การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปสู่การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ ของจังหวัดเชียงใหม่

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-61-061
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปสู่การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ ของจังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ :

การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปสู่การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยว เชิงเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อแนวทางการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปสู่การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อวิเคราะห์แนวทาง การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปสู่การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดเชียงใหม่ และ เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปสู่การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดเชียงใหม่

ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปสู่การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 1) การเสนอขายข้อมูล (Data) เป็นการนำเสนอข้อมูลของสินค้า เรื่องราวความเป็นมาไปสู่จุดเริ่มต้นแหล่งที่มา 2) การออกแบบสินค้า (Design) เป็นการดึงจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของสินค้า 3) การสร้างความแตกต่าง (Difference) และมีความแตกต่างไปจากสินค้าที่อยู่ในประเภทเดียวกัน ความแตกต่างทางด้านรสชาติ สีของผลิตภัณฑ์ เนื้อสัมผัส ตลอดจนกรรมวิธีการผลิตและการพัฒนาปรับปรุง รูปร่างของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ให้มีความทันสมัย ดูแปลกตา สร้างดึงดูดใจแก่ผู้บริโภค รวมทั้งการกำหนดราคาให้เหมาะสมกับสินค้า และมีความหลากหลาย 4) การบริการที่รวดเร็ว ( Delivery) การบริการที่มีความรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันการคมนาคมมีความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้การบริการขนส่งสินค้ามีทางเลือกมากขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้จำหน่ายและผู้บริโภค ความสะดวกรวดเร็วนี้จะเป็นผลต่อการความรู้สึก ความประทับใจของผู้บริโภคต่อแบรนด์สินค้าต่อไป และ 5) เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital) เป็นทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านต่างๆ เช่น การสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน เช่น การประชาสัมพันธ์สินค้า การเสนอข้อมูลสินค้าไปสู่การท่องเที่ยว การสร้างฐานข้อมูลผู้บริโภคต่อสินค้า และการสร้างความสัมพันธ์ต่อลูกค้าผู้บริโภค

คำสำคัญ : สินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูป , ท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ , ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Development of Processed Organic Agricultural Products to Create the Organic Agricultural Tourism Model of Chiang Mai Province
Abstract :

The study and research on development of processed organic agricultural products to create the organic agricultural tourism model of Chiang Mai Province has the objective to study the factors that are related to the purchase of processed organic agricultural products of consumers that affect the development guidelines of processed organic products to create a model of organic agricultural tourism of Chiang Mai Province, to analyze the guidelines for the development of processed organic agricultural products to create a model of organic agricultural tourism of Chiang Mai and to propose a model for the development of organic agricultural products to create a model of organic agricultural tourism of Chiang Mai.

The results of the study found that the model of the development of processed organic agricultural products to the creation of the organic agricultural tourism model of Chiang Mai in terms of products, prices, sales channels and marketing promotion, consisting of 1) data sale is presenting product information and stories and origins to the beginning and sources. 2) product design is drawing unique features of the products. 3) difference creation is different from the products in the same category, differences of tastes and colors of the products, textures, as well as the production process and development of improvement of product shapes and packaging to be modern and different, to create consumer appeal, including to set the prices that was suitable for the products and to have variety. 4) Fast delivery: for the fast delivery, the transportation is currently more convenient and comfortable, resulting in more choices of delivery service that will benefit both the sellers and the consumers. This quick and easy will affect the feelings and impressions of consumers to the product brands further. 5) Digital technology is the skill in bringing tools, devices and digital technology that are currently available such as computers, phones, tablets, computer programs and online media to be used to maximize benefits in various fields such as communication, operation and collaboration, for example, product publicity, product information presentation to tourism, creation of consumer database toward the products and building relationships with customers and consumers.

Keyword : processed organic agricultural products, organic agricultural tourism, marketing mix factors
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร.จิระชัย ยมเกิด
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยนานาชาติ
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่่นดินแม่โจ้
246,700.00
   รวมจำนวนเงิน : 246,700.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023