ผลของระยะความบริบรูณ์ต่อคุณภาพทางกายภาพ คุณภาพทางเคมี สารต้านอนุมูลอิสระและการเกิดอาการไส้สีน้ำตาลของสับปะรดพันธุ์ห้วยมุ่น จังหวัดอุตรดิตถ์

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-61-064
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ผลของระยะความบริบรูณ์ต่อคุณภาพทางกายภาพ คุณภาพทางเคมี สารต้านอนุมูลอิสระและการเกิดอาการไส้สีน้ำตาลของสับปะรดพันธุ์ห้วยมุ่น จังหวัดอุตรดิตถ์
บทคัดย่อ :

การศึกษาผลของระยะความบริบูรณ์ตั้งแต่ 110 – 160 วัน ต่อคุณภาพทางกายภาพ คุณภาพทางเคมี สารต้านอนุมูลอิสระ และการทดสอบประสาทสัมผัสของสับปะรดพันธุ์ห้วยมุ่น พบว่า สับปะรดพันธุ์ห้วยมุ่นมีรูปทรงผลแบบกรวยทุกระยะความบริบูรณ์ ขนาดผลและขนาดจุกไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนน้าหนักผล ความสว่าง ค่าสีแดง ค่าสีเหลืองของเปลือกผลและเนื้อผล และปริมาณของแข็งที่ละลายน้าได้มีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะความบริบูรณ์ ส่วนความชื้นในผล ความแน่นเนื้อ ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ ปริมาณกรดแอสคอร์บิก และปริมาณสารต้านออกซิเดชันมีค่าลดลงตามระยะความบริบูรณ์ โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ การทดสอบประสาทสัมผัสของสับปะรดพันธุ์ห้วยมุ่น พบว่า คือค่าลักษณะปรากฏภายนอก สีเนื้อ รสชาติ กลิ่น ความแน่นเนื้อ และการยอมรับโดยรวมมีค่าสูงสุดคือระยะ 130 วัน

การศึกษาผลของการเกิดอาการไส้สีน้าตาลสับปะรดพันธุ์ห้วยมุ่นในระหว่างการเก็บรักษา พบว่า มีการเกิดอาการไส้สีน้าตาลของผลเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา โดยสัมพันธ์กับค่าความสว่างของเปลือกและเนื้อผลมีค่าลดลง ค่าสีแดงของเปลือกและเนื้อผลที่เพิ่มขึ้น ค่าสีเหลืองของเปลือกผลมีค่าเพิ่มขึ้น ส่วนค่าสีเหลืองของเนื้อผลลดลง ปริมาณของแข็งที่ละลายในน้าได้ ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ และปริมาณความชื้นในผลมีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา ส่วนค่าความแน่นเนื้อของผล ปริมาณโปรตีนและ ปริมาณโพลิฟีนอลออกซิเดสมีค่าลดลง

คำสำคัญ : สับปะรดห้วยมุ่น คุณภาพทางกายภาพ คุณภาพทางเคมี การต้านทานอนุมูลอิสระ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Effect of maturity stages on physical, chemical quality, antioxidant and internal browning symptom of pineapple (Ananas comosus L. (Merr.) Hauymon, Uttaradit Province
Abstract :

In this study, physical, chemical qualities, and antioxidant, as well as sensory analysis of “Hauymon” pineapples at maturity stages 110 - 160 days were examined. The results showed that fruit shapes were conical all maturity stages. Fruit size and crown size (width, length and diameter) were not significantly. The fruit weight, lightness (L*), green (a*) and yellow (b*) pigments of peel and flesh and total soluble solid (TSS) were significantly increased when maturity stages. While, moisture content, fruit firmness, total titratable acidity, vitamin C, the total levels of phenol and antioxidant compounds were significantly increased with maturity stages. The sensory evaluation of pineapple fruit found that at maturity stage 130 days were the highest score of appearance, color, taste, aroma, texture and overall acceptable.

The relationship between storage and internal browning development was also investigated. The results showed a significant increase in internal browning over the course of storage. In addition, the brightness and red pigments of the peel and flesh were increased, and while yellow pigments were increased in the peel, they were decreased in the flesh as the pineapples were stored. The levels of soluble solids, titratable acid, and water content were increased and the storage time increased. On the other hand, flesh firmness, protein content, and the polyphenol oxidase level were decreased throughout storage.

Keyword : Pineapple Huaymon, physical qualities, chemical qualities, antioxidant
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ จูมวงษ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
60 ไม่ระบุ
2 รศ.ดร.ปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด :
ผู้วิจัยร่วม
40 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
288,600.00
   รวมจำนวนเงิน : 288,600.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023