ศักยภาพแกนนำชุมชนต่อการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดลำพูน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-61-118
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ศักยภาพแกนนำชุมชนต่อการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดลำพูน
บทคัดย่อ :

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงสภาพบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และ

สิ่งแวดล้อม ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับจังหวัดลำพูน 2) ศึกษาศักยภาพของแกนนำที่

มีบทบาทในการขับเคลื่อนให้ชุมชนเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับจังหวัดลำพูน และ

3) ศึกษาถึงแนวทางการเพิ่มศักยภาพบทบาทแกนนำชุมชนในการพัฒนาชุมชนให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจ

พอเพียง ประชากรคือ ผู้นำชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของจังหวัดลำพูน 13 หมู่บ้าน โดย

ดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเฉพาะเจาะจง ชุดที่ 1 จำนวน 150 คน และชุด

ที่ 2 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม สถิติที่

ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ และค่า

สมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดลำพูนเป็นพื้นที่ที่มีทุนทางทรัพยากรทางธรรมชาติและทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์จึงเหมาะแก่การทำอาชีพทางการเกษตรและการ

ประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสมกับสภาพบริบทของพื้นที่ นอกจากนี้ผลการวิจัย

พบว่าปัจจัยด้านศักยภาพของผู้นำชุมชน ได้แก่ ด้านคุณลักษณะ ประกอบด้วย ความมุ่งมั่น และความ

กระตือรือร้น และด้านทักษะ ประกอบด้วย ด้านการวางแผน และด้านความสามารถในการโน้มน้าว

หรือชักชวน ที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อย่างมี

นัยสำคัญยิ่งที่ระดับ .01 ส่วนแนวทางในการเพิ่มศักยภาพบทบาทแกนนำชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนา

ผู้นำชุมชนให้มีความเข้มแข็งและพัฒนาหมู่บ้านของตนเองให้เป็ นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงได้นั้น

ประกอบด้วยการเสริมศักยภาพปัจจัยหลักและปัจจัยเสริมอื่นๆ ได้แก่ ความรู้ด้านวิชาการ ระบบคิด

วิเคราะห์ สร้างปฏิภาณไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การบริหารจัดการข้อมูลเพื่อ

ประกอบการตัดสินใจ การสร้างเครือข่ายกับชุมชนอื่น

คำสำคัญ : ศักยภาพ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : The potential of community leaders on the model of sufficiency economy village development in Lamphun Province
Abstract :

The objectives of this research were to: 1) explore social, economic and

environmental context of the model of sufficiency economy village development in Lamphun

Province; 2) explore community leaders potential of model sufficiency economy village development

in Lamphun Province; 3) present potential development guidelines of community leaders of model

sufficiency economy village. The respondents were community leaders 13 villages. There were two

stages in research procedures; 1) the respondents of set 1 were the purposive sampling of 150 and set

2 were 7. The questionnaires and focus groups were used as a tool for collecting data. The statistics

were used in this research included percentage, mean, standard deviation and correlation coefficient

and regression analysis. The results showed that Lamphun province variety and abundance of nature

resources capitals and culture capitals there were a lot of agricultural land uses and applying

sufficiency economy philosophy in the area. In addition, it was community leaders potential factorssuch as traits factors; driven and enthusiasm, skills factors; planning and persuade strongly relation to

the achievement of the model of sufficiency economy village development. And finally potential

development guidelines of community leaders of model sufficiency economy village for strongly

consist of improve the potential of this research and other factors such as academic knowledge,

thinking system analysis, aptitude for solve immediate problems, information system and networking.

Keyword : Leader, Potential, sufficiency economy philosophy
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาสังคมวิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ ดร.รัชชานนท์ สมบูรณ์ชัย
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
60 ไม่ระบุ
2 นายประดิษฐ์ เวียงคำ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์ / สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ / งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
4 รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
5 อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ปรมินทร์ นาระทะ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
82,200.00
   รวมจำนวนเงิน : 82,200.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023