การพัฒนาแผ่นไฮโดรเจลปิดแผลต้านเชื้อจุลินทรีย์จากยางพาราที่ปราศจากโปรตีนภูมิแพ้และแป้งผสมสารสกัดจากสมุนไพรฝาง

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-61-010
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การพัฒนาแผ่นไฮโดรเจลปิดแผลต้านเชื้อจุลินทรีย์จากยางพาราที่ปราศจากโปรตีนภูมิแพ้และแป้งผสมสารสกัดจากสมุนไพรฝาง
บทคัดย่อ :

ไฮโดรเจลเป็นพอลิเมอร์ชอบน้ำที่มีโครงร่างตาข่ายสามมิติ ซึ่งสามารถดูดซับน้ำได้ โดยไม่

ละลายในน้ำ และมีสมบัติที่ดีหลายประการ เช่น ความยืดหยุ่นสูง ความชอบน้ำสูง และดูดซับน้ำได้ดี

จึงได้นำไฮโดรเจลมาประยุกต์ใช้ในงานทางการแพทย์ น้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำเป็ นน้ำยางที่

ได้รับความสนใจนำมาใช้ผลิตเป็นวัสดุทางการแพทย์หลายชนิด เพื่อป้องกันการแพ้เนื่องจาก

โปรตีนภูมิแพ้ในน้ำยางธรรมชาติ โดยเอนไซม์โปรติเอสถูกนำมาใช้ผลิตน้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำ

เนื่องจากสามารถย่อยโปรตีนภูมิแพ้ได้ งานวิจัยนี้ได้ทำการเตรียมไฮโดรเจลจากน้ำยางธรรมชาติ

โปรตีนต่ำผสมกับแป้งเจลาติไนซ์ 3 ชนิด คือ แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวสินเหล็ก และแป้งข้าวเจ้า

โดยใช้กำมะถัน และ N, N’-methylene bisacrylamide (MBA) เป็นสารเชื่อมขวาง จากการศึกษา

พบว่า ไฮโดรเจลจากน้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำผสมแป้งข้าวเจ้าสามารถขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิ ล์มได้ดี

ที่สุด จึงได้ทำการเตรียมไฮโดรเจลจากน้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำผสมแป้งข้าวเจ้าและสารสกัด

สมุนไพรฝางเชื่อมขวางด้วย MBA พบว่ามีการบวมตัว 144.50 % และความสามารถในการดูดซับน้ำ

59.10 % เมื่อศึกษาการตรวจนับจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ พบว่าการตรวจนับจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ไม่พบ

เชื้อรา และแบคทีเรียในตัวอย่างของไฮโดรเจล ส่วนการวัดปริมาณโปรตีน พบว่าไฮโดรเจลที่เติมเอมไซม์โปรติเอส มีปริมาณโปรตีน 70.41 มิลลิกรัมต่อกรัม ซึ่งมีค่าน้อยกว่าไฮโดรเจลที่ไม่เติมเอม

ไซม์โปรติเอส 73.48 มิลลิกรัมต่อกรัมในสารสกัดผสม 1 % SDS กับ tris-HCl pH 6.8 สำหรับสาร

สกัด phosphate buffer saline pH 7.4 ที่เติมและไม่เติมเอนไซม์โปรติเอสมีปริมาณโปรตีนเท่ากับ

5.74 และ 6.14 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ ดังนั้นไฮโดรเจลจากน้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำเชื่อม

ขวางด้วย MBA ผสมแป้งข้าวเจ้าและสารสกัดสมุนไพรฝางมีเปอร์เซ็นต์การบวมตัว ความสามารถ

ในการดูดซับน้ำที่ดี และมีประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย จึงพัฒนาเป็นวัสดุปิ ดแผล เพื่อใช้

ในทางการแพทย์ต่อไป

คำสำคัญ : น้ำยางธรรมชาติโปรตีนต่ำ วัสดุปิ ดแผล ไฮโดรเจล โปรตีนภูมิแพ้ สารสกัดจากสมุนไพร ฝาง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Development of anti-bacterial hydrogel wound dressing from allergic protein-free rubber and starch with Caesulpinia sappan Linn extracts
Abstract :

Hydrogels are hydrophilic polymers with three-dimensional networks that can absorb

water without dissolving and good properties such as high flexibility, hydrophilicity and water

absorption. Hydrogels are possible to develop in medical application. Deproteinzed natural rubber

latex has been attracted to be manufactured for various medical devices to prevent allergenicity

caused by natural rubber allergen proteins. Protease enzyme has been used for deproteinzed

natural rubber latex production because it is able to degrade allergic proteins. This research was

prepared hydrogels from deproteinized natural rubber latex with gelatinized cassava starch, sinlek

starch and rice flour using sulphur and N, N’ -methylene bisacrylamide (MBA) as crosslinking

agent. It was found that hydrogel from deproteinized natural rubber latex with gelatinized rice

flour gave the best cast thin film. Then preparation hydrogel from deproteinized natural rubber

latex with gelatinized rice flour and Caesulpinia sappan Linn extracts crosslink with MBA

showed 114.50 % swelling and 59.10 % water content. Studied of microorganism counting, it was

found that hydrogel sample had not both of fungus and bacteria and protein measurement showed

70.41 mg/g protein of hydrogel with protease less than 73.48 mg/g protein of hydrogel without

protease in mixed extraction (1 % SDS with tris-HCl pH 6.8). The extraction of phosphate buffer

saline pH 7.4 in with and without protease showed 5.74 and 6.14 mg/g protein, respectively. Thus,

hydrogel from deproteinized natural rubber latex with gelatinized rice flour and Caesulpinia

sappan Linn extracts crosslinked with MBA has swelling percentage, good water content and

efficiency of bacterial inhibition to develop for wound dressing in medical application.

Keyword : Deproteinized natural rubber latex, wound dressing, hydrogel, allergic protein, Caesulpinia sappan Linn extracts
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา แกล้วกล้า
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(261)
60 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
3 อาจารย์ ดร.เอกวิทย์ ตรีเนตร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
20 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/10/2560 ถึง 30/9/2561
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในมหาวิทยาลัย
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
287,700.00
   รวมจำนวนเงิน : 287,700.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023