22468 : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การผลิตหนอนแมลง BSF (Black Soldier Fly) เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนอาหารเม็ดสำหรับสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/10/2567 15:55:47
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เป็นบุคคลทั่วไป 30 คน และนักศึกษา 20 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย เทพพิทักษ์  บุญทา
อาจารย์ ดร. โดม  อดุลย์สุข
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ขจรเกียรติ์  ศรีนวลสม
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-68-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-68-2.3 ส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด FT-68-2.3.1.(1) ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่น
กลยุทธ์ FT-68-2.3.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
ตัวชี้วัด FT-68-2.3.2.(2) จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ FT-68-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตัวชี้วัด FT-68-2.3.4.(4) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FT-68-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากสถาณการปัจจุบันด้านความต้องการของตลาดและแนวโน้มของผู้บริโภคที่ต้องการสัตว์น้ำที่มีคุณภาพ เพียงพอ และปลอดภัยต่อการบริโภคมีสูงขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่เมืองท่องเที่ยว เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และ ฯลฯ จึงเป็นเหตุผลทำให้ต้องมีการค้นหาวิธีการเลี้ยงสัตว์น้ำจืดและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (กบ) ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและโดยเฉพาะพื้นที่บนภูเขาสูง (เทพพิทักษ์ และอภินันท์, 2561) เพื่อผลิตผลผลิตสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำให้เพียงพอ มีคุณภาพ และปลอดภัย สนองความต้องการอาหารของเมืองท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมแนวทางการผลิตอุตสาหกรรมอาหารภายใต้โครงการ Northern Food Valley และสอดคล้องกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มีนโยบายในพันธกิจที่มุ่งเน้นทางด้านการเกษตรเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร โดยเฉพาะอาหารอินทรีย์ (Organic Food) (เกรียงศักดิ์ และคณะ, 2561) ทั้งนี้ สัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำก็เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ และเหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี และสามารถกำหนดเวลาในการดูแลได้อย่างชัดเจน จากการลงพื้นที่ดำเนินงานส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งในพื้นที่ราบลุ่มและบนพื้นที่สูงในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน คือ พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เช่น อำเภอสันทราย อำเภอสารภี อำเภอสะเมิง อำเภอแม่แจ่ม และอำเภอกัลยาณิวัฒนา พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เช่น อำเภอแม่สะเรียง อำเภอสบเมย และอำเภอแม่ลาน้อย พบว่าสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่เกษตรกรสนใจที่จะดำเนินการเพาะเลี้ยง ทั้งบริโภคภายในครัวเรือน และเชิงพาณิชย์ คือ การเพาะเลี้ยงปลานิล ปลาดุก ปลาหมอไทย และกบนา เป็นต้น แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้และเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ คือ อาหารที่ดีมีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และมีราคาที่ถูก ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมักประสบปัญหาจากต้นทุนค่าอาหารสำเร็จรูปที่มีราคาค่อนข้างแพง (30 - 40 บาทต่อกิโลกรัม) คิดเป็น 50 - 60 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนในการเลี้ยง นอกจากนี้ ปลาป่น ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งโปรตีนหลักในอาหารสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แต่ปัจจุบันพบว่าปลาป่นมีราคาแพง (50-60 บาทต่อกิโลกรัม) เนื่องมาจากต้นทุนการผลิตที่สูง เช่น น้ำมัน ค่าแรงงาน และอื่น ๆ เป็นต้น อีกทั้งยังทำให้เกิดปัญหาการจับปลาขนาดเล็กจากธรรมชาติ (By catch) และการทำประมงมากเกินควร (Over fishing) ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของเกษตรกรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าอาหารลงได้ จึงเกิดแนวคิดการนำวัตถุดิบที่เหลือใช้จากภาคการเกษตรหรือจากครัวเรือน มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ด้วยการสร้างอาหารธรรมชาติเพื่อมาทดแทนอาหารสำเร็จรูป โดยในปัจจุบัน หนอนแมลง BSF หรือ Black Soldier Fly ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มของเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำและสัตว์ปีก เพื่อใช้ทดแทนโปรตีนจากปลาป่นและลดต้นทุนค่าอาหารสำเร็จรูปที่มีราคาแพง อีกทั้งยังปลอดภัยต่อผู้บริโภคและไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การเพาะเลี้ยงหนอนแมลง BSF ยังเป็นวิธีที่ง่ายและเกษตรกรสามารถผลิตหนอนเพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำได้เอง ด้วยสูตรอาหารเลี้ยงหนอนแมลง BSF จากของเหลือใช้ทางการเกษตรหรือจากครัวเรือนที่มีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยากมากนัก แมลง BSF หรือ Black Soldier Fly เป็นแมลง 2 ปีก ลำตัวคล้ายตัวต่อ ไม่เป็นพาหะนำโรคและไม่เป็นศัตรูพืช มีการเจริญเติบโตเร็ว วงจรชีวิตสั้น วางไข่ได้มาก โดยในระยะที่เป็นตัวหนอนสามารถกินอาหารที่เป็นอินทรียวัตถุได้หลากหลาย เช่น วัตถุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร พืชผัก กากมันสำปะหลัง กากปาล์ม กากตะกอนจากหม้อต้มของโรงงานน้ำตาล เศษเนื้อจากโรงเชือด เลือดต้มแตก ขยะอินทรีย์จากครัวเรือนและชุมชน ตลอดจนมูลสัตว์จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ซึ่งในระยะก่อนเข้าดักแด้ แมลง BSF จะมีโปรตีนสูงถึง 39-56 % มีไขมันคุณภาพดีสูงถึง 25-35 % โดยมีกรดลอริก ที่ใช้ต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ และโอเมก้า 3, 6 และ 9 ในปริมาณสูง ใช้เป็นผลิตภัณฑ์สารผสมอาหารและอาหารเสริมสุขภาพของสัตว์เลี้ยง มีกรดอะมิโนที่จำเป็น และธาตุอาหารอื่นๆ เช่น แคลเซียม และฟอสฟอรัส ทำให้เหมาะสมในการนำมาทดแทนปลาป่น และกากถั่วเหลือง ในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์น้ำ นอกจากนี้เปลือกของดักแด้มีไคโตซานที่เป็นสารสร้างภูมิคุ้มกัน และสามารถนำไปทำพลาสติกชีวภาพได้ ส่วนระยะตัวหนอนมีสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์ สามารถนำมาใช้ทำสารเสริมภูมิคุ้มกันหรือสารปฏิชีวนะป้องกันการเกิดโรคของสัตว์ นอกจากนี้ของเสียจากการขับถ่ายของตัวหนอน เช่น มูลของหนอนแมลง BSF สามารถนำมาผลิตเป็นวัสดุบำรุงดินหรือปุ๋ยอินทรีย์สำหรับการเกษตรได้ ดังนั้นหนอนแมลง BSF จึงเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เกิดการพึ่งพาตนเองและสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2564) ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจสามารถลดต้นทุนค่าอาหาร และสามารถเพิ่มผลผลิตได้ ผู้รับผิดชอบโครงการจึงนำองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัย เรื่อง นวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกบต้นทุนต่ำ เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตของกลุ่มชุมชนประมงท้องถิ่นตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และคู่มือประมงอินทรีย์ แม่โจ้ มาถ่ายทอดให้กับกลุ่มเกษตรกร นักศึกษาและผู้ที่สนใจ ซึ่งถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้นทุนต่ำและจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้กับเกษตรกร และนอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาศักยภาพการผลิตของผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์น้ำสู่มาตรฐานการเลี้ยงในระบบอินทรีย์ได้อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเผยแพร่เทคนิคและวิธีการเพาะขยายพันธุ์ การอนุบาล การเลี้ยง และการนำหนอนแมลง BSF ไปใช้ประโยชน์ เพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการประกอบอาชีพ รวมถึงเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และลดต้นทุนการผลิตสัตว์น้ำให้เกษตรกร นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมและเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนบทปฏิบัติการใน รายวิชาหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (10901104)
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกรได้องค์ความรู้และเพิ่มพูนทักษะทางด้านการผลิตหนอน BSF สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์กับสัตว์น้ำ เพื่อลดต้นทุนค่าอาหารในการเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงทำให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต
KPI 1 : สนับสนุนงานด้านการเรียน การสอนในคณะเทคโนโลยีการประมงฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รายวิชา 1
KPI 2 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.045 ล้านบาท 0.045
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : จำนวนแหล่งเรียนรู้เชิงปฏิบัติการระดับชุมชน ในการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชุมชน 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกรได้องค์ความรู้และเพิ่มพูนทักษะทางด้านการผลิตหนอน BSF สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์กับสัตว์น้ำ เพื่อลดต้นทุนค่าอาหารในการเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงทำให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง การผลิตหนอนแมลง BSF (Black Soldier Fly) เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนอาหารเม็ดสำหรับสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.โดม  อดุลย์สุข (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 50 คน ๆ ละ 120 บาท 1 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 50 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 2 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท 2 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ แฟ้ม ปากกา ถ่ายเอกสาร และ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น อุปกรณ์บันทึกข้อมูล หมึกปริ้น และ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ไข่หนอนแมลง BSF, วัตถุดิบการผลิตอาหารหนอน เช่น กากถั่วเหลือง รำละเอียด สวิงตาถี่ พลาสติกโรงเรือน ตาข่ายไนล่อน กระบะเลี้ยงหนอน ถุงมือยาง รองเท้าบูธและ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 21,100.00 บาท 0.00 บาท 21,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น กะละมัง ตะกร้า ทับพี ถ้วยตวง ถุงมือยาง มีด เขียง ถังน้ำและ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ระยะเวลาอาจจะไม่เหมาะสม
ไข่หนอน และพันธุ์หนอน BSF อาจมีปริมาณไม่เพียงพอ
จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีน้อย
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ปรับเปลี่ยนระยะเวลา เร่งดำเนินกิจกรรมแต่เนิ่น ๆ
ดำเนินการเพาะ ขยายพันธุ์เอง เพื่อให้เพียงพอต่อการจัดฝึกอบรม
เพิ่มการประชาสัมพันธ์ในช่องทางที่เหมาะสม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล