22523 : โครงการการพัฒนาศักยภาพฐานเรียนรู้ทางการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำแบบบูรณาการภายในคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ และพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมาย เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ยั่งยืน และพัฒนาเป็นผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/11/2567 11:39:52
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  250  คน
รายละเอียด  1) กลุ่มเกษตรกร / ชุมชนเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนอย่างน้อย 50 คน 2) นักเรียน คุณครู และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนอย่างน้อย 100 คน 3) ผู้สนใจทั่วไป จำนวนอย่างน้อย 100 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 2568 300,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ขจรเกียรติ์  ศรีนวลสม
นาย สุฤทธิ์  สมบูรณ์ชัย
นาง ณัฏฐกานต์  มุกดาจตุรพักตร์
นาย เทพพิทักษ์  บุญทา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-68-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-68-2.3 ส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด FT-68-2.3.1.(1) ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่น
กลยุทธ์ FT-68-2.3.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
ตัวชี้วัด FT-68-2.3.2.(2) จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ FT-68-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตัวชี้วัด FT-68-2.3.3.(3) จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ FT-68-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตัวชี้วัด FT-68-2.3.4.(4) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FT-68-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีพันธกิจในการพัฒนาระบบการให้บริการวิชาการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้มีชีวิตให้แก่นักศึกษา และบูรณาการกับการเรียนการสอน การวิจัย โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม ทั้งนี้การดำเนินพันธกิจดังกล่าวเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ของคณะในการส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่ชุมชน และสร้างเครือข่ายชุมชนให้เป็นห้องเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักศึกษา (แผนพัฒนาการศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2565 - 2569) นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับพันธกิจและวัตถุประสงค์หลักของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ด้วยการสนับสนุนให้หน่วยงานดำเนินการให้บริการวิชาการแก่สังคมตามความเชี่ยวชาญ และตามบริบทของแต่ละหน่วยงาน สร้างและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเกษตรและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่สังคม พัฒนามหาวิทยาลัยให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการเกษตร เพื่อเป็นที่พึ่งของตนเองและสังคมตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2555 – 2569) โดยที่ผ่านมาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ดำเนินการสำรวจความต้องการ และความพร้อมของกลุ่มเกษตรกร ตลอดจนดำเนินกิจกรรมเบื้องต้น (บางส่วน) ในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้เสริมจากอาชีพหลักในชุมชนเป้าหมายของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย อำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว อำเภอฝาง และ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจฐานรากกลุ่มเลี้ยงปศุสัตว์และประมงบ้านแม่ก๋อน ตำบลทุ่งข้าวพวง อำเภอเชียงดาว กลุ่มชุมชนบ้านปางปอย ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง กลุ่มอาชีพการเกษตรบ้านห้วยม่วง ตำบลแม่นาวาง อำเภอแม่อาย กลุ่มเลี้ยงปลาบ้านโป่งน้ำร้อน ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย และกลุ่มประมงตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น โดยชุมชนเหล่านี้ คณะเทคโนโลยีการประมงฯ มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมและพัฒนาให้เป็น “เครือข่ายชุมชนด้านการประมง” ที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และเป็นห้องเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักศึกษา ตลอดจนมีการบูรณาการร่วมกับงานสนองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการประมงในระดับนานาชาติ เพื่อให้ชุมชนได้รับการพัฒนาแบบทางเลือกตามองค์ความรู้ 6 มิติ คือ “อยู่รอด พอเพียง และ ยั่งยืน” ในรูปแบบของการพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ ตามพระราชดำริ (พชร.) อีกทั้งสามารถขยายผลการพัฒนาไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงต่อไปในอนาคต นอกจากนี้คณะเทคโนโลยีการประมงฯ ยังได้ดำเนินกิจกรรมเบื้องต้นในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในโรงเรียนเป้าหมายในพื้นที่อำเภอพร้าว อำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง อำเภอแม่อาย อำเภอหางดง อำเภอดอยหล่อ อำเภอฮอด และ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการประมงโรงเรียนตามแผนยุทธศาสตร์ของคณะฯ ในการสร้างและพัฒนาเครือข่ายสถาบันการศึกษาผู้ส่งมอบนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการประมงในโรงเรียน เช่น โรงเรียนพร้าววิทยาคม อำเภอพร้าว โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 60 อำเภอแม่ริม โรงเรียนสันป่ายางวิทยาคม อำเภอแม่แตง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 อำเภอแม่อาย โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอหางดง โรงเรียนสองแคววิทยาคม อำเภอดอยหล่อ โรงเรียนฮอดพิทยาคม อำเภอฮอด และโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้บางโรงเรียนเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนชาติพันธุ์ที่มีฐานะยากจนและมาจากถิ่นทุรกันดาร และได้รับการโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ เช่น โรงเรียนสองแคววิทยาคม และบางโรงเรียนเป็นโรงเรียนพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และจังหวัดเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานศึกษา เลี้ยงดูเด็กกำพร้า และเยาวชนผู้ด้อยโอกาสในสังคม เช่น โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 60 เป็นต้น โดยคณะเทคโนโลยีการประมงฯ มุ่งหวังให้นักเรียนในโรงเรียนเป้าหมายได้เรียนรู้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมทางการประมง เกิดทักษะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สร้างรายได้ สร้างอาชีพในอนาคต ส่งเสริมโรงเรียนเป้าหมาย เป็นแหล่งเรียนรู้หรือฐานเรียนรู้ทางการประมงให้แก่นักเรียน บุคลากร เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไปในชุมชนเขตพื้นที่รอบโรงเรียน ตลอดจนเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ต่อไป โครงการ “การพัฒนาศักยภาพฐานเรียนรู้ทางการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำแบบบูรณาการภายในคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ และพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมาย เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ยั่งยืน และพัฒนาเป็นผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG” เป็นโครงการที่อยู่ในแผนแม่บทงานบริการวิชาการสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 นโยบายประเทศไทย 4.0 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (23) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (พ.ศ. 2561-2580) ยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นโยบายการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจด้วยฐานชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ เศรษฐกิจสีเขียว (BCG model) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รวมถึงแผนพัฒนาภาคเหนือ และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือในแผนแม่บทงานบริการวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565-2569) ได้ยึดแนวทางของแผนพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100 โครงการเรือธง (Flag Ships) ที่บรรจุในแผนพัฒนามหาวิทยาลัย แผน 12 และข้อมูลจากการวิเคราะห์สถานการณ์ภายในและภายนอกหน่วยงาน ซึ่งครอบคลุมและเน้นประเด็นการเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic University) มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) มหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco University) เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (University of Life) นอกจากนี้โครงการฯ ยังผลักดันยุทธศาสตร์ของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ในการสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของชุมชนที่ต้องดำเนินอย่างต่อเนื่อง และยกระดับการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG จากองค์ความรู้ทางด้านการประมงของคณาจารย์และบุคลากรของคณะฯ ผ่านฐานเรียนรู้ทางการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำ ภายใต้โครงการตามยุทธศาสตร์ของคณะ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม จำนวนฐานเรียนรู้ 14 ฐาน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ฐานเรียนรู้ในระบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 2 ฐาน คือ 1) ฐานเรียนรู้การเพาะเลี้ยงปลาบึก และ 2) ฐานเรียนรู้การผลิตปลานิลเพศผู้ กลุ่มที่ 2 ฐานเรียนรู้ด้านทรัพยากรทางน้ำและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 6 ฐาน ประกอบด้วย 1) ฐานเรียนรู้การเพาะเลี้ยงสาหร่ายและแพลงก์ตอน 2) ฐานเรียนรู้ด้านความหลากหลายของทรัพยากรทางน้ำ จำนวน 2 ส่วนจัดแสดง คือ สถานแสดงพรรณปลาภาคเหนือ และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาทางน้ำแม่โจ้ 3) ฐานเรียนรู้การเลี้ยงปลาระบบไบโอฟลอค 4) ฐานเรียนรู้การผลิตปลาน้ำจืดเศรษฐกิจในระบบน้ำหมุนเวียน 5) ฐานการเรียนรู้การผลิตกุ้งเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงในน้ำจืด และ 6) ฐานเรียนรู้ปลาชะโอนในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิด กลุ่มที่ 3 ฐานเรียนรู้ที่พัฒนาจัดตั้งใหม่ จำนวน 3 ฐาน ประกอบด้วย 1) ฐานเรียนรู้การเพาะเลี้ยงกบนา 2) ฐานเรียนรู้การเพาะเลี้ยงปลาไหลนา และ 3) ฐานเรียนรู้การเพาะเลี้ยงหนอนแมลง BSF กลุ่มที่ 4 ฐานเรียนรู้ด้านส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการสร้างผู้ประกอบการ จำนวน 3 ฐาน ประกอบด้วย 1) ฐานเรียนรู้ (อาคาร) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะเชิงพาณิชย์ 2) ฐานเรียนรู้นวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำและเศษเหลือสำหรับผู้ประกอบการ และ 3) อาคารนวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง (Nexfish) โดยเบื้องต้นฐานเรียนรู้ทางการประมงในคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ทั้ง 14 ฐาน (4 กลุ่ม) จะได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจร ให้แก่ เกษตรกร (ชุมชนเป้าหมาย) นักเรียน คุณครู และบุคลากรทางการศึกษา (โรงเรียนเป้าหมาย) นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ จากคณะเทคโนโลยีการประมงฯ และผู้สนใจทั่วไป จากนั้นดำเนินการส่งเสริมและขับเคลื่อนให้มีการขยายจัดตั้งฐานเรียนรู้ทางการประมงขึ้นภายในพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมาย ตามความต้องการและความพร้อมของชุมชนและโรงเรียน เพื่อให้ชุมชนและโรงเรียนเป็น “เครือข่ายชุมชน/โรงเรียนด้านการประมง” และพัฒนาจัดตั้งเป็น “ฐานเรียนรู้ชุมชนทางการประมง” เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และเป็นห้องเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักศึกษา นอกจากนี้หากชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมายมีผลผลิตจากสัตว์น้ำ และมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก็จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบของชุมชนหรือโรงเรียน สามารถนำมาผลิตและจำหน่ายเป็นรายได้ อีกทั้งส่งเสริมพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ และนำความรู้ไปประกอบอาชีพเสริม สร้างรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านอาหาร มีหลักประกันมั่นคงด้านอาชีพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขณะเดียวกันนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการประมงฯ ที่ได้เรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ (ห้องเรียน) ที่มีชีวิต (พื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมาย) ได้เห็นรูปแบบของการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่ชุมชนผ่านฐานเรียนรู้ทางการประมงในคณะฯ และฐานเรียนรู้ชุมชนทางการประมงในพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมาย ซึ่งเมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษา สามารถนำความรู้กลับไปพัฒนาบ้านเกิดเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกร สังคม ชุมชน ในการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาศักยภาพฐานเรียนรู้ทางการประมงและนวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำภายในคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำให้มีศักยภาพในการบริการวิชาการด้านการประมง และเกิดรายได้จากการให้บริการวิชาการ
เพื่อสนับสนุนให้คณาจารย์และบุคลากรมีการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านการประมงจากการเรียนการสอน และการวิจัยสู่การพัฒนาฐานเรียนรู้ทางการประมงที่มีชีวิตทั้งภายในคณะและพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมาย
เพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนให้มีการจัดตั้งฐานเรียนรู้ชุมชนทางการประมง ภายในพื้นที่พื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมายที่เป็นเครือข่ายชุมชน/โรงเรียนด้านการประมง
เพื่อยกระดับการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG จากองค์ความรู้ทางด้านการประมงของคณาจารย์และบุคลากรของคณะฯ ผ่านฐานเรียนรู้ทางการประมง ไปสู่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมาย
เพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ของคณะในการส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่ชุมชน และสร้างเครือข่ายชุมชน/โรงเรียนให้เป็นห้องเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักศึกษา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. ฐานเรียนรู้ทางการประมงภายในคณะเทคโนโลยีการประมงฯ จำนวน 14 ฐาน ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการบริการวิชาการด้านการประมง เป็นแหล่งเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้แก่ กลุ่มเกษตรกรและนักเรียนในพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมาย และเตรียมการให้มีศักยภาพเกิดรายได้จากการให้บริการวิชาการ 2. เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านการประมงจากการเรียนการสอน และการวิจัยสู่การพัฒนาฐานเรียนรู้ทางการประมงที่มีชีวิตทั้งภายในคณะและพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมายโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม 3. กลุ่มเกษตรกร (ชุมชนเป้าหมาย) และนักเรียน คุณครู และบุคลากรทางการศึกษา (โรงเรียนเป้าหมาย) และผู้สนใจทั่วไป ได้รับองค์ความรู้ทางด้านการประมง หรือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีทักษะอาชีพ สร้างรายได้ พัฒนาเป็นผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำ ลดรายจ่าย สามารถนำไปประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้เสริมจากอาชีพหลัก 4. ฐานเรียนรู้ทางการประมง ภายในพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมายที่เป็นเครือข่ายชุมชนหรือโรงเรียนด้านการประมงของคณะ จำนวนอย่างน้อย 4 ฐานเรียนรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และเป็นห้องเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักศึกษา
KPI 1 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 50 50 คน 150
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 90 ร้อยละ 90
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนโรงเรียนเป้าหมายเครือข่ายด้านการประมง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
8 โรงเรียน 8
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.25 0.05 ล้านบาท 0.3
KPI 6 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนฐานเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมาย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 ฐานเรียนรู้ 4
KPI 8 : จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 90 ร้อยละ 90
KPI 10 : จำนวนชุมชนเป้าหมายเครือข่ายด้านการประมง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
6 ชุมชน 6
KPI 11 : จำนวนฐานเรียนรู้ทางการประมงที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
7 7 ฐาน 14
KPI 12 : จำนวนผลผลิต / ต้นแบบผลิตภัณฑ์ของชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมายที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ชนิด 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. ฐานเรียนรู้ทางการประมงภายในคณะเทคโนโลยีการประมงฯ จำนวน 14 ฐาน ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการบริการวิชาการด้านการประมง เป็นแหล่งเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้แก่ กลุ่มเกษตรกรและนักเรียนในพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมาย และเตรียมการให้มีศักยภาพเกิดรายได้จากการให้บริการวิชาการ 2. เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านการประมงจากการเรียนการสอน และการวิจัยสู่การพัฒนาฐานเรียนรู้ทางการประมงที่มีชีวิตทั้งภายในคณะและพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมายโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม 3. กลุ่มเกษตรกร (ชุมชนเป้าหมาย) และนักเรียน คุณครู และบุคลากรทางการศึกษา (โรงเรียนเป้าหมาย) และผู้สนใจทั่วไป ได้รับองค์ความรู้ทางด้านการประมง หรือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีทักษะอาชีพ สร้างรายได้ พัฒนาเป็นผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำ ลดรายจ่าย สามารถนำไปประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้เสริมจากอาชีพหลัก 4. ฐานเรียนรู้ทางการประมง ภายในพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมายที่เป็นเครือข่ายชุมชนหรือโรงเรียนด้านการประมงของคณะ จำนวนอย่างน้อย 4 ฐานเรียนรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และเป็นห้องเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักศึกษา
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพฐานเรียนรู้ทางการประมงภายในคณะเทคโนโลยีการประมงฯ จำนวน 14 ฐานเรียนรู้ ให้มีศักยภาพในการบริการวิชาการด้านการประมง และเกิดรายได้จากการให้บริการวิชาการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์  ศรีนวลสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายสุฤทธิ์  สมบูรณ์ชัย (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางณัฏฐกานต์  มุกดาจตุรพักตร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล จำนวน 14 ผืน ๆ ละ 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาประกอบและติดตั้งชุดตู้กระจกปลาสวยงาม (พร้อมขาตั้งและชั้นวาง) (ขนาด รูปแบบ และจำนวนตู้กระจก ประเมินตามจำนวนเพื่อทดแทนตู้ปลาที่ชำรุด)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำชุดป้ายข้อมูลประกอบการแสดงนิทรรศการ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 คลิปหนีบดำ แฟ้ม ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ค่าพ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์สัตว์น้ำ อาหารปลากินพืช อาหารปลาดุก ปูนขาว ปลาป่น กากน้ำตาล รำละเอียด กระชอน ตาข่ายกรองแสง สแลนสีดำ สายยางม้วน มุ้งไนล่อนสีฟ้า ท่อพีวีซี ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 102,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 102,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถังน้ำพลาสติก กะละมังพลาสติกสีเหลี่ยม ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เช่น สายไฟขนาด 2.5*2 มม. ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ค่าชุดน้ำยาทดสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 154000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 : การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พัฒนาเป็นผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบครบวงจรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์  ศรีนวลสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายสุฤทธิ์  สมบูรณ์ชัย (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางณัฏฐกานต์  มุกดาจตุรพักตร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 20 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ โดยจัดจำนวน 6 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 20 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ โดยจัดจำนวน 6 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 คน โดยจัดจำนวน 6 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 คน โดยจัดจำนวน 6 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน ครั้งละ 2 คน ๆ ละ 100 บาท โดยจัดจำนวน 6 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษถ่ายเอกสาร แฟ้ม ปากกา ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ค่าพ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์สัตว์น้ำ อาหารปลากินพืช อาหารปลาดุก สแลนสีดำ มุ้งไนล่อนสีฟ้า ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 34,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 34,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น วัตถุดิบสัตว์น้ำ เครื่องปรุง ผัก เครื่องเทศ ผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม ถุงมือ มีด เขียง กะละมัง เกลือ น้ำมัน ถุงพลาสติก กล่องโฟม ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 96000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 จัดตั้งฐานเรียนรู้ชุมชนทางการประมง ภายในพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมายที่เป็นเครือข่ายด้านการประมงของคณะ จำนวน 4 ฐานเรียนรู้ฯ และประเมินผลตามตัวชี้วัด

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ขจรเกียรติ์  ศรีนวลสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายสุฤทธิ์  สมบูรณ์ชัย (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางณัฏฐกานต์  มุกดาจตุรพักตร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล จำนวน 4 ผืน ๆ ละ 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ค่าพ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์สัตว์น้ำ อาหารปลากินพืช อาหารปลาดุก ปูนขาว สแลนสีดำ สายยางม้วน มุ้งไนล่อนสีฟ้า ท่อพีวีซี ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 39,000.00 บาท 0.00 บาท 39,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถังน้ำพลาสติก กะละมังพลาสติกสีเหลี่ยม ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เช่น สายไฟขนาด 2.5*2 มม. ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ค่าชุดน้ำยาทดสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ฐานเรียนรู้มีจำนวนมาก อาจกระทบต่องบประมาณและระยะเวลาในการปรับปรุงพัฒนา
ชุมชนและโรงเรียนเป้าหมายบางแห่งอยู่ต่างอำเภอห่างไกลอาจไม่สามารถมาฝึกอบรมฯ ที่คณะได้
ฐานเรียนรู้ชุมชนทางการประมงในชุมชนหรือโรงเรียนไม่มีกิจกรรมต่อเนื่อง ขาดการดูแล ฯลฯ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
วางแผนการใช้งบประมาณและระยะเวลาในการปรับปรุงพัฒนาฯ
วางแผนจัดฝึกอบรมฯ ทั้งภายในคณะ และพื้นที่ชุมชนและโรงเรียนเป้าหมาย
ลงพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียนเป้าหมาย ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล