ผลของปุ๋ยอินทรีย์น้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญของกล้วยไม้สมุนไพรสกุลหวาย

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-61-096
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ผลของปุ๋ยอินทรีย์น้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญของกล้วยไม้สมุนไพรสกุลหวาย
บทคัดย่อ :

เพื่อทราบแนวทางการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในระบบการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ตั้งแต่ระบบการผลิตต้นกล้าในสภาพปลอดเชื้อ ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาผลของชนิดและระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมของปุ๋ยอินทรีย์นํ้าและสารสกัดอินทรีย์อื่นๆ ที่สามารถช่วยส่งเสริมการเพิ่มปริมาณและการเจริญของต้นกล้วยไม้ กล้วยไม้สกุลหวายที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ เอื้องคำ และ เอื้องสายเชียงใหม่ ผลการทดลองพบว่าการเพาะเลี้ยงหน่อกล้วยไม้ทั้งสองชนิดในอาหารสูตรปุ๋ยอินทรีย์นํ้า และสูตรปุ๋ยอินทรีย์นํ้าหมักปลา ระดับความเข้มข้น 2 ml/l เหมาะสมต่อการเจริญของหน่อ เปอร์เซ็นต์การแตกหน่อสูง และไม่แตกต่างจากการเลี้ยงในอาหารสูตร VW แต่อย่างไรก็ตามการเจริญด้านการแตกกอยังไม่ดีในทั้งสูตรปุ๋ยอินทรีย์และ VW ดังนั้นจึงได้นำปุ๋ยอินทรีย์ที่ระดับความเข้มข้นดังกล่าวมาผสมร่วมกับสารอินทรีย์ชนิดอื่น ได้แก่ นํ้ามะพร้าว กล้วย นํ้ามันฝรั่ง สารสกัดมอลต์ และสารสกัดยีสต์ เพื่อช่วยส่งเสริมให้มีการเจริญของหน่อที่ดีขึ้น ซึ่งจากการทดลองพบว่า การเพาะเลี้ยงเอื้องสายเชียงใหม่และเอื้องคำในอาหารสูตรปุ๋ยอินทรีย์นํ้า 2 ml/l + มอลต์ 1 g/l + นํ้ามันฝรั่ง 100 ml/l มีผลต่อการเจริญของหน่อที่ดี ซึ่งไม่แตกต่างจากอาหารสูตร VW และ VW ร่วมกับสารอินทรีย์อื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามการใช้เฉพาะปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับสารอินทรีย์สำหรับเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ทั้งสองชนิดยังมีข้อด้อยกว่าการใช้สารเคมีในสูตร VW ในเรื่องจำนวนการเกิดหน่อที่น้อยกว่า ส่วนกรณีงานทดลองการพ่นปุ๋ยทั้งเคมี อินทรีย์ และการไม่พ่นปุ๋ย ในกล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงในโรงเรือนให้ผลที่ไม่แตกต่างกันในทางสถิติในด้านการเกิดหน่อใหม่ ทั้งนี้อาจเนื่องจากระยะเวลาในการพ่นปุ๋ยน้อยไป สำหรับการเจริญของต้นในโรงเรือน เนื่องจากปกติกล้วยไม้ดังกล่าวจะมีการเจริญที่ช้าในธรรมชาติ

คำสำคัญ : กล้วยไม้ เอื้องสาย เอื้องคำ ปุ๋ยอินทรีย์
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Effect of organic fertilizer on growth of medicinal orchid “Dendrobium genus”
Abstract :

This research aimed to know the way to propagate Dendrobrium genus organic plantlet under tissue culture system. The plant propagation was done by tissue culture technique and used organic fertilizer with other organic extract for plant growth. D. chrysotoxum and D. aphyllum were used for the research study. The effect of concentration of plant and fish extract organic fertilizer had done for basic research. The result showed that both extract organic fertilizer concentration 2 ml/l was suitable for plant growth and it was not different from VW. However this result was unsatisfied, therefor the experiments had done continuously for studying the effect of other organic extract (coconut water, banana pulp, potato extract, yeast extract and malt extract) for butter growth. The result showed that plant extract organic fertilizer 2 ml/l + malt extract 1 g/l + potato extract 100 ml/l and add with coconut water 150 ml/l + banana pulp 100 g/l enhanced better plant growth for both D. chrysotoxum and D. aphyllum and the growth was not different from VW. Whereas the effect of media which contained only organic matters on shoot induction was not good as VW media. On the other hand, the result of chemical and organic fertilizer treatments by spying to plantlets in greenhouse cultivation showed that the number of new shoot both D. chrysotoxum and D. aphyllum were not different in all treatments. This result indicated that it might be the time of treatments was short for growth observation because normally the growth of these plants was slow in the nature.

Keyword : Orchid, Dendrobium aphyllum, Dendrobium chrysotoxum, Organic fertilizer
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ ดร.ประนอม ยังคำมั่น
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะผลิตกรรมการเกษตร
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
70 ไม่ระบุ
2 อภิรยา เทพสุคนธ์
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : -
ผู้วิจัยร่วม
30 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
287,600.00
   รวมจำนวนเงิน : 287,600.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023