22474 : โครงการวิจัยเรื่อง "ศึกษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม(กลุ่ม2) สำหรับนักศึกษา"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
อาจารย์สุรชัย ศรีนรจันทร์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 29/10/2567 15:58:50
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  330  คน
รายละเอียด  นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 309 คน ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 9 คน คณาจารย์และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 9 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้ประกอบการ จำนวน 3 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะศิลปศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานรอง : แผนงานยุทธศาสตร์การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม ผลผลิต : ผลงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี แผนงานวิจัย งานวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี กองทุนเพื่อการวิจัย งบอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการตามเเผนปฏิบัตติการมหาวิทยาลัย (มิติที่2) โครงการวิจัยสถาบัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 2568 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ สุรชัย  ศรีนรจันทร์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.2 สร้างผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีการบูรณาการศาสตร์ โดยใช้เกษตรเป็นรากฐาน และได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.2.2 จำนวนเงินวิจัยด้านสังคมศาสตร์
กลยุทธ์ 68 MJU 2.2.1.3ขับเคลื่อนแผนเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อการบริหารจัดการงานวิจัย
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 4. การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68 MJU 4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68 MJU 4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA68 มิติที่ 2การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC):การผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ได้มาตรฐานทางวิชาการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสังคมได้
เป้าประสงค์ LA68-2.3 มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ใช้เกษตรเป็นรากฐานและได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด LA68-2.3.2 ร้อยละของอาจารย์และนักวิจัยประจำที่มีผลงานวิจัย
กลยุทธ์ LA68-2.3.1 สนับสนุนปัจจัยเกื้อหนุนต่อการทำวิจัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยี และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ตามประกาศกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งเเต่ปี พ.ศ.2564 ซึ่งสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ และมียุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100 (2477-2577) ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต สร้างสังคมแห่งการ “กินดี” (Organiclive) “อยู่ดี” (Green growth) และ “มีสุข” (Eco System) สอดคล้องกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ของชาติ ในการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเป้าหมายสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ได้ขับเคลื่อนโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์เพื่อสร้างผลงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือสาธารณประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่มูลค่าในภาคการผลิตและบริการส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเน้นการเรียนการสอนควบคู่กับการปฏิบัติการจริง เพื่อพัฒนาสมรรถนะและทักษะในการทำงานซึ่งล้วนเป็นการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ในระดับนานาชาติพัฒนาระบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้มีความพร้อมและศักยภาพสู่ในการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม2 ผลิตกำลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่เพื่อตอบสนองการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (S-Curve) พัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการใหม่ นักศึกษา บัณฑิตผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ สร้างเครือข่ายในการต่อยอดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับนานาชาติ สามารถยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผู้ประกอบการ/SMEs ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่เข้าสู่ตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้จากผลการประเมินตนเองด้วยตัวชี้วัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา (ระบบ U-Class) ยังพบว่า รางวัลด้านผู้ประกอบการ และ บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้สู่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม อยู่ในระดับต่ำ ทั้งที่นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ อยู่ในระดับสูงก็จริง แต่เมื่อเทียบกับจำนวนนักศึกษาทั้งหมดแล้ว มีนักศึกษาที่ผ่านการอบรมหรือส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการเพียง 1,337 คน (ข้อมูลจากรายงานผลการดำเนินงานของ ฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2566) จากจำนวนนักศึกษาทั้งหมดของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลกระทบดังกล่าวโดยมุ่งเน้นการศึกษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (กลุ่ม2) เพื่อการพัฒนาส่งเสริมนักศึกษา อันมีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษา บุคลากรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ (2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้ตอบสนองการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม2 (กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม) โดยใช้การวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ไปยังกลุ่มเป้าหมาย 3 ส่วน คือ นักศึกษา คณาจารย์ และศิษย์เก่า ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ ได้เห็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะด้านการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ อีกทั้งได้ข้อเสนอเเนะในการพัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อให้สอดคล้องกับการเป็น มหาวิทยาลัยกลุ่ม2 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่เอื้อต่อการสร้างผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (กลุ่ม2)
เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้ตอบสนองการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม2 (กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม)
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลการศึกษาการวิจัยสถาบัน
KPI 1 : สื่อในการถ่ายทอดผลิงานวิจัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 2 : บทความวิจัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลการศึกษาการวิจัยสถาบัน
ชื่อกิจกรรม :
การวิจัย เรื่อง "ศึกษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม(กลุ่ม2) สำหรับนักศึกษา"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์สุรชัย  ศรีนรจันทร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาถอดเทปสัมภาษณ์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บเเบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูล
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 40,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล