การทดสอบสูตรธาตุอาหารพืชและการจัดการที่เหมาะต่อการปลูกผักผลและไม้ผลขนาดเล็กอินทรีย์ในระบบเคลื่อนย้ายได้

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-60-026/61-029
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การทดสอบสูตรธาตุอาหารพืชและการจัดการที่เหมาะต่อการปลูกผักผลและไม้ผลขนาดเล็กอินทรีย์ในระบบเคลื่อนย้ายได้
บทคัดย่อ :

การศึกษาสูตรปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสตรอเบอรี่ และมะเขือเทศ โดยทดสอบปลูกในระบบวัสดุปลูกอินทรีย์ ประกอบด้วย ขุยมะพร้าว+มะพร้าวสับ+ดิน+มูลวัว+กากเห็ด อัตราส่วน 3:3:1:1:1 ในกระถางพลาสติก ณ โรงเรือนปลูกผักสมาร์ทออร์แกนิคฟาร์มมิ่ง สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 - 15 กุมภาพันธ์ 2560 โดยวางแผนการทดลองกับสารละลายธาตุอาหารพืชอินทรีย์ 4 สูตร เปรียบเทียบกับ ปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์ และน้ำเปล่าเป็นตัวควบคุม ให้ปุ๋ยวันละ 200 มิลลิลิตรต่อต้น ใน 3 ระดับความเข้มข้นตามช่วงเวลาการเจริญเติบโต คือ EC เท่ากับ 1.5 mS/cm ช่วงเจริญลำต้นและใบ EC เท่ากับ 2.0 mS/cm ช่วงเริ่มให้ดอก และ EC เท่ากับ 2.5 mS/cm ช่วงให้ผลผลิต ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นการทดลอง พบว่า สูตรสารละลายธาตุอาหารพืชอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการปลูกสตรอเบอรี คือ น้ำหมักปลา ส่วนการปลูกมะเขือเทศสูตรที่เหมาะสม คือ น้ำหมักปลาร่วมกับน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน รายละเอียดผลดังต่อไปนี้

การเจริญเติบโตด้านลำต้นและผลผลิตของสตรอเบอรี่นั้นตำรับทดลองที่ 5 น้ำหมักปลา มีศักยภาพส่งเสริมการผลิตสตรอเบอรี่อินทรีย์ในระบบนี้ได้สูงกว่าตำรับทดลองอื่นๆ โดยมีน้ำหนักผลเท่ากับ 7.34 กรัม ความแน่นเนื้อเท่ากับ 0.34 กิโลกรัม (kgf) และความหวานเท่ากับ 11.76 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ ซึ่งในส่วนของตำรับทดลองที่ 1 ไฮโดรโพนิคส์ มีน้ำหนักผลเท่ากับ 1.50 กรัม ความแน่นเนื้อเท่ากับ 0.09 กิโลกรัม (kgf) และความหวานเท่ากับ 3.07 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ ทั้งนี้ลักษณะประจำพันธุ์ของสตรอเบอรี่พันธุ์พระราชทาน 80 ที่ผลิตในแปลงดินปกติ จะมีความหวาน 12.85 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ ความแน่นเนื้อ 1.21 กิโลกรัม น้ำหนักผล 12-15 กรัมต่อผล จากการทดลองนี้น้ำหนักผล และความแน่นเนื้อ พบว่า มีค่าต่ำกว่าที่ปลูกในดินปกติคิดเป็นร้อยละ 46 แต่มีคุณภาพด้านความหวานที่ใกล้เคียงกันโดยมีความหวานต่ำกว่าร้อยละ 5

ในส่วนของการปลูกมะเขือเทศ พบว่า ตำรับทดลองที่ 1 ปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์ จะส่งเสริมการเจริญเติบโตมะเขือเทศได้ดีกว่าสูตรสารละลายธาตุอาหารพืชอินทรีย์แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตำรับทดลองที่ 1 ปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์ ให้น้ำหนักผลสูงสุด เท่ากับ 8.39 กรัม และตำรับทดลองสารละลายธาตุอาหารพืชอินทรีย์ให้น้ำหนักผลอยู่ระหว่าง 3.79-5.46 กรัมต่อผล โดยตำรับทดลอง 3 น้ำหมักปลาผสมน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ได้น้ำหนักผลสูงสุดในระหว่างสารละลายธาตุอาหารพืชอินทรีย์ เท่ากับ 5.46 กรัมต่อผล และตำรับทดลอง 6 น้ำเปล่า เท่ากับ 3.63 กรัมต่อผล แต่ในส่วนของความแน่นเนื้อ และความหวานของผลมะเขือเทศ พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติในแต่ละตำรับทดลอง มีค่าระหว่าง 0.90-0.96 กิโลกรัม (kgf) และ 4.60-5.02 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ ตามลำดับ

คำสำคัญ : สารละลายธาตุอาหารพืชอินทรีย์ , วัสดุปลูก , สตรอเบอรี่ , มะเขือเทศ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Testing on Plant Nutrition Formulations and Appropriate Managements for Fruit Vegetables and Small Fruit Trees in Organic Production on Mobile Systems
Abstract :

The study on testing of appropriate organic nutrient solution suitable for strawberry and tomato production in organic substrate with mobile system by using 3: 3: 1: 1: 1 ratio of Coconut husk, coconut chop, Soil, cow manure and mushroom residue adding in plastic pots and tested under greenhouse condition for 120 days. The Organic nutrient solutions, Hydroponic nutrient solutions and water (control) were fertilizer 200 ml/plant/day. By the testing it using fertilizer 3 concentrate levels there were; EC 1.5 mS/cm at foliar growth stage, EC 2.0 mS/cm at flowering stage and EC 2.5 mS/cm at productivity stage. The testing was conducted during November 11, 2015 - February 15, 2016 at the Smart Organic Farming, Maejo University Farm, Chiangmai province, Thailand. The results showed that the testing of organic nutrient solution suitable for growing strawberries was fermented fish and suitable for growing tomato was fermented fish with Liquid Vermicompost the results were as follows;

The experiment that growing strawberry was found that treatment 5 fish fermented had the highest potential to promote the growth and yield (p?0.05) by weight was 7.34 g/fruit, a firmness was 0.34 kgf and a sweetness was 11.76 % brix which compared with a treatment 1 hydroponics nutrient solution had a weight 1.50 g/fruit, a firmness was 0.09 kgf and a sweetness was 3.07 percent Brix. In addition when compared with a strawberry that grown in conventional plots the firmness and sweetness of this study were lower than at 46% and 5% respectively.A strawberry Pharatchatan 80 varieties compared to conventional plot Production of Respectively showed weight 12-15 g/fruit, a sweetness to 12.85 %brix and a firmness to 1.21 kgf.

For the tomato growing it was found that experiment 1 hydroponic nutrient solution had the highest potential to promote the growth and yield of tomato (p?0.05) by weight was 7.34 g/fruit, a firmness was 0.34 kgf and a sweetness was 11.76 % brix when compared with the organic nutrient solution treatments were 3.79-5.46 g/fruit which is treatments 3 fermented fish with liquid vermicompost had a maximum weight 5.46 g/fruit. In the sweetness and firmness of the tomato there were no significantly differences it were analyzed between 0.90-0.96 kgf and 4.60-5.02 %brix respectively.

Keyword : Organic Nutrient solutions, Organic Substrate, Strawberry, Tomato
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
50 ไม่ระบุ
2 นางสาวสุนิษา นนทธิ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด :
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
287,600.00
   รวมจำนวนเงิน : 287,600.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023