การประดิษฐ์วัสดุฐานรองสำหรับการปลูกกล้วยไม้สกุลหวายด้วยเพอร์ไลท์และดินเอิร์ทเทนแวร์

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-61-036
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การประดิษฐ์วัสดุฐานรองสำหรับการปลูกกล้วยไม้สกุลหวายด้วยเพอร์ไลท์และดินเอิร์ทเทนแวร์
บทคัดย่อ :

ในงานวิจัยนี้ได้ทำการประดิษฐ์วัสดุฐานรองสำหรับการปลูกกล้วยไม้สกุลหวายด้วยดิน

เอิร์ทเทนแวร์และเพอร์ไลต์ ซึ่งมีการทดลองอยู่ 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกนั้นเป็นการเตรียมผงผสม

โดยเริ่มจากการบดดินเอิร์ทเทนแวร์และการเผาเพอร์ไลต์เพื่อหาอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเตรียม

เพอร์ไลต์ขยายตัว ผสมวัตถุดิบในอัตราส่วน 90:10, 80:20, 70:30, 60:40, 50:50 และ 40:60 โดย

น้ำหนัก จากนั้นเป็นขั้นตอนการขึ้นรูปวัสดุฐานรอง เมื่อได้อัตราส่วนผสมแล้วนำไปผสมน้ำและขึ้น

รูปด้วยการหล่อในแม่พิมพ์ซิลิโคนทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 มิลลิเมตร นำไปเผาซิน

เตอร์ที่อุณหภูมิ 900-1100 ๐ซ ทดสอบการเกิดเฟส ร้อยละการดูดซึมน้ำ ความหนาแน่น และ

โครงสร้างจุลภาค ด้วยเครื่อง XRD การแทนที่ด้วยน้ำของอาคีร์มีดีส และกล้องจุลทรรศน์

อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ตามลำดับ ในขั้นตอนสุดท้ายนำวัสดุฐานรองไปทดลองปลูกกล้วยไม้

สกุลหวายนาน 3 เดือน เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตเทียบกับวัสดุฐานรอง 2 ชนิด คือ กาบมะพร้าวสับ

และมอสจีน พบว่ากล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดีในมอสจีน ดินเอิร์ทเทนแวร์และเพอร์ไลต์ขยายตัว และ

กาบมะพร้าวสับ ตามลำดับ โดยอัตราส่วนระหว่างดินเอิร์ทเทนแวร์และเพอร์ไลต์ขยายตัวคือ 60:40

ซึ่งให้ค่าร้อยละการดูดซึมน้ำที่ดีที่สุด

คำสำคัญ : เพอร์ไลท์ ดินเอิร์ทเทนแวร์ วัสดุฐานรอง กล้วยไม้สกุลหวาย
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Fabrication of substrate for Dendrobium from perlite and earthenware clay
Abstract :

In this research, substrate for Dendrobium from earthenware clay and perlite was

fabricated. First, earthenware clay and perlite mixtures were prepared by clay milling and

calcinating perlite powders to become expanded perlite. After that earthenware clay and perlite

powders were mixed in the composition of 9 0 :10, 80:20, 70:30, 60:40, 50:50 and 4 0 :6 0 by

weight. Second part, raw materials and water were mixed together and shaped by slip casting in

silicone mode with the dimension of 14 mm. Then the green samples were sintered at different

temperature in the range of 900-1100 oC. Phase formation, water absorption, bulk density and

microstructure were determined by XRD, Archimedes’ s method and SEM, respectively. After

that Dendrobium growth was studied in earthenware clay and expanded perlite compared with

chopped coconut and China moss for 3 months. The results showed that Dendrobium growth

areas revealed the best performance in China moss plant material, earthenware clay and expanded

perlite and chopped coconut plant material, respectively. The suitable composition between

earthenware clay and expanded perlite of 60: 40 exhibited the highest percentage of water

absorption.

Keyword : perlite, earthenware clay, substrate, Dendrobium
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี วงศ์มณีรุ่ง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
287,600.00
   รวมจำนวนเงิน : 287,600.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023