ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดแพร่

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-61-120
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดแพร่
บทคัดย่อ :

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณลักษณะทางสังคมผู้สูงอายุ คุณลักษณะทาง

จิตวิทยาสังคม การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการดูแลสุขภาพ การรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคมและ

พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดแพร่ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้าน

คุณลักษณะทางสังคมผู้สูงอายุ คุณลักษณะทางจิตวิทยาสังคม การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการ

ดูแลสุขภาพ การรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัด

แพร่ สร้างสมการพยากรณ์พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดแพร่และศึกษารูปแบบที่

เหมาะสมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดแพร่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุ อายุ 60

ปีขึ้นไป จำนวน 400 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้

สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม มีค่าคะแนนความเที่ยงตรง(เชิงเนื้อหา)อยู่ระหว่าง

0.66-1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า

เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษา พบว่า 1. ผู้สูงอายุจังหวัดแพร่มีค่านิยมเกี่ยวกับลักษณะทางจิตวิทยาสังคม

การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการดูแลสุขภาพ อยู่ในระดับมาก การรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคม

และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด

2. ปัจจัยด้านการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถแห่งตน และลักษณะทาง

จิตวิทยาสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่

ระดับ 0.013. สมการพยากรณ์สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

ผู้สูงอายุจังหวัดแพร่ได้ร้อยละ 58.5 โดยมี 3 ตัวแปร เรียงลำดับ ดังนี้ การรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคม

การรับรู้ความสามารถแห่งตน และลักษณะทางจิตวิทยาสังคม

4. รูปแบบที่เหมาะสมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดแพร่ พบว่า ระดับบุคคล จะต้อง

มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ดีโดยการต้องปฏิบัติตน กระทำได้ด้วยตนเอง มีการวางแผนการดำเนิน

ชีวิตประจำวัน พัฒนาทักษะในการดูแลตนเองด้านสุขภาพทั้ง 4 มิติ ระดับชุมชน มีการร่วมคิด ร่วม

ตัดสินใจ ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมประเมินผลและร่วมรับผลประโยชน์ และควรมีนโยบายสาธารณะทาง

สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เน้นให้ชุมชนมีข้อตกลงทางสังคมร่วมกันรับหลักการเดียวกัน

คำสำคัญ : พฤติกรรม , การสร้างเสริมสุขภาพ , ผู้สูงอายุ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : FACTORS INFLUENCING HEALTH PROMOTING BEHAVIOR OF ELDERLY PHRAE PROVINCE
Abstract :

The purpose of this research was to study. Factor of social features the

elderly. Social psychological features Perceived self-efficacy in health care. Perceived

social support and health promotion behavior of elderly in Phrae province , Study

the relationship between the factors of the social features in elderly people. Social

psychological features perceived self-efficacy in health care. Perceived social support

affecting the health promotion behavior of the elderly in Phrae province, Create an

equation for predicting health promotion behaviors of the elderly in Phrae province

and study the suitable model for promoting the health of the elderly in Phrae

province, Populations and samples. Sampling is aged 60 years of 400 people by

multi-stage random sampling and Simple Random sampling. The tools used for data

collection is the questionnaire. The precision score (content validity) between the

0.66-1.00 reliability, both of 0.96 statistics using simple bread. Analysis of percentage,

mean and standard deviation. Test of correlation coefficient of correlation coefficient

and the regression analysis.

The results of this research found that:1. The elderly province values concerning social psychology. The properties in

the primary health care at a high level. Perceived social support, labor and health

habits are in is at the highest level.

2. The factors of perceived social support Self-efficacy and social

psychological characteristics correlated with health promotion behaviors of the

elderly with statistical significance at the level of 0.01.

3. The prediction equation could explain 58.5% of variance in health

promotion behaviors of the elderly in Phrae province, with 3 variables in sequence as

follows : Recognition of social support Self-efficacy and social psychological

characteristics.

4. Appropriate forms of health promotion for the elderly in Phrae province,

found that the individual level must have good health care behavior by behaving

Can do by yourself With planning for daily living Develop skills in taking care of

oneself in health in all 4 dimensions, at the community level, through thinking,

making decisions, and taking action Join the evaluation and receive benefits. And

should have public health policy for the elderly Emphasize that the community has

a social agreement to share the same principles.

Keyword : Health Promotion behavior, The elderly
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : สาขาสังคมวิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู รีรมย์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
123,300.00
   รวมจำนวนเงิน : 123,300.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
7 พฤศจิกายน 2561
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ : การประชุมวิชาการแห่งชาติ สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และ
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
22 กุมภาพันธ์ 2564
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
ฉบับที่ : การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 และนานาชาติ
หน้า :
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.4
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023