ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
หน่วยงานที่นำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ :
ศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์ทรัพยากรและท่องเที่ยววิถีชุมชนชาวประมงบ้านกลางอ่าว
ระดับของหน่วยงาน :
ระดับหน่วยงาน
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ :
การพัฒนาสาธารณะ
วันที่ใช้ประโยชน์ :
23 เมษายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
สิ่งที่นำเอาไปใช้ประโยชน์จากตัวงานวิจัย :
- นำข้อมูลการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำและปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ของชายฝั่งทะเลชุมพร มาใช้อธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจประเด็นของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศต่อคุณภาพน้ำและปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งแก่เยาวชน รวมถึงใช้เป็นแนวทางกำหนดข้อบังคับร่วมกันในการใช้ทรัพยากรชายฝั่งของชุมชนโดยรอบ
ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย :
- 1. การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว 2.การใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย ได้แนวทางในการปรับตัวและวิธีปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและคุณภาพน้ำ ทำให้เกิดความยั่งยืนในการบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารของแหล่งท่องเที่ยว สามารถนำข้อมูลจากงานวิจัยไปประกอบการพิจารณาในการกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนชายฝั่งทะเลภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในปัจจุบัน 3.การใช้ประโยชน์เชิงวิชาการ โดยประมงอำเภอ ประมงจังหวัด นักวิชาการทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หน่วยงานรัฐ ได้แก่ กรมประมง และหน่วยงานส่งเสริมทางการเกษตร ได้มีการนำข้อมูลคุณภาพน้ำในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนชายฝั่งทะเลจังหวัดชุมพร จำนวน 3 สถานี เป็นระยะเวลา 12 เดือน ทั้ง 14 พารามิเตอร์ คือ ค่าอุณหภูมิน้ำ อุณหภูมิอากาศ ความเค็ม ความเข้มแสง ค่าความโปร่งใส ค่าความเป็นกรดด่าง ค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำ ค่าความเป็นด่าง ปริมาณแอมโมเนียรวม ปริมาณไนไตรท์ ปริมาณไนเตรท ปริมาณออร์โธฟอสเฟต ค่าของแข็งแขวนลอย และปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ไปบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนชายฝั่งทะเลจังหวัดชุมพรได้อย่างถูกต้อง
ส่วนที่ 2 เจ้าของผลงานที่เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้ประโยชน์
อาจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน
กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด :
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
|
ผู้วิจัยหลัก
(2564)
|
ส่วนที่ 3 เอกสาร/รูปภาพ ประกอบการนำเสนอ
ไม่มีข้อมูลรูปภาพปรพกอบการนำเสนองานวิจัย |