22694 : โครงการการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากโครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ สุภาพันธ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/11/2567 15:47:53
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/12/2567  ถึง  30/06/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  890  คน
รายละเอียด  1. นักวิจัยจากโครงการบริการวิชาการได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2567 จำนวน 40 คน 2. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการบริการวิชาการ เช่น เกษตรกร ประชาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่เทศบาล เจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เป็นต้น จำนวน 850 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณบริการวิชาการ (ส่วนกลางมหาวิทยาลัย)
งบประมาณแผ่นดิน ปี 2567
2567 500,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. พัชรินทร์  สุภาพันธ์
รองศาสตราจารย์ ดร. พัชรี  อินธนู
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-69ECON 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69ECON2-4 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับ
ตัวชี้วัด 65-69ECON2-4.6 จำนวนโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-4.6.2 สนับสนุนการให้บริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปีงบประมาณ 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ดำเนินโครงการบริการวิชาการแม่โจ้โมเดล ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ จำนวน 17 โครงการ เพื่อตอบสนองการพัฒนาเชิงพื้นที่ในการตอบสนองแนวพระราชดำริ 4 เรื่องหลัก ได้แก่ การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาการเกษตร การพัฒนาแหล่งน้ำ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันป่าเปา สันทรายหลวง และหนองหาร และสอดคล้องกับผลการสังเคราะห์บริบทเชิงพื้นที่และความต้องการชุมชนเพื่อการพัฒนาข้อเสนอโครงการบริการวิชาการที่ได้ดำเนินการในปีงบประมาณ 2567 ไปแล้วนั้น นำมาสู่การจัดทำกลยุทธ์จากสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ปัจจุบัน (TOWS Matrix) ของ 3 พื้นที่ ประกอบด้วยกลยุทธ์เชิงรุก (SO) ด้านการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันในตลาดให้ดียิ่งขึ้น กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO) แสดงการนำโอกาสปิดจุดอ่อน กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST) ซึ่งใช้จุดแข็งป้องกันอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น และกลยุทธ์เชิงรับ (WT) สะท้อน Rebranding หยุดรอเวลาและโอกาส/รับมือกับปัญหาให้เบาบางหรือไม่เกิดเพิ่ม จำนวนทั้งหมด 20 กลยุทธ์ เพื่อนำมาสู่การกำหนดขอบเขตการดำเนินโครงการบริการวิชาการประจำปี 2567 และในที่สุดทำให้เกิดโครงการบริการวิชาการประจำปี 2567 ตามกลยุทธ์ดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินโครงการบริการวิชาการดังกล่าวเกิดประโยชน์ในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน รวมทั้งสะท้อนความคุ้มค่าของการดำเนินการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงต้องดำเนินการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI) เพื่อนำมาสู่การพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนผ่านการใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI) ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการประเมินโครงการ และทั่วโลกใช้วิธีการ SROI ในการประเมินการลงทุนสาธารณะจำนวนมากของรัฐและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นการประเมินตามหลักความสมดุลของสามเสาหลัก ได้แก่ ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการวัดผลประโยชน์เพียงผลลัพธ์ทางการตลาดเพียงอย่างเดียวอาจได้ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ จะเห็นว่า SROI นำมาสู่ผลลัพธ์หรือมูลค่าทางสังคมทั้งเป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินเป็นวิธีการวัดมูลค่าทางเศรษฐกิจของผลประโยชน์ทางสังคมด้วยการนำผลตอบแทนด้านสังคมในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาแปลงค่าเป็นตัวเงิน โดยใช้การวัดตัวเงินแบบคิดลดของมูลค่าทางสังคมที่ได้สร้างขึ้น และคำนวณเปรียบเทียบกับมูลค่าทางการเงินของต้นทุนที่ใช้ไปในการดำเนินงานของโครงการเพื่อพิจารณาว่าการสร้างผลลัพธ์ทางสังคมคิดเป็นมูลค่าเท่าไรต่อเงิน 1 บาทของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร เพื่อช่วยในการประเมินว่าการดำเนินโครงการนั้น ๆ มีความคุ้มค่าหรือไม่ ด้วยการกำหนดขอบเขตและวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบและเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากโครงการดังกล่าว ร่วมกับการประเมินสภาวะแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิต เพื่อเชื่อมโยงการจัดทำแผนที่ผลลัพธ์หรือแผนที่ผลกระทบของโครงการ (Outcome/Impact Mapping) ภายใต้การวิเคราะห์มูลค่าตัวแทนทางการเงิน (Financial Proxies) ที่มีหน่วยเป็น บาท หรือเงินสกุลอื่น เพื่อการคำนวณค่า SROI และนำมาสู่การเกิดความชอบธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ และการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำหรับการจัดการสนับสนุนกิจการทางสังคมอย่างยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากโครงการบริการวิชาการได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2567
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลตอบแทนทางสังคมของการดำเนินโครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ส่วนกลางมหาวิทยาลัย) ที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
KPI 1 : แผนที่ผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
17 แผนที่ผลลัพธ์ 17
KPI 2 : รายงานผลการประเมินผลตอบแทนทางสังคมของการดำเนินโครงการบริการวิชาการได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2567
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เล่ม 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลตอบแทนทางสังคมของการดำเนินโครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ส่วนกลางมหาวิทยาลัย) ที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ชื่อกิจกรรม :
การประเมินผลตอบแทนทางสังคมของการดำเนินโครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ส่วนกลางมหาวิทยาลัย) ที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/12/2567 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์  สุภาพันธ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรี  อินธนู (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 20 วัน ๆ ละ 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 37,500.00 บาท 12,500.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บแบบสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องโครงการละ 50 ชุด จำนวน 17 โครงการ รวมทั้งหมด 850 ชุด ๆ ละ 250 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 212,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 212,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบันทึกข้อมูล จำนวน 850 ชุด ๆ ละ 100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 85,000.00 บาท 0.00 บาท 85,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จัดทำเวทีย่อยระหว่างนักวิจัยและคณะผู้วิจัย (โครงการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ)
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 10 คน ๆ ละ 100 บาท จำนวน 3 มื้อ รวม 3,000 บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 10 คน ๆ ละ 35 บาท จำนวน 6 มื้อ รวม รวม 2,100 บาท
หมายเหตุ: จัดทำเวทีย่อย จำนวน 3 วัน ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิจัยที่ดำเนินโครงการบริการวิชาการกลุ่มต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ กลุ่มละ 10 คน/ครั้ง รวม 30 คน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จัดทำเวทีย่อยระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ (ระหว่างดำเนินโครงการ) เพื่อส่งคืนข้อมูลแก่นักวิจัยให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน ๆ ละ 100 บาท จำนวน 3 มื้อ รวม 9,000 บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท จำนวน 6 มื้อ รวม 6,300 บาท
หมายเหตุ: จัดทำเวทีย่อยระหว่างดำเนินโครงการ จำนวน 3 วัน ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่เทศบาล เจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เป็นต้น ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการบริการวิชาการกลุ่มต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ กลุ่มละ 30 คน/ครั้ง รวม 90 คน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,300.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จัดทำเวทีย่อยระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ (ช่วงสิ้นสุดโครงการ)
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน ๆ ละ 100 บาท จำนวน 3 มื้อ รวม 9,000 บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท จำนวน 6 มื้อ รวม 6,300 บาท
หมายเหตุ: จัดทำเวทีย่อย (ช่วงสิ้นสุดโครงการ) จำนวน 3 วัน ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่เทศบาล เจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เป็นต้น ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการบริการวิชาการกลุ่มต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ กลุ่มละ 30 คน/ครั้ง รวม 90 คน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,300.00 บาท 0.00 บาท 15,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาพิมพ์งานและจัดทำรายงานรูปเล่ม จำนวน 50 เล่ม ๆ ละ 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเช่าสถานที่จัดเวทีประชุมใหญ่ จำนวน 1 ครั้ง ๆ ละ 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จัดทำเวทีประชุมใหญ่ระหว่างนักวิจัยและคณะผู้วิจัยค่าอาหารกลางวัน
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน ๆ ละ 100 บาท จำนวน 1 มื้อ รวม 4,000 บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 40 คน ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ รวม 2,800 บาท
หมายเหตุ: จัดทำเวทีประชุมใหญ่ จำนวน 1 วัน ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิจัยที่ดำเนินโครงการบริการวิชาการทั้ง 17 โครงการ (กลุ่มต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ) จำนวน 40 คน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,800.00 บาท 0.00 บาท 6,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร บรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชม ๆ ละ 800 บาท จำนวน 10 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
14,400.00 บาท 14,400.00 บาท 19,200.00 บาท 0.00 บาท 48,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าถ่ายเอกสารสำหรับผู้เข้าร่วมจัดทำเวที 250 ชุด ๆ ละ 10 บาท (1 ชุด มี 20 หน้า)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถาม 850 ชุด ๆ ละ 12.50 บาท (1 ชุด มี 25 หน้า)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,625.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,625.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
8,300.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 กระดาษปรู๊ฟ เครื่องเขียน เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
8,575.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,575.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 500000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ผู้เข้าร่วมประชุมไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
เก็บข้อมูลไม่ตรงตามแผนที่กำหนดไว้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประสานนักวิจัยเพื่อวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ประสานความร่วมมือไปยังเทศบาลเขตพื้นที่ผู้รับผิดชอบ และตั้งประชาชนแกนนำในพื้นที่เพื่อเป็นผู้นำทีมการสำรวจและเก็บข้อมูลแบบเชิงรุก
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล