22424 : โครงการ "พัฒนายกระดับบุคลากรชุมชนด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีเพื่อเป็นมัคคุเทศก์"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
อาจารย์ ดร.วีรภรณ์ โตคีรี (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 30/10/2567 11:24:38
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2567  ถึง  31/08/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  (1) เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร จำนวน 5 คน (2) เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร จำนวน 5 คน (3) เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จำนวน 5 คน (4) เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอละแม จังหวัดชุมพร จำนวน 5 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบริการวิชาการ 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. วีรภรณ์  โตคีรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ  รักษาพล
อาจารย์ อุทัยวรรณ  ศรีวิชัย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
นโยบายด้านดิจิทัล
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.68 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.68 : 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.68 : 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.68 : 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วโลกหยุดชะงักตั้งแต่ธันวาคม ปีพ.ศ.2563 จากข้อมูลกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยสะสมระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,692,775 คน ขณะที่ปี พ.ศ. 2562 มีสถิตินักท่องเที่ยวจำนวนทั้งสิ้น 32,582,548 คน ลดลงไปถึง -79.46 % โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน ลดลงไปถึง 86.64% ขณะเดียวกัน ระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้รัฐบาลของหลายประเทศต้องบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมจนประชาชนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ โดยเฉพาะการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างการท่องเที่ยวทุกตลาด ไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวเมืองไทย (Inbound) และนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางออกไปต่างประเทศ (Outbound) เช่น การจำกัดการท่องเที่ยว ห้ามนักท่องเที่ยวเดินทางออกไปนอกประเทศ การยกเลิกการจัดงาน ปิดสถานศึกษา ห้ามออกจากเคหะสถานยามค่ำคืน การคัดกรองตามท่าอากาศยานและสถานีรถไฟ และการสวมหน้ากากและการเว้นระยะห่างทางสังคมและมาตรการปิดเมือง (ล็อกดาวน์) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเป็นรายภูมิภาค พบว่า อัตรานักท่องเที่ยวถึงแม้จะลดลงในทุกภูมิภาคในปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ซึ่งภาคใต้เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สําคัญของประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพภูมิประเทศที่โดดเด่น และมีวิถีวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ มีอิทธิพลต่อการมาเยือนของนักท่องเที่ยวอย่างมาก สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่าปีละ 60,000 ล้านบาท ทำให้แหล่งท่องเที่ยวขาดรายได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวมีสภาพคล่องต่ำ บางรายอาจแบกรับภาระค่าใช้จ่ายและหนี้สินไม่ไหว ต้องตัดสินใจยุติการดำเนินธุรกิจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก และแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนทั่วประเทศที่นำเสนอเรื่องราวประสบการณ์ “วิถีท้องถิ่นไทยสู่วิถีโลก และเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตพัฒนาการท่องเที่ยว (Cluster) และพื้นที่จังหวัดเมืองรอง (Tourism Authority of Thailand, 2018) เพื่อสร้างรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนควบคู่กับการท่องเที่ยวกระแสหลักได้อย่างกลมกลืน เป็นการท่องเที่ยวที่มีการพัฒนารูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ ดำเนินการภายใต้เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ก็ได้รับผลกระทบแช่นเดียวกับแหล่งท่องเที่ยวกระแสหลัก รัฐบาลควรทบทวนมาตรการและการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค กล่าวคือ 1) สร้างมาตรการเยียวยาให้ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจอย่างแท้จริง เช่น การพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยวที่เป็นแรงงานซึ่งถูกพักงานหรือเลิกจ้างจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด 19 ทั้งรูปแบบการสร้างทักษะที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวรูปแบบใหม่แก่บุคลากร (Reskill) และ การพัฒนาบุคลากรเพื่อยกระดับทักษะให้ดียิ่งขึ้น (Upskill) 2) ส่งเสริมการการบริการให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะคาดการณ์ถึงลักษณะและพฤติกรรมกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปในอนาคต เช่น กลุ่มนักท่องเที่ยวสูงวัย กลุ่มนักท่องเที่ยวแบบไลฟ์สไตล์ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชอบการเดินทางและบริการที่เป็นส่วนตัวโดยตรง และนักท่องเที่ยวที่นิยมกำหนดการเดินทางเอง เป็นต้น 3) ส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวหลักในพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือบุคลากรภาคท่องเที่ยวชุมชนท้องถิ่นและแรงงานต่างถิ่น ที่ให้สามารถดำรงชีพและดำเนินธุรกิจต่อไปได้แม้ว่าสถานการณ์โควิด- 19 จะคลี่คลาย และ 4) นำเทคโนโลยีมาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจและสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยว เช่น การใช้วิทยาการทางเทคโนโลยีนำเที่ยวโลกเสมือนจริง ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและโรงแรมทำการตลาดผ่าน Social media หรือใช้ Application ต่างๆ อาทิ การจองห้องพัก อาหาร การจองรถ แผนที่ดิจิทัล เป็นต้น ภายใต้วิถีการท่องเที่ยวใหม่ (New normal) และช่วงวัยของกลุ่มนักท่องเที่ยว การพัฒนายกระดับบุคลากรชุมชนด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีเพื่อเป็นมัคคุเทศก์ เป็นอาชีพบริการที่มีความสำคัญต่อระบบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เป็นผู้ทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว กฎกติกา มารยาทต่าง ๆ ไปยังนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เกิดความรู้และความเข้าใจและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวให้เกิดความประทับใจ เป็นผู้แทนของคนในท้องถิ่นหรือคนในประเทศ สร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยว ส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวภายในชุมชนและภาคบริการอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับระบบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากระดับหมู่บ้าน/ชุมชนให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากภาคการท่องเที่ยว และบริการต่าง ๆ ก่อให้เกิดรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล การพัฒนายกระดับบุคลากรชุมชนด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีเพื่อเป็นมัคคุเทศก์เป็นการบูรณาการความรู้ทางวิชาการทั่วไป ความรู้ทางวิชาการเฉพาะมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ให้เป็นผู้ให้บริการในการนำนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ให้บริการเกี่ยว ให้คำแนะนำและความรู้ด้านต่างๆ แก่นักท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การท่องเที่ยวโดยชุมชน จะเห็นว่าการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีในบริบทของการท่องเที่ยว ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำศิลปะด้านการสื่อสารมานำเสนอเรื่องราวกระตุ้นความสนใจให้นักท่องเที่ยวมีความรู้ และความเพลิดเพลิน ตระหนักในคุณค่า และเห็นความสำคัญของสิ่งที่ต้องการนำเสนอด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชน ถือเป็นกระบวนการเพิ่มมูลค่าในสินค้าและบริการ ตลอดจนการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน ดังนั้น กรอบการดำเนินโครงการจัดทำระบบสื่อความหมายเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เพื่อการท่องเที่ยว มีกรอบแนวคิด 1) สำรวจทรัพยากรท่องเที่ยวภายในชุมชนเครือข่ายที่มหาวิทยาลัยเคยดำเนินการส่งเสริมตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา 2) จัดทำเรื่องราวความสัมพันธ์ของผู้คนและทรัพยากรภายในชุมชนเพื่อจัดทำระบบการสื่อความหมายที่แสดงให้เห็นกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และ 3) เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อต่อยอดด้วยกิจกรรมทางการท่องเที่ยวในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาบุคคลากรด้านการท่องเที่ยวชุมชนให้มีศักยภาพด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีในการเป็นมัคคุเทศก์ในระดับท้องถิ่น
เพื่อพัฒนาด้านการสื่อสารและออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวให้บุคลากรด้านการท่องเที่ยวของชุมชนให้สามารถประกอบอาชีพเป็นมัคคุเทศก์ในท้องถิ่นได้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : บุคลากรด้านการท่องเที่ยวชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
45000 บาท 45000
KPI 3 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้รับบริการ เป็นผู้มีควาสมารถเฉพาะทางด้านการท่องเที่ยวของชุมเป้าหมาย/ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 7 : จำนวนชุมชนต้นแบบมัคคุเทศก์ท้องถิ่น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 ชุมชน 4
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : บุคลากรด้านการท่องเที่ยวชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมทางวิชาการด้านการท่องเที่ยวชุมชนให้มีศักยภาพด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีในการเป็นมัคคุเทศก์ของท้องถิ่น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2567 - 31/08/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วีรภรณ์  โตคีรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อุทัยวรรณ  ศรีวิชัย (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 22 คนๆ ละ 5 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 7,700 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 22 คนๆ ละ 10 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 7,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,400.00 บาท 0.00 บาท 15,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 24 ชม.ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 19,200 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (มิใช่บุคลากรภาครัฐ) จำนวน 6 ชม.ๆ ละ 1,600 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 28,800.00 บาท 0.00 บาท 28,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ, ปากกา, แฟ้มเอกสาร ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมฝึกอบรมอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากจำนวนผู้สมัครเข้าอบรมไม่สามารถเข้าร่วมตามเวลาที่กำหนดเนื่องจากฤดูกาลในการประกอบอาชีพ อาทิ ประมง เกษตรกร
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
มีการสำรวจความพร้อมของผู้ที่คาดว่าจะเข้าร่วมโครงการหรือกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
หลักการมัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยวมืออาชีพ
ช่วงเวลา : 01/11/2567 - 31/08/2568
ตัวชี้วัด
2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน
การบูรณาการ
วัตถุประสงค์การบูรณาการผลการประเมินการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการ
เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฎิบัติและการฝึกทักษะการเป็นมัคคุเทศก์ในสถานที่จริง 80 โดยให้ความรู้แก่นักศึกษาเรื่องภาษาอังกฤษที่ใช้เพื่อการนำเที่ยวในสถานที่จริง และนำมาบูรณาการด้านการเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ ที่ใช้ในการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและแนะนำอธิบายประวัติความเป็นมา
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล