ฟิล์มวัสดุประกอบชีวภาพเพาะต้นกล้าจากเปลือกข้าวโพด

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-61-017
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ฟิล์มวัสดุประกอบชีวภาพเพาะต้นกล้าจากเปลือกข้าวโพด
บทคัดย่อ :

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมแผ่นฟิล์มพอลิไวนิลแอลกอฮอล์แป้งและเส้นใยเซลลูโลสจากเปลือกข้าวโพดโดยวิธีแบบสารละลาย เพื่อใช้เป็นวัสดุเพาะกล้า ซึ่งเตรียมโดยการผสมพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และแป้งที่อัตราส่วน 90/10, 80/20 และ 70/30 โดยนํ้าหนักกับเส้นใยเซลลูโลสจากเปลือกข้าวโพดในอัตราส่วนต่างๆ กัน (1, 3 และ 5 ส่วนโดยนํ้าหนักพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และแป้ง 100 ส่วน) แล้วนำไปหล่อเป็นแผ่นบนแม่แบบกระจก และทำให้แห้งในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส จากนั้นนำแผ่นฟิล์มวัสดุผสมที่เตรียมได้ไปทดสอบสมบัติด้วยเทคนิค ฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟาเรดสเปกโทรสโคปี สมบัติเชิงกลด้วยเครื่องทดสอบความทนแรง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางความร้อน จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด การศึกษาหาอัตราการสูญเสียนํ้าหนักของฟิล์ม พบว่าการแป้ง และเส้นใยเซลลูโลส ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ให้ฟิล์มพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ผสม โดยแป้งและเส้นใยต้องมีปริมาณไม่เกิน 30 และ 3 %โดยนํ้าหนัก ตามลำดับ สมบัติความทนแรงดึงของวัสดุผสมพบว่าค่ามอดุลัสของยังของฟิล์มวัสดุผสมมีค่าเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีปริมาณแป้งและเส้นใยเพิ่มขึ้น แต่เปอร์เซ็นการยืดตัวลดลงเมื่อปริมาณแป้งและเส้นใยเพิ่มขึ้น สมบัติทางความร้อนพบว่าอุณหภูมิการหลอมเหลวของวัสดุมีค่าเพิ่มขึ้น และการสูญเสียนํ้าหนักมีค่าเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณแป้งและเส้นใย โดยภายหลังจากฝังดินเป็นเวลา 14 วัน พบว่าร้อยละการหายไปของนํ้าหนักมากขึ้นและความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพของแผ่นฟิล์มวัสดุผสมเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถยืนยันผลการเสื่อมสภาพได้จากภาพจากกล้องจุลทรรศอิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน

คำสำคัญ : พอลิไวนิลแอลกกอฮอล์ ฟิล์มชีวภาพ เปลือกข้าวโพด เส้นใยเซลลูโลส
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Biocomposite Film for Seedling from Corn Husk
Abstract :

The aim of this research is to prepare poly(vinyl alcohol) (PVA) film and starch reinforce with cellulose fiber form Corn Husk by solution method for Biocomposite Film for Seedling. The polymer nanocomposites were prepared by mixing starch and PVA at dry weight ratios of 90/10, 80/20 and 70/30 and each of these with various amounts of cellulose fiber (1, 3 and 5 parts by weight per hundred of starch and PVA) The obtained homogeneous solution was casted into films using glass mold and dried at 60 oC in a hot air oven. The obtained polymer nanocomposites sheets have been characterized by Fourier-transform infrared spectroscopy, Tensile Testing, Differential Scanning Calorimetry, Scanning Electron Microscope and weight loss analysis. It was found that the addition of starch and cellulose fiber increase mechanical property of composite films (starch and cellulose fiber have to less than 30 and 3 %by weight, respectively). The mechanical results obtained from tensile analysis revealed that Young’s modulus of biocomposite films were enhanced with increasing cellulose fiber concentration, while a significant decrease was observed in elongation at break at the same concentration of cellulose. The melting point of composite film was increased with increasing of starch and cellulose fiber. After soil burial for 14 days, percent weight loss and biodegradability of the polymer nanocomposites enhanced as the amount of starch and cellulose were increased which can confirm by thermal analysis SEM images and weight loss analysis.

Keyword : Poly(vinylalcohol), Biocomposite Film, Corn Husk, Cellulose fiber
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อาจารย์ ดร.ธวัฒน์ สร้อยทอง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2561)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมารแผ่นดินแม่โจ้
287,700.00
   รวมจำนวนเงิน : 287,700.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023