22803 : โครงการการศึกษาพืชสมุนไพรในมหาชาติเวสสนตรชาดกฉบับล้านนา เพื่อการผลิตเครื่องหอมในเชิงพาณิชย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนทร คำยอด (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/3/2568 11:49:49
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/01/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  นักเรียนและครูโรงเรียนหอพระ จำนวน 20 คน วิทยากรและเจ้าหน้าที่โครงการ 5 คน รวมทั้งสิ้น 25 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะศิลปศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม
งานบริการวิชาการแก่ชุมชน
กองทุนบริการวิชาการ
งบเงินอุดหนุนโครงการบริการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ 2568
2568 170,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุนทร  คำยอด
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA68 มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC): การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ LA68-2.7 มีการบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ของท้องถิ่นชุมชนที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน
ตัวชี้วัด LA68-2.6.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ LA68-2.6.1.ผลักดันและส่งเสริมให้การบุคลากรแสวงหางบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ดินแดนล้านนาเป็นบริเวณที่พบเอกสารโบราณเป็นจำนวนมาก แม้ว่ามีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามารวบรวม แต่ยังไม่ครอบคลุมจำนวนเอกสารที่มีอยู่อย่างมหาศาล คัมภีร์มหาชาติเวสสันตรชาดก เป็นหนึ่งวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมในการจารจารึกเพื่อถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ด้วยความสามารถของพระภิกษุโบราณล้านนา ที่สามารถรจนารังสรรค์มหาชาติฉบับต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลายตามความสามารถและความสนใจเฉพาะตน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าคัมภีร์มหาชาติเวสสันตรชาดกฉบับล้านนา เป็นขุมคลังทางความรู้อันไพศาลที่รอการค้นพบ ที่ผ่านมาการศึกษาค้นคว้ามหาชาติเวสสันตรชาดก จะให้ความสำคัญในประเด็นการสืบทอด ท่วงทำนองการเทศน์ ประเพณีและพิธีกรรม เป็นหลัก มีผู้เรียกการศึกษาลักษณะดังกล่าวว่า เป็นงานวิจัยที่ “ขึ้นหิ้ง” กล่าวคือเป็นการศึกษาเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ มิได้เน้นการนำมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายว่าทำอย่างไร คัมภีร์มหาชาติเวสสันตรชาดก ฉบับล้านนา จะสามารถ “เข้าห้าง” และนำมาใช้ประโยชน์ในสังคมปัจจุบันได้อย่างแท้จริง คัมภีร์มหาชาติเวสสันตรชาดก ฉบับล้านนา มีลักษณะเด่นประการหนึ่ง คือ การสร้างสรรค์เพิ่มเติม โดยเฉพาะการกล่าวถึงพืชและสัตว์เพื่อพรรณนาสภาพป่า นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงดอกไม้หอม พืชสมุนไพร ที่มีสรรพคุณทางยา เช่น มหาพนตำรายา เป็นต้น พืชที่ปรากฏในคัมภีร์นั้น เป็นเครื่องสะท้อนความหลากหลายทางพฤกษศาสตร์ในพื้นล้านนาอย่างชัดเจน ดังนั้นการนำประโยชน์จากพืชที่ปรากฏในคัมภีร์มหาชาติเวสสันตรชาดก ฉบับล้านนา จึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อนำมาต่อยอดในเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างผู้ประกอบการทางด้านวัฒนธรรม ผู้วิจัยได้ศึกษาวรรณกรรมล้านนา พบว่า ภูมิปัญญาด้านเครื่องหอมล้านนานั้น มีการกล่าวถึงเครื่องหอมไม่มากนัก ที่พบมากที่สุดคือน้ำมันจันทน์ เป็นเครื่องหอมที่มักกล่าวถึงในวรรณกรรม ดังนั้นการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านเครื่องหอมล้านนา จึงเป็นประเด็นใหม่และท้าทายยิ่งที่จะนำเอาความรู้จากใบลานมาเป็นภูมิปัญญาที่เติมเต็มช่องว่างของความรู้เพื่อการต่อยอด สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งเมื่อได้ความรู้เรื่องเครื่องหอมล้านนา ต้องคัดสรรพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาที่เป็นสุคันธบำบัดเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด คลายวิตกกังวล ตลอดจนช่วยเรื่องการนอนหลับ ซึ่งเป็นอาการที่สำคัญในยุคปัจจุบัน เครื่องหอมแบบไทยที่เป็นที่นิยมไทยคือน้ำอบไทย เป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมที่ใช้ได้ทุกช่วงของชีวิต และได้รับความนิยมสูงสุดในเทศกาลสงกรานต์ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะผลิตน้ำอบตำรับล้านนาซึ่งเป็นสูตรเฉพาะ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนาให้แก่ชุมชน โดยใช้การปริวรรตถ่ายถอดเอกสารโบราณจากอักษรล้านนามาเป็นภาษาไทยภาคกลางนำองค์ความรู้ด้านพืชสมุนไพรที่ปรากฏมาสกัดเพื่อให้ได้กลิ่นหอม มีสรรพคุณในการผ่อนคลายเป็นตำรับเฉพาะ เพื่อนำไปส่งเสริมให้ชุมชนผลิต และสามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ในฐานะผู้ประกอบการที่อาศัยฐานข้อมูลทางวัฒนธรรม จึงเป็นการยกระดับการศึกษาเอกสารโบราณได้อย่างเป็นรูปธรรม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อค้นคว้าองค์ความรู้เรื่องเครื่องหอมล้านนาจากเอกสารโบราณ
นำองค์ความรู้เรื่องเครื่องหอมล้านนาจากเอกสารโบราณนำไปต่อยอดผลิตน้ำอบไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนา
ส่งเสริมการผลิตน้ำอบไทยสูตรล้านนาให้แก่หน่วยงานที่มีศักยภาพเพื่อสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การพัฒนาสูตรน้ำอบไทยและอบรมน้ำอบไทยสูตรล้านนาจากมหาชาติเวสสันตรชาดกล้านนา และหนังสือน้ำอบไทยจากมหาชาติเวสสัตรชาดกล้านนา
KPI 1 : การอบรมน้ำอบไทยสูตรล้านนาในสถานศึกษา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ครั้ง 1
KPI 2 : หนังสือน้ำอบไทยจากมหาเวสสัตรชาดกล้านนา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 เล่ม 100
KPI 3 : น้ำอบไทยสูตรล้านนาจากมหาชาติเวสสันตรชาดก
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 สูตร 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การพัฒนาสูตรน้ำอบไทยและอบรมน้ำอบไทยสูตรล้านนาจากมหาชาติเวสสันตรชาดกล้านนา และหนังสือน้ำอบไทยจากมหาชาติเวสสัตรชาดกล้านนา
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาสูตรน้ำอบไทยสูตรล้านนาจากมหาชาติเวสสันตรชาดกล้านนา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนทร  คำยอด (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (150บาท*25คน*1มื้อ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,750.00 บาท 0.00 บาท 3,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (25คน*35บาท*2มื้อ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท 0.00 บาท 1,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์น้ำอบไทยสูตรล้านนา
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจัดทำบอร์ด ไวนิล/ โปสเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มและพิมพ์หนังสือ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 70,000.00 บาท 70,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาปริวรรตใบลาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 32,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 32,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารวบรวมใบลานและถ่ายภาพเพื่อทำฐานข้อมูลคัมภีร์ใบลาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 11,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าวิทยากร (4 คน*7 ชั่วโมง*300 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุในการจัดอบรมน้ำอบไทยในสถานศึกษา
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 13,000.00 บาท 0.00 บาท 13,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 170000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล