ประสิทธิผลการผลิตข้าวเพื่อสุขภาพเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์อื่นในเขตภาคเหนือตอนบน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-61-032
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ประสิทธิผลการผลิตข้าวเพื่อสุขภาพเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์อื่นในเขตภาคเหนือตอนบน
บทคัดย่อ :

บทคัดย่อ

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อทราบประสิทธิภาพในการผลิตข้าวเพื่อสุขภาพและข้าวพันธุ์อื่นที่นิยมปลูกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และ 2) เพื่อทราบต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตข้าวเพื่อสุขภาพเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์อื่นที่นิยมปลูกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยใช้แบบจำลอง Meta-frontier ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตลำไย และใช้แบบจำลอง Tobit ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร อีกทั้งยังใช้การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนเพื่อหาความคุ้มค่าในการผลิตด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น มีรถไถและเครื่องสูบน้ำเป็นทรัพย์สินหลักทางการเกษตร มีพื้นที่เพาะปลูกเป็นของตนเองแต่ใช้น้ำฝนและน้ำชลประทานเพื่อการเพาะปลูก สำหรับข้อมูลตัวแปรในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั่วไปสูงกว่าข้าวเพื่อสุขภาพ และเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั่วไปมีประสิทธิภาพการผลิตสูงกว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพื่อสุขภาพ (0.9439 > 0.8604) แต่การปลูกข้าวทั่วไปควรปรับลดปัจจัยมากกว่าการปลูกข้าวเพื่อสุขภาพ ขณะที่ผลไต้ต่อขนาด (Economy of Scale) ในภาพรวมอยู่ในระยะผลได้ต่อขนาดที่เพิ่มขึ้น แต่สำหรับผลได้ต่อขนาดของแต่ละกลุ่มอยู่ในช่วงผลได้ต่อขนาดที่คงที่

สำหรับต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั่วไปต่ำกว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพื่อสุขภาพในทุกระดับประสิทธิภาพโดยผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยสูงสุดเป็นของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพื่อสุขภาพที่มีประสิทธิภาพระดับมาก ซึ่งเท่ากับ 4,296.92 บาทต่อไร่ แต่เมื่อมีการปรับลดปัจจัยการผลิตส่วนเกินตามแนวทางของการวิเคราะห์ประสิทธิภาพทำให้ผลตอบแทนสุทธิสูงขึ้น โดยเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพื่อสุขภาพที่มีประสิทธิภาพระดับมากที่สุด ซึ่งเท่ากับ 7,170.76 บาทต่อไร่ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิต ได้แก่ ประสบการณ์ในการทำนา ขนาดที่ดินเพาะปลูก จำนวนแรงงาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และประเภทพันธุ์ข้าวที่เลือกปลูก มีนัยสำคัญทางสถิติที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ดังนั้นเกษตรกรควรเน้นการผลิตนาแปลงใหญ่เพื่อรวมกันซื้อรวมกันขายเพราะจะช่วยให้เกิดอำนาจในการต่อรองมากขึ้น

คำสำคัญ : 1) ประสิทธิผล 2) การผลิต 3) ข้าวเพื่อสุขภาพ 4) เกษตรอินทรีย์ 5) ต้นทุนและผลตอบแทน
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Effectiveness of Healthy Rice Production Comparing with Other Rice in Upper Northern of Thailand
Abstract :

The objective of this study was to 1) to study the efficiency of rice production for health and other rice varieties grown in the Northern region and 2) to compare the cost and the return of healthy rice product. Another popular growing area in the Upper North. Using the model Meta-frontier to analyze the longan production efficiency. The Tobit model was used to analyze factors affecting farmers' productivity. It also uses cost and return analysis to find the value for money. The study found that. Most of the farmers are educated in elementary and junior high school. Plows and pumps are the main agricultural property. It has its own farmland, but uses rainwater and irrigation water for cultivation. For data analysis, the efficiency of rice growers was higher than that of healthy rice. The average rice yield was significantly higher than that of the healthy rice farmers (0.9439> 0.8604). The Economy of Scale in the overall picture of the effect on the size of the increase. But for the effect on the size of each group is in the range of the effect on the fixed size.

The average net return of rice farmers was lower than that of healthy rice farmers at all levels of efficiency. The highest average return was obtained from rice farmers with high efficiency at 4,296.92 Baht per Rai. When the excess factor is adjusted in accordance with the performance analysis, the net return is higher. The most effective rice growers were farmers at the level of 7,170.76 Baht / Rai. The number of laborers was statistically

Keyword : : 1) Effectiveness 2) Production 3) Healthy Rice 4) Organic Agriculture 5) Cost and Benefit
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ เชื้อเมืองพาน
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
50 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนตรี สิงหะวาระ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
30 ไม่ระบุ
3 นายอัศวิน เผ่าอานวยวิทย์
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
246,500.00
   รวมจำนวนเงิน : 246,500.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023