การหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพด้านโปรตีนของลำไยพันธุ์ดอในขบวนขยายพันธุ์โดยการต่อกิ่ง

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-61-131
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพด้านโปรตีนของลำไยพันธุ์ดอในขบวนขยายพันธุ์โดยการต่อกิ่ง
บทคัดย่อ :

เทคนิคการสกัดโปรตีนในลำต้นลำไย (Dimocarpus longan Lour. cv. Daw) ได้ถูกนำมาใช้ใน

การวิเคราะห์แบบแผนโปรตีนเพื่อใช้ในการศึกษาการแสดงออกของโปรตีนโดยใช้กระบวนการ

วิเคราะห์ทางด้านโปรตีโอมิกส์ ที่สวนฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้วยเทคนิคอิเลคโทรโฟรีซีสโดยการ

แยกโปรตีนใน 1 มิติ (1-D gel) ในสภาวะ รีดิวซ์และนอนรีดิวซ์ ตามด้วย LC-MS กับสารสกัดโปรตีนที่

แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ วิธี M1 และ M2 จากการทดลองพบว่าไม่ปรากฏการแสดงออกของโปรตีน

สำหรับวิธี M3 ผลปรากฏมีการแสดงออกของโปรตีน 2 ชนิด ได้แก่ unknown protein 3 (11.58 KDa)

และ 4-coumarate-CoA ligase-like 9 (61.35 KDa) ตามลำดับ การสกัดโปรตีนวิธี M3 เป็นวิธีการที่

เหมาะสมเนื่องจากมีจำนวนแถบโปรตีนมากที่สุดและมีความชัดเจนในการแสดงออกของโปรตีนในลำ

ต้นลำไย ส่วนการวิเคราะห์ทางด้านโปรติโอมิกส์แบบ 2D-gel ของลำต้นลำไยที่ได้จากการสกัดโปรตีน

ด้วยวิธี M3 ผลปรากฏมีการแสดงออกของโปรตีนถึง 13 ชนิด ซึ่งเป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับเมตาบอลิ

ซึมต่าง ๆ

การวิเคราะห์ทางด้านโปรติโอมิกส์ในลำต้น ได้ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์แบบแผนโปรตีน

เพื่อใช้ในการศึกษาการแสดงออกของโปรตีน โดยเปรียบเทียบระยะการเจริญเติบโตหลังการต่อกิ่งระหว่างลำไยพันธุ์ดอ (Dimocarpus longan Lour. cv. Daw) ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว (Dimocarpus longan

Lour. cv. Biew kiew) ลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิ (Litchi chinensis cv. Chakrapad) และลิ้นจี่พันธุ์กะโหลก

(Litchi chinensis cv. Kaloke) เป็นระยะเวลา 0, 10, 20, 30 และ 40 วัน ตามลำดับ ด้วยเทคนิคอิเลค

โทรโฟรีซีสโดยการแยกโปรตีนใน 1 มิติ (1-D gel) ในสภาวะนอนรีดิวซ์ ตามด้วย LC-MS ผลปรากฏมี

การแสดงออกของโปรตีน 2 ชนิด ได้แก่ unknown protein 3 (11.58 KDa) และ 4-coumarate-CoA

ligase-like 9 (61.35 KDa) ในช่วงเริ่มต้นจนถึงวันที่ 10 หลังการต่อกิ่งและหลังจากนั้นโปรตีนเหล่านี้ได้

หายไปจนกระทั่งเกิดการสร้าง callus เฉพาะที่เงื่อนไขต้นตอลำไยพันธุ์ดอเดียวกันกับกิ่งพันธุ์ลำไยเบี้ยว

เขียว ส่วนการวิเคราะห์ทางด้านโปรติโอมิกส์แบบ 2D-gel ของต้นตอลำไยพันธุ์ดอกับยอดลำไยพันธุ์

เบี้ยวเขี้ยว, ต้นตอลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิกับยอดลิ้นจี่กระโหลก และ ต้นตอลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิกับยอด

ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว ใน 40 วันหลังการต่อกิ่ง ผลปรากฏมีการแสดงออกของโปรตีน 9 ชนิด ที่อาจเป็น

โปรตีนบ่งชี้ในการประสบผลสำเร็จในการต่อกิ่ง โปรตีนเหล่านี้เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางชีวเคมีต่าง

ๆ ได้แก่ โปรตีนที่เกี่ยวข้องในการสร้างพลังงาน (Putative cytochrome c oxidase subunit II PS17 และ

CBS domain-containing protein CBSX3, mitochondrial) โปรตีนในกระบวนการป้องกันของพืช

(F-box/LRR-repeat protein At5g35995 และ Putative defensin-like protein 190 defensin) โปรตีนใน

กระบวนการกำจัดของเสียในเซลล์พืช (Chaperone protein ClpD, chloroplastic) โปรตีนใน

กระบวนการส่งสัญญาณควบคุมเซลล์ (Putative FBD-associated F-box protein At5g38570) โปรตีนใช้

ในการเคลื่อนที่ (Myosin-binding protein3) และ โปรตีนในกระบวนการสังเคราะห์น้ำตาล

(Bidirectional sugar transporter SWEET8 และ Oxygen-evolving enhancer protein 1-1, chloroplastic)

โปรตีนเหล่านี้อาจเป็นโปรตีนที่สำคัญสำหรับการพัฒนาลำต้นลำไย อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาด้าน

โปรตีโอมิกส์โดยใช้เทคนิคที่สูงขึ้นในขั้นตอนต่อไป

คำสำคัญ : โปรตีน ตัวบ่งชี้ ลำไย การต่อกิ่ง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Evaluation on protein markers of longan fruits var. 'Daw' for propagation by grafting
Abstract :

Protein extraction techniques on longan stem (Dimocarpus longan Lour. cv. Daw) had been

used for analysis of protein patterns to study protein expression in proteomic analysis by Maejo

University farm using one dimensional electrophoresis (1-D gel) in reducing and non-reducing.

Liquid chromatography - mass spectrometry (LC-MS) technique was done after three different

extraction methods. M1, M2 and M3 were finished. The first and second protein extraction, M1 and

M2, had no protein expression. The third, M3 presented 2 proteins in expression which were

unknown protein 3 (11.58 KDa) and 4-coumarate-CoA ligase-like 9 (61.35 KDa). M3 was a suitable

method because of the highest protein bands and obvious protein expression on longan stem were

found. Proteomic analysis with two-dimensional gel electrophoresis (2D-gel) of longan stem from

M3 protein extraction represented 13 proteins on expression in various biochemical processes.

Proteomic analysis on stem had been used in analysis of protein patterns to study protein

expression by comparison with growth stages after grafting (10, 20, 30, and 40 days, respectively)

between Dimocarpus longan Lour. cv. Daw, Dimocarpus longan Lour. cv. Biew kiew, Litchi

chinensis cv. Chakrapad and Litchi chinensis cv. Kaloke using 1-D gel in non-reducing with mass

spectrometry (LC-MS) technique. The result represented that 2 proteins on expression were unknown

protein 3 (11.58 KDa) and 4-coumarate-CoA ligase-like 9 (61.35 KDa) at the initial stage to 10 days

after grafting and after that these protein were disappeared until callus induction only at the condition

of the Daw’s longan rootstock with Biew kiew’s longan scion. Proteomic analysis with twodimensional

gel electrophoresis (2D-gel) of Dimocarpus longa Lour. cv. Daw (stock) with

Dimocarpus longan Lour. cv. Biew kiew (scion), Litchi chinensis cv. Chakrapad (stock) with Litchi

chinensis cv. Kaloke (scion) and Litchi chinensis cv. Chakrapad (stock) with Dimocarpus longan

Lour. cv. Biew kiew (scion) in 40 days after grafting represented 9 proteins on expression as

biomarkers in grafting. These proteins were related to the various biochemical processes. The results

showed that proteins involved on energy generation (Putative cytochrome c oxidase subunit II PS17and CBS domain-containing protein CBSX3, mitochondrial), plant protection (The F-box/LRR-repeat

protein At5g35995 and Putative defensin-like protein 190 defensin), waste elimination in plant cells

(The Chaperone protein ClpD, chloroplastic), intracellular signaling in stem (The Putative FBDassociated

F-box protein At5g38570), plant-specific transport vesicle compartment (The Myosinbinding

protein 3) and sugar synthesis (The Bidirectional sugar transporter SWEET8 and Oxygenevolving

enhancer protein 1-1, chloroplastic). These proteins could be used for the development of

longan stem. However, advanced technique will be used for proteomics analysis in further.

Keyword : Protein, Biomarker, Longan, Grafting
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ ดร.เอกวิทย์ ตรีเนตร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
40 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินัย วิริยะอลงกรณ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
30 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา แกล้วกล้า
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
30 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
287,600.00
   รวมจำนวนเงิน : 287,600.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023