การกระตุ้นการสร้างพฤกษเคมีในต้นกล้าข้าวเหนียวสันป่าตองโดยใช้สารละลายโปรลีน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-61-124
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การกระตุ้นการสร้างพฤกษเคมีในต้นกล้าข้าวเหนียวสันป่าตองโดยใช้สารละลายโปรลีน
บทคัดย่อ :

กระตุ้นการสร้างพฤกษเคมีในต้นอ่อนข้าวเหนียวสันป่ าตองด้วยสารละลายโปรลีนเข้มข้น 20 40 50

80 และ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร วัดปริมาณฟีนอลิครวมและทดสอบความสามารถในการต้านออกซิเดชันด้วย

วิธี DPPH ABTS HRSA และ FRAP ในต้นอ่อนอายุ 7 9 12 และ 15 วัน พบว่า สารละลายโปรลีนเข้มข้น 100

มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถกระตุ้นให้ต้นอ่อนข้าวเหนียวสันป่าตองอายุ 12 วัน สร้างสารประกอบในกลุ่ม

ฟี นอลิครวมสูงสุด 19.18 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักสด ความสามารถในการต้านออกซิเดชันพบว่า

สารละลายโปรลีนเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อลิตร กระตุ้นให้ต้นอ่อนข้าวเหนียวสันป่าตองอายุ 7 วัน มี

ความสามารถในการต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH สู งสุดร้อยละของการยับยั้งอนุมูลอิสระ 8.48

ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี HRSA สูงสุด 13.55 มิลลิกรัม trolox ต่อกรัม น้ำหนักสด ในต้น

อ่อนอายุ 12 วัน สำหรับความสามารถในการต้านอนุมูล ABTS สูงสุดที่ 129.67 มิลลิกรัม trolox ต่อกรัม

น้ำหนักสด พบในต้นอ่อนที่งอกจากเมล็ดที่ได้รับการกระตุ้นจากสารละลายโปรลีนเข้มข้น 80 มิลลิกรัมต่อ

ลิตร ในต้นอ่อนอายุ 15 วัน สำหรับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP มีค่าไม่แตกต่างกัน

ในทุกชุดการทดลอง ปริมาณคลอโรฟิ ลล์ทั้งหมดพบว่าต้นอ่อนที่เพาะจากเมล็ดที่ผ่านการแช่ด้วยโปรลีนที่มี

ความเข้มข้น 60 มิลลิกรัมต่อลิตร อายุ 12 วัน มีปริมาณคลอโรฟิ ลล์สูงสุด 25.74 ไมโครกรัมต่อกรัมน้ำหนัก

สด เมื่อนำต้นอ่อนอบแห้งมาบดเมื่อผงละแยดเรียกว่า ผงใบข้าวหอมแล้วนำไปเก็บรักษาเป็นเวลา 6 เดือน

พบว่าความสามารถในการต้านออกซิเดชันของผงใบข้าวหอมข้าวเหนียวสันป่ าตองได้ลดลงตามลำดับ

คำสำคัญ :
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Stimulation of Phytochemical Synthesis in San Pa Tong Glutinous Rice Seedling Enhanced by Proline Solution.
Abstract :

Phytochemical synthesis in San Pa Tong glutinous rice seedling was encheanced by 20, 40, 60, 80

and 100 mg/L proline solution. Rice seedling (7, 9, 12 and 15 days old) extraction was subjected to total

phenolic analysis and antioxidation activities were determined by DPPH, ABTS, HRSA and FRAP assays.

The effective proline concentration 100 mg/L solution was indicated by showing the highest total phenolic

content with 19.18 mg/ g FW in 12 days old seedling extraction. In addition, the extracts from 7 days old

seedling and 12 days old seedling treated with100 mg/L proline solution showed the highest of 8.48%

DPPH scavenging and HRSA scavenging with the value of 13.55 mg trolox/ g FW, respectively. The

highest ABTS assay value was found in 15 days old seedling from 80 mg/L proline solution with 129.67

mg trolox/ g FW. There were no significantly different antioxidant capacities on FRAP assays among

seedling treatments. The chlorophyll content was highest in the extract of 12 days old seedling treated

with 60 mg/L proline solution with the value of 25.74 ?g/g FW. The antioxidation activity stability were

conducted by repeat antioxidation assays in the same sampleduring storage for 6 months. The result

showed that all antioxidantion capacity assays was decrease during the period.

Keyword :
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา คงจรูญ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
60 ไม่ระบุ
2 รองศาสตราจารย์ ดร.มงคล ถิรบุญยานนท์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
3 รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา แดงปรก
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
288,600.00
   รวมจำนวนเงิน : 288,600.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023