- สร้างรูปแบบของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองอย่างเหมาะสม และได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน ซึ่งอาจช่วยลดปัญหาการร้องเรียนและคัดค้านอันเนื่องจากการไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาชนและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียลงได้
- มูลค่าทางเศรษฐกิจที่ได้ : เนื่องจากข้อมูลที่นำไปใช้นั้นเป็นการวิจัยเพื่อจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ในพื้นที่กลุ่มเหมืองของทั้ง 2 พื้นที่ในอนาคตภายหลังสิ้นสุดการทำเหมืองหินประมาณ 20 ปีข้างหน้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชน ในด้านพื้นที่ป่าสีเขียวที่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์บกและสัตว์น้ำ อีกทั้งเป็นแปลงสมุนไพรและป่าชุมชนที่ให้ชุมชนสามารถนำผลผลิตที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตามการจัดสรรไปสร้างรายได้หรือ นำมาบริโภคภายในครัวเรือน รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อน ซึ่งอาจก่อให้เกิดรายได้ทางอ้อมอีกทางหนึ่งเช่น การค้าขาย และรับจ้างในพื้นที่เป็นต้น