สังเคราะห์และหาลักษณะเฉพาะโดยวิธีไฮโดรเทอร์มอลของโครงสร้างนาโนไฮบริดซ์คาร์บอนนาโนทิวป์ผนังหลายชั้น/คอปเปอร์ออกไซด์สำหรับตรวจจับสารอินทรีย์ระเหยง่าย

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-61-044
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : สังเคราะห์และหาลักษณะเฉพาะโดยวิธีไฮโดรเทอร์มอลของโครงสร้างนาโนไฮบริดซ์คาร์บอนนาโนทิวป์ผนังหลายชั้น/คอปเปอร์ออกไซด์สำหรับตรวจจับสารอินทรีย์ระเหยง่าย
บทคัดย่อ :

การสังเคราะห์ผงคอปเปอร์ออกไซด์ โดยวิธีไฮโดรเทอร์มอล สารตั้งต้นที่ใช้คือ คอปเปอร์

ไนเทรต และโซเดียมไฮดรอกไซด์ สารละลายผสมสุดท้ายมีค่าความเป็นกรด-เบส เท่ากับ 7 ที่

อุณหภูมิ 100-200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2-6 ชั่วโมง และอบที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็น

เวลา 24 ชั่วโมง ศึกษาการเปลี่ยนแปลงวัฏภาค ด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ดิฟแฟรคโตมิเตอร์ (XRD) พบว่า

เกิดโครงสร้างเดี่ยวแบบโมโนคลีนิก โดยไม่ผ่านขั้นตอนการเผาแคลไซน์ ตรวจสอบลักษณะทาง

สัณฐานวิทยา ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน (SEM) พบว่า ขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 50

นาโนเมตร ถึง 1.0 ไมโครเมตร และมีรูปร่างเป็นแบบเมล็ดข้าว ศึกษาธาตุที่เป็นองค์ประกอบทาง

เคมี ด้วยเครื่องวัดการกระจายพลังงานทางสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ (EDXS) พบว่า ธาตุที่เป็น

องค์ประกอบแสดงระดับพลังงานของธาตุคอปเปอร์ L? เท่ากับ 0.93 และ 0.95 กิโลอิเล็กตรอน

โวลต์ และธาตุออกซิเจน K? = 0.523 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ทำการศึกษาสเปกตรัม เพื่อตรวจสอบ

หมู่ฟังก์ชัน ด้วยเครื่องฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรด สเปกโทรมิเตอร์ (FTIR) พบว่า เกิดการสั่น

ของพันธะคอปเปอร์-ออกซิเจน (Cu-O) ในช่วงคลื่น 491-615 ต่อเซนติเมตร

ผลการศึกษาอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการทำงาน อนุภาคคอปเปอร์ออกไซด์ที่ 200 องศา

เซลเซียส มีค่าการตอบสนองต่อไอระเหยเอทานอลสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส ปริมาณการผสมท่อ

นาโนคาร์บอนผนังหลายชั้น (MWCNT) ที่อัตราส่วนผสม 0.25%, 0.50% และ 0.75% โดยน้ำหนักพบว่า มีค่าการตอบสนองต่อไอระเหยเอทานอลสูงกว่าคอปเปอร์ออกไซด์บริสุทธ์ิ และที่อัตราส่วน

F-0.50%MWCNT มีค่าการตอบสนองต่อแก๊สเอทานอลสูงสุดเท่ากับ 3.57 ที่ความเข้มข้น 1,000 พีพี

เอ็ม ณ อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส ศึกษาสมบัติของการเป็นตัวตรวจจับแก๊สของฟิล์มเซ็นเซอร์

โดยทดสอบกับไอระเหยเอทานอล ความเข้มข้น 15 พีพีเอ็ม ถึง 1000 พีพีเอ็ม ศึกษาเวลาที่ใช้การ

ตอบสนองและเวลาในการกลับคืนสู่สภาวะเดิมของฟิล์มเซ็นเซอร์ ขณะตรวจจับไอระเหยเอทานอล

ความเข้มข้น 1,000 พีพีเอ็ม ณ อุณหภูมิทำการทดสอบ 350 องศาเซลเซียส การผสม MWCNT ทำให้

การตอบสนองต่อไอระเหยเอทานอลได้เร็วขึ้น ศึกษาความจำเพาะเจาะจง ของฟิ ล์มเซ็นเซอร์ต่อไอ

ระเหยเอทานอล ในสภาวะบรรยากาศเดี่ยวกันภายในระบบ พบว่า ที่ความเข้มข้น 1,000 พีพีเอ็ม

ของไอระเหยเอทานอล ฟิล์มเซ็นเซอร์ F-0.50%MWCNT มีค่าการตอบสนองที่ดีเมื่อเทียบกับแก๊ส

อื่นๆ ที่ความเข้มข้นสูงสุด

คำสำคัญ : คอปเปอร์ออกไซด์ ไฮโดรเทอร์มอล เซนเซอร์ คาร์บอนนาโนทิวป์ ผนังหลายชั้น
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Hydrothermal synthesis and characterization of MWCNT/CuO hybrid nanostructure for organic volatile sensing
Abstract :

Copper oxide (CuO) powder was synthesized by hydrothermal method. Copper nitrate

and sodium hydroxide were used as the starting precursors. The final pH value of mixed solution

was 7 and treated at 100-200 ?C for 2-6h in a hydrothermal vessel. The fine black powder was

obtained after dried at 100 ?C for 24h. The structure was identified by X-ray diffraction (XRD). A

single phase of monoclinic structure was obtained without calcination steps. The morphology was

investigated by scanning electron microscopy (SEM). The particle was rice-liked in shape and

with the range particle of 50 nm – 1.0 ?m. The element composition was determined by energy

dispersive X-ray spectrometry (EDXS). The chemical composition showed the characteristic Xray

energy of copper (L? = 0.93 and 0.95 keV) and oxygen (K? = 0.525 keV). The functional

group was characterized by fourier transform infrared spectrometry (FTIR). The wavenumber at

490-615 cm-1 was corresponded to the vibration Cu-O bending.

The optimum of temperature for working was studied. CuO powder synthesized by

hydrothermal method at 200 ?C was responsibility with ethanol vapor more than CuO synthesized

by hydrothermal method at 100 ?C. The amount of multi-walls carbon nano tube (MWCNT) was

mixed at the ratio 0.25%, 0.50% and 0.75% by weight. The responsibility of F-0.50%MWCNT

was the highest for the value of 3.57 with 1,000 ppm at 350 ?C. The properties of sensor werevapor detector of the sensor film at 15 ppm and 350 ?C with the range of ethanol vapor of 15-

1000 ppm. The respond time and relax time of sensor film were studied during detect ethanol

vapor 1,000 ppm at 350 ?C. MWCNT was increased the response time with ethanol vapor. The

selectivity of sensor film with ethanol vapor was studied. The best F-0.50%MWCNT was

responded the 1,000 ppm of ethanol vapor more than the other gases

Keyword : Copper oxide, hydrothermal method, sensor, MWCNT
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูสิต ปุกมณี
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
60 ไม่ระบุ
2 รองศาสตราจารย์ ดร.วิรันธชา เครือฟู
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
40 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
287,600.00
   รวมจำนวนเงิน : 287,600.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023