รายละเอียดการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
หน่วยงานที่นำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ : ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านป่าสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ระดับของหน่วยงาน : ระดับท้องถิ่น
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : การพัฒนาสาธารณะ
วันที่ใช้ประโยชน์ : 22 ธันวาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
สิ่งที่นำเอาไปใช้ประโยชน์จากตัวงานวิจัย :

- นำผลการวิจัยที่มีทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ชุมชนได้นำผลงานวิจัยปรับใช้ในพื้นที่แบบบูรณาการ โดยชุมชนเกิดการรวมกลุ่มและเครือข่ายทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการในการสร้างปลูกป่าในใจคน การสร้างฝายต้นน้ำ และทำแนวกันไฟป่า นอกจากนั้นชุมชนยังได้เกิดการรวมกลุ่มระดับครัวเรือน ได้แก่ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ กลุ่มหัตถกรรมจักสานและแปรรูปหวาย-ไม้ไผ่ กลุ่มเพาะกล้าไม้และการอนุรักษ์พืชสมุนไพรได้เกิดการเรียนรู้และการบริหารจัดการกลุ่มอย่างมีส่วนร่วม โดยเน้นการการมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำงานในชุมชน

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย :

- 1. เสริมสร้างระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ โดยการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่ป่าลุ่มน้ำห้วยคัง ประมาณ 30,000 ไร่ ด้วยทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้แก่ การปลูกป่าในใจคน การสร้างฝายต้นน้ำลำธาร การปลูกไม้ 3 อย่างประโยชน์ 4 ประการ การสร้างป่าเปียก ตลอดจนการตรวจลาดตระเวน ทำแนวกันไฟป่า และดับไฟป่า

- 2. เสริมสร้างรายได้ระดับครัวเรือนและกลุ่ม โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลุ่มเพื่อการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชน ได้แก่ การผลิตปุ๋ยธรรมชาติ (ใบไม้จากการทำแนวป้องกันไฟป่า) การเกษตรอินทรีย์ (พืชผักครัวเรือน) การหัตถกรรมจักสานและแปรรูปหวาย-ไม้ไผ่ การผลิตเห็ดจากป่าธรรมชาติ การส่งเสริมวนเกษตรและปศุสัตว์ การเพาะกล้าไม้ป่าและอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (เมล็ดไม้ป่า) การอนุรักษ์พืชสมุนไพร เป็นต้น

- 3. เกิดการเรียนรู้และสนับสนุนส่งเสริมกระบวนการบริหารจัดการกลุ่มอย่างมีส่วนร่วม โดยเน้นการบริหารที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนในการคิด ตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน เพื่อจะก่อให้เกิดความรู้สึกผูกพัน ผูกมัด และตกลงใจร่วมกันทำงานตามความรู้ความสามารถของสมาชิกในชุมชน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีความสุขและสามัคคี

- 4. ค่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา ดำเนินกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา ในรูปแบบค่ายสิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชน โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนในการสัมผัสบรรยากาศ และเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและวิถีชุมชน กับสถานการณ์ภายนอกได้อย่างมีเหตุมีผล เก็บแนวคิดดี ๆ แบ่งปัน และสร้างสรรค์เครือข่ายเพื่อร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

- 5. สร้างกระบวนการเครือข่าย โดยการสนับสนุนและร่วมกันต่อยอดจากกระบวนการเรียนรู้ในพื้นที่บ้านป่าสักงาม ให้เกิดการขยายการเรียนรู้และปฏิบัติการสู่พื้นที่อื่น ทั้งในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กวง และพื้นที่ลุ่มน้ำในภาคเหนือ เน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในรูปแบบการร่วมชื่นชมยินดี

-

ส่วนที่ 2 เจ้าของผลงานที่เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้ประโยชน์
รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินิจ ผาเจริญ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ผู้วิจัยหลัก
(2564)
ส่วนที่ 3 เอกสาร/รูปภาพ ประกอบการนำเสนอ
ไม่มีข้อมูลรูปภาพปรพกอบการนำเสนองานวิจัย
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023