การจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของโรงแรมสู่การท่องเที่ยวสีเขียวและทัศนคติด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-61-099
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของโรงแรมสู่การท่องเที่ยวสีเขียวและทัศนคติด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ :

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดการดาเนินงาน ปัจจัยเกื้อหนุนหรือข้อจากัด ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเข้าสู่การเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวสีเขียว โดยใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงแรมสีเขียวในอาเภอเมือง ๘ แห่ง และนักท่องเที่ยวที่เข้าไปท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ 50 คน และ 2) ศึกษาการตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสารวจทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับโรงแรมสีเขียวของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อการเข้าพักโรงแรมสีเขียว และเจตนาเชิงพฤติกรรมในการเข้าพักโรงแรมสีเขียว โดยการใช้แบบสอบถามจานวน 545 ชุดกับนักท่องเที่ยวที่เข้าไปท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่

ผลการวิจัยพบว่า นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมถูกบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพและการบริการแก่ลูกค้า เนื่องจากแต่ละโรงแรมตระหนักถึงประโยชน์ด้านการลดต้นทุนการดาเนินงาน และการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร ในการบริหารจัดการโรงแรมสีเขียว มีปัจจัยในเกื้อหนุนสาคัญได้แก่ นโยบายและวิสัยทัศน์ผู้บริหาร โครงสร้างและกลไกการดาเนินงาน ผู้นาและพนักงานที่มีจิตอาสาและมุ่งมั่น การให้ความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นจิตสานึกด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งมีปัจจัยภายนอกในการเกื้อหนุน ได้แก่ กฎหมายสิ่งแวดล้อม กระแสการท่องเที่ยวสีเขียว สมาคมโรงแรม อย่างไรก็ตามปัญหาอุปสรรค ได้แก่ ต้นทุนการดาเนินงาน บุคลากรไม่เพียงพอและทางานไม่ต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงพนักงานบ่อยครั้ง และการใช้เวลาในการบ่มเพาะผู้นาและพนักงาน ด้านข้อจากัดของการบริหารจัดการ ได้แก่ การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของรัฐด้านสิ่งแวดล้อมต้นทุนการขอรับรองมาตรฐานสิ่งแวดล้อม และความตระหนักของลูกค้า

ในส่วนของข้อเสนอแนะต่อผู้ประกอบการในการพัฒนาโรงแรมสีเขียว ได้แก่ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมกายภาพ การปฏิบัติตามนโยบายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม การจัดอบรมพนักงานเพื่อกระตุ้นจิตสานึกการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สาหรับข้อเสนอต่อภาครัฐด้านสนับสนุนโรงแรมสีเขียว ได้แก่ การประชาสัมพันธ์และจัดอบรมแก่ผู้ประกอบการและพนักงาน การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงแรม การกาหนดมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับบริบทและขนาดของโรงแรม การติดตามตรวจสอบการดาเนินงานตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง การยอมรับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่กาหนดจากโรงแรม การให้หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามามีส่วนร่วมในการกาหนดมาตรฐาน และการกาหนดมาตรการสร้างแรงจูงใจในการบริหารจัดการโรงแรมสีเขียว อีกทั้งมีข้อเสนอต่อภาครัฐด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวสีเขียว ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยวสีเขียว การจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวสีเขียว การพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองที่ชัดเจน การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด และการกระตุ้นความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมของทุกภาคส่วน

ในด้านความตระหนักและทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อมของนักท่องเที่ยว พบว่านักท่องเที่ยวสนใจการท่องเที่ยวในรูปแบบ Green Tourism มากขึ้น รองลงมาคือ ความต้องการที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมและไม่ทาความเสียหายกับชุมชน และความต้องการที่จะท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้เอกลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว อีกทั้งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีความความพึงพอใจในระดับมาก ทั้งด้านทัศนคติ (Attitude: AT) ด้านการควบคุมพฤติกรรม (Behavior Control: BC) ด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (Subjective Norm: SN) และด้านแรงจูงใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (MOTIVATION: MO) ส่วนในด้านทัศนคติ ในการเข้าพักโรงแรมสีเขียวเพื่อสนับสนุนชุมชนในสร้างงานและสร้างรายได้ ด้านการควบคุมพฤติกรรม การลดปริมาณขยะอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การเข้าร่วมกับองค์กรเกี่ยวกับการอนุรักษ์ และการเรียนรู้วิธีความเป็นอยู่ชุมชนในระดับมากที่สุดผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักถึงคุณค่าสิ่งแวดล้อม ทัศนคติ และเจตนาเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อการเข้าพักโรงแรมสีเขียว พบว่า

ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (MOTIVATION: MO) มีน้าหนักต่อการเข้าพักโรงแรมสีเขียวมากที่สุดที่น้าหนัก 1.00 ปัจจัยย่อยด้านแรงจูงใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อปัจจัยแฝง คือ ความต้องการช่วยเหลือชุมชนบริเวณโดยรอบ (MO2: 0.62)

ปัจจัยด้านทัศนคติ (Attitude: AT) มีน้าหนักต่อการเข้าพักโรงแรมสีเขียวที่น้าหนัก 0.95 ปัจจัยย่อยด้านทัศนะคติที่ส่งผลต่อปัจจัยแฝง คือ ความต้องการมีส่วนช่วยในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน (AT1: 0.94)

ปัจจัยด้านการควบคุมพฤติกรรม (Behavior Control: BC) มีน้าหนักต่อการเข้าพักโรงแรมสีเขียวที่อยู่ที่ 0.52 ปัจจัยย่อยด้านการควบคุมพฤติกรรมที่ส่งผลต่อปัจจับแฝง ได้แก่การอยากมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามพฤติกรรมประหยัดการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น (BC2: 0.68)

ปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มกลุ่มอ้างอิง (Subjective Norm: SN) มีน้าหนักต่อการเข้าพักโรงแรมสีเขียวที่น้าหนัก 0.15 ปัจจัยย่อยด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ที่ส่งผลต่อปัจจัยแฝง ได้แก่ ความต้องการมีส่วนร่วมและแบ่งปันความรู้ให้กับคนอื่นเพื่อให้เขาเข้าใจความสาคัญของสัตว์ป่าและธรรมชาติมากขึ้น (SN1: 0.70)

คำสำคัญ : นักท่องเที่ยว ทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อม โรงแรมสีเขียว การท่องเที่ยวสีเขียว
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Eco-friendly Practices in the Hotel Industry to Green Tourism and Environment Attitude of International Tourists in Chiang Mai
Abstract :

This study was aimed to explore concept, successful factors, barriers and limitations of environmental management of hotels and to analyze the realization and attitude of tourisms toward green hotel, including the relationship between realization, attitude and behavioral attitude. Data were derived from interview with entrepreneurs in 8 hotels and 50 tourisms, and 545 questionnaires for tourists in Chiang Mai Province. The result indicated that all hotels included their environmental policy as a part of their quality and service development policy as they realized the cost and image benefits of environmental management. Internal successful factors of environmental management consisted of executive policy and vision, organization structure and mechanism, endeavor leaders and staffs, and the stimulation of the sense of environment. External successful factors also included environmental law, green tourism trend, and hotel association. In contrast, barriers were management cost, inadequate staffs, turn overstaff, inattentive staffs and environmental cultivation of leaders and staffs. Communication and public perception about the environment, cost of requesting certification, and customer realization were also seen as limitations of environmental management.

However, participants suggested that hotel entrepreneurs should continue green hotel by improving physical environment, following their policy, improving the environmental knowledge of staffs, and stimulating environmental awareness of staffs. At the same time, Thai government should encourage public relations, training courses for entrepreneurs and staffs, knowledge sharing among hotels, green hotels standard according with size and context of each hotel, monitoring of environmental implementation, participation of government agencies in determining environmental standards, and incentives for hotel management. Green tourism. There are also several recommendations for green tourism promotion: educating about green tourism extensively, arranging a program of green tourism, enforcing environmental law, and stimulating environmental awareness in partners.In addition, tourisms were interested in green tourism, environment care in the community, and learning about community identity. The average of tourisms’ satisfactions in attitude, behavior control, subjective norm and motivation were good. In attitude, the highest average of satisfaction was that choosing green hotel service helped increase jobs and incomes. In behavior control, the highest average of satisfaction was the decrease in rubbish. In subjective norm, the highest average of satisfaction was participation in conservation with organization and learning community livelihoods.

The analysis of the relationship between realization of environmental value, attitude and behavioral attitude also indicated that: 1)the factor of environmental motivation – the weight of choosing green hotel was the highest weight (1.00) and the minor factor affecting the hidden factor was the requirement to help the community (MO2: 0.62), 2) the factor of attitude – the weight of choosing green hotel was 0.95 and minor factor affecting hidden factor was the requirement to account in environment and community (AT1: 0.94), 3) the factor of behavior control – the weight of choosing green hotel was 0.52 and the minor factor affecting the hidden factor was requirement to participate in saving electricity (BC2: 0.68), and 4) the factor of subjective norm – the weight of choosing green hotel was the highest weight (0.15) and the minor factor affecting the hidden factor was the increase in requirement to participate and share knowledge with other people for gaining insight about the importance of the wild and nature (SN1: 0.70).

Keyword : tourist, environmental attitude, green hotel, green tourism
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 รองศาสตราจารย์ ดร.เกศสุดา สิทธิสันติกุล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
30 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวรัตน์ กุศล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
30 ไม่ระบุ
3 อาจารย์รนกร สุภจินต์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรญชนก เพชรานนท์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
246,700.00
   รวมจำนวนเงิน : 246,700.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
30 มิถุนายน 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ 
ฉบับที่ : ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2564
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ 
0.6
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023