23236 : SAS-68 โครงการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ : หลักกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและการประชุม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ภัคสุณีย์ ดวงงา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 25/3/2568 9:48:50
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
25/03/2568  ถึง  10/05/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  60  คน
รายละเอียด  บุคลากรสังกัดวิทยาลัยบริหารศาสตร์ และผู้สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 800 บาท = 1,600 บาท 2568 1,600.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
น.ส. ภัคสุณีย์  ดวงงา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.5 มีการบริหารจัดการองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.5.3 ร้อยละของบุคลากรที่มีผลการประเมินสมรรถนะสูงกว่ามาตรฐาน
กลยุทธ์ 68 MJU 2.5.3.1 สนับสนุนบุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาสมรรถนะตาม Training Roadmap ของแต่ละตำแหน่ง ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานหรือสูงกว่าที่มาตรฐานกำหนด
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-68 (6) พัฒนาระบบบริหารและการจัดการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ตามแนวทางการบริหารภาครัฐแนวใหม่
เป้าประสงค์ SAS 68 (4.2) บุคลากรมีศักยภาพตอบสนองการบรรลุวิสัยทัศน์
ตัวชี้วัด SAS 68 ร้อยละของบุคลากรที่มีผลการประเมินสมรรถนะสูงกว่ามาตรฐาน
กลยุทธ์ SAS สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรตามสมรรถนะและความต้องการของวิทยาลัยเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพตามสายงาน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การทำงานในระบบราชการหากกระทำด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีแต่ความซื่อตรง ไม่คดโกงผู้อื่น ประเทศชาติ บ้านเมือง จะสามารถเป็นเกราะป้องกันภัยต่าง ๆ ที่จะเข้ามาหาตัวเราได้ ในโลกปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับความโปร่งใสว่าสามารถเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น ช่วยให้หน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานมีความรับผิดชอบและมีการปฏิบัติงานหรือมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้รับบริการอย่างทั่วถึง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องมีมาตรการและแนวทางในการสร้างความโปร่งใสให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้รับการยอมรับและเชื่อถือ การปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา ผู้ปฏิบัติงานจึงเป็นกำลังสำคัญในกระบวนการสร้างและพัฒนาให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถมีทักษะในการนำวิชาความรู้ไปประกอบอาชีพ รวมไปถึงความสมบูรณ์ทั้งทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม ผู้ปฏิบัติงานต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปตาม“หลักธรรมาภิบาล”และ“หลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี” ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องใช้หลักกฎหมายเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน ให้มีการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และภารกิจของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษานั้น ๆ ผู้ปฏิบัติงานทุกคนจำเป็นต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษาได้ถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน พึงตระหนักและมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพที่พึงประสงค์และประพฤติปฏิบัติตน เป็นที่ยอมรับของสังคมและสำนึกในหน้าที่ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์และมีความสุข หลักกฎหมายที่ส่งผลถึงการปฏิบัติงานที่มีจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพอีกประการหนึ่งก็คือหลักกฎหมายเกี่ยวกับการประชุม ซึ่งการประชุมเป็นสื่อกลางในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในหน่วยงานเดียวกัน และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดความรู้หรือข่าวสารต่าง ๆ ไปสู่สาธารณชน เช่น การประชุมทางวิชาการ การประชุมเพื่อแจ้งเกี่ยวกับปัญหาหรือนโยบายต่าง ๆ ของหน่วยงาน ยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็วได้เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของเราไปอย่างสิ้นเชิง หนึ่งในนั้นคือการประชุม ที่ปัจจุบันมีทั้งการประชุมในรูปแบบ Onsite และ Online โดยการประชุมในรูปแบบ Onsite เป็นการประชุมแบบรวมกลุ่มหรือพบปะกันในสถานที่เดียวกัน เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและเป็นรูปธรรม และ การประชุมในรูปแบบ Online เป็นการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Zoom, Google Meet, Microsoft Teams เป็นต้น จุดเด่นของการประชุมในรูปแบบ Online คือความสะดวกสบาย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย และสามารถเข้าร่วมได้จากทุกที่ทั่วโลก ทั้งสองรูปแบบล้วนมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี มักเกิดข้อกังวลว่าการจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) หรือมติของที่ประชุม (e-Voting) สามารถมีผลทางกฎหมายหรือสามารถบังคับใช้ได้เหมือนการประชุมแบบปกติ หรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างไร ดังนั้น การได้รับความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสม มีการปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนด จะทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส บุคลากรมีจรรยาบรรณวิชาชีพที่เหมาะสม จึงกำหนดจัด “โครงการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ : หลักกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและการประชุม” ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2568 โดยระบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meeting มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีจรรยาบรรณวิชาชีพคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสม โดยเฉพาะมีความซื่อสัตย์สุจริตและโปร่งใสในการปฏิบัติงาน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภาค 5 มาเป็นวิทยากรบรรยายในโครงการดังกล่าว

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเพิ่มทักษะทางด้านกฎหมายสำคัญที่ใช้ในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะ ตลอดจนแนวคิดและแนวปฏิบัติที่จำเป็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและการประชุม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและการประชุมและนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
KPI 1 : - ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและการประชุมเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและการประชุมและนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
ชื่อกิจกรรม :
รับฟังบรรยายหัวข้อ “หลักกฎหมายการปฏิบัติงานและการประชุม”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/05/2568 - 02/05/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.ภัคสุณีย์  ดวงงา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าวิทยากร 1 คน จำนวน x 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 800 บาท = 1,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ระบบสัญญาณการออนไลน์อาจเกิดการขัดข้องระหว่างการจัดโครงการ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับอุปกรณ์ประกอบการจัดโครงการให้เรียบร้อยและจัดผู้รับผิดชอบร่วมควบคุมดูแล ณ วันจัดโครงการ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล