รายละเอียดการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
หน่วยงานที่นำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ : องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหว้ดเชียงใหม่
ระดับของหน่วยงาน : ระดับท้องถิ่น
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
วันที่ใช้ประโยชน์ : 1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
สิ่งที่นำเอาไปใช้ประโยชน์จากตัวงานวิจัย :

- การบริหารจัดการเศรษฐกิจใหม่ที่อยู่บนฐานระบบเกษตรกรรมยั่งยืนโดยคนรุ่นใหม่ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย :

- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา ร่วมกับ สถาบันพัฒนาทรัพยากรและเกษตรกรรมยั่งยืนแม่ทา และสหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทา จำกัด ได้นำความรู้ด้านการบริหารจัดการเศรษฐกิจใหม่ที่อยู่บนฐานระบบเกษตรกรรมยั่งยืน มาพัฒนาในชุมชนตำบลแม่ทา โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ตำบล แม่ทาที่กลับบ้านและมีฐานการทำเกษตรกรรมยั่งยืนมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ร่วมกันกำหนดรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ของตนเอง โดยจัดทำระบบและกระบวนการบริหารจัดการเศรษฐกิจฐานรากจากเกษตรกรรมยั่งยืนใน 5 ระบบใหม่ ได้แก่ 1) ออกแบบรวบรวมข้อมูลของสมาชิกผู้ผลิตและผู้บริโภคโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการวางแผนการผลิต 2) ส่งเสริมการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ และนำเทคโนโลยีเช่น พัฒนาระบบน้ำอัจฉริยะ พัฒนาระบบตรวจรับรองมาตรฐานผ่านแอพพลิเคชั่น เพื่อควบคุมการผลิต และรักษามาตรฐานการผลิตที่ได้รับการรับรองเช่น Organic Thailand, IFOAM , มอน. หรือ มาตรฐานการรองรับแบบมีส่วนร่วม (PGS) เชียงใหม่ ตลอดจนพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์การรับรองแบบมีส่วนร่วมแม่ทา (PGS) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการรับรองการรับซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้มีมาตรฐาน 3) ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย 4) ด้านการขนส่ง ทั้งการขนส่งของชุมชน โดยรถบรรทุกห้องเย็นขนส่งสินค้าในจังหวัดเชียงใหม่หรือใกล้เคียง ทั้งกลุ่มตลาดสด ตลาดนัดเกษตรอินทรีย์และห้างสรรพสินค้า (TOP Supermarket) และต่างจังหวัด 5) ด้านการตลาด มีสถานที่จำหน่ายทั้งตลาดสดในชุมชน ตลาดนัด ร้านอาหาร โรงเรียน โรงแรม โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า และช่องทางออนไลน์ ซึ่งจากการที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา สหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทา จำกัด และสถาบันพัฒนาทรัพยากรและเกษตรกรรมยั่งยืน แม่ทา และกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการ ที่คนรุ่นใหม่ได้มีการกำหนดทิศทางทางเศรษฐกิจของตนเอง และได้ทดลองทำการพัฒนาทั้งด้านผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย จนสามารถทำให้ คนรุ่นใหม่เกิดความภาคภูมิใจที่สามารถกำหนดระบบเศรษฐกิจใหม่โดยเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งผลการประกอบการ ในปี 2564 ตั้งแต่ มกราคม – สิงหาคม 2564 สามารถรับซื้อผลผลิตอินทรีย์ของกลุ่มสมาชิก ได้จำนวน 72,403.22 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าการขายผลผลิต จำนวนเงิน 2,254,293 บาท ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 27.6 หรือประมาณ 730,000 บาท

ส่วนที่ 2 เจ้าของผลงานที่เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้ประโยชน์
รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัย
อาจารย์ ดร.สมคิด แก้วทิพย์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2562)
รองศาสตราจารย์ ดร.เกศสุดา สิทธิสันติกุล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะเศรษฐศาสตร์
ผู้วิจัยร่วม
ส่วนที่ 3 เอกสาร/รูปภาพ ประกอบการนำเสนอ
เอกสารประกอบ
หนังสือรับรอง อบต.แม่ทา.pdf
8/12/2564 13:17:44
ไม่มีข้อมูลรูปภาพปรพกอบการนำเสนองานวิจัย
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023