after fruiting. It found that 2 important substances (6-(Hydroxymethyl)-2,4(1H,3H)-

pteridinedione (intermediate in folate biosynthesis) and ?-aminoheptanoic acid (inducer on immunity

to resist infection) significantly increased (q <0.05) in T6 group at 1 month after fruiting. However,

there were 2 important substances, 6-methyl thiohexylhydroximoyl-glutathione and trihomomethionine

decrease during the same period. These two substances decreased as same as the reduction of vegetative

storage protein (vsp) which found in the fruit from plant treated with Zn+ B.

Keyword : Physiological disorder syndromes of longan peel skin, Zinc, Boron, Metabolomics technique
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา แกล้วกล้า
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
50 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.เอกวิทย์ ตรีเนตร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
25 ไม่ระบุ
3 นายสิริวัฒน์ บุญชัยศรี
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้วิจัยร่วม
25 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2562
1/10/2561 ถึง 30/9/2562
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
350,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 350,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023