22355 : ชื่อโครงการใช้เทคโนโลยี IOTสำหรับแปลงผักสมัยใหม่ในระบบเกษตรปลอดภัย
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/10/2567 8:52:19
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/06/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  เกษตรกร ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวังเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ แหล่งงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี) 2568 300,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โชติพงศ์  กาญจนประโชติ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 1.1 ความสำเร็จของการบริหารจัดการและพัฒนามหาวิทยาลัยตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 67-70 MJU 1.1.1.1 สนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัยทุกด้านให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด 2.3.1 EN68 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
กลยุทธ์ ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน การเกษตรสมัยใหม่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยความต้องการในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย และยั่งยืน เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในกระบวนการผลิตอาหาร โดยเฉพาะในแปลงผักที่ต้องการการดูแลและควบคุมสภาพแวดล้อมอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยและมีมาตรฐาน หลักการของการนำ IoT มาใช้ในแปลงผักสมัยใหม่ คือการเชื่อมต่อและรวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในแปลงผัก เช่น เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ความชื้นในดิน และสภาพอากาศ รวมถึงการตรวจวัดปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังระบบจัดการข้อมูล ซึ่งสามารถวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลเพื่อให้คำแนะนำในการจัดการแปลงผักแบบเรียลไทม์ เกษตรกรสามารถปรับปรุงวิธีการดูแลพืชได้อย่างแม่นยำ และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก เช่น ภัยธรรมชาติหรือโรคพืช การใช้เทคโนโลยี IoT ในแปลงผักสมัยใหม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยสามารถควบคุมการใช้ทรัพยากร เช่น น้ำและปุ๋ย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ลดการใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็น นอกจากนี้ การใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันยังช่วยให้เกษตรกรสามารถตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พืชผลมีคุณภาพสูงและปลอดภัยต่อการบริโภค การควบคุมสภาพแวดล้อมในแปลงผักแบบต่อเนื่องยังช่วยลดการใช้สารเคมีในการควบคุมโรคและศัตรูพืช ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตอาหารปลอดภัย (PGS: Participatory Guarantee Systems) การนำ IoT มาใช้ในแปลงผักยังส่งเสริมการทำเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยง และยกระดับมาตรฐานการผลิต ทำให้เกษตรกรสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและตลาดได้อย่างยั่งยืน และสร้างความมั่นคงด้านอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภคในระยะยาว ดังนั้นหน่วยงานในคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้มีโครงการใช้เทคโนโลยี IOT สำหรับแปลงผักสมัยใหม่ในระบบเกษตรปลอดภัย เพื่อให้ได้รับประทานผักที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ อีกทั้งเพื่อสร้างอาชีพ กระจายแหล่งงานให้กับเกษตรกรในชุมชนให้ทำงานที่บ้านได้ เข้าถึงแหล่งเทคโนโลยีที่ง่ายไม่ซับซ้อนเหมาะสมและเพิ่มพูนทักษะเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านอาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2582 ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สุขภาพ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IOT ทางการเกษตรนี้จะมีสร้างแปลงผักและติดตั้งอุปกรณ์ IOT สำหรับแปลงผักสมัยใหม่ในระบบเกษตรปลอดภัย ประกอบด้วย 1. IOT Soil moisture sensor and IOT controller สำหรับตรวจวัดค่าความชื้น ในดินและควบคุมการจ่ายน้ำแบบแม่นยำ โดยระบบการทำงานแสดงในภาพที่ 1 ใช้อุปกรณ์ IOT Soil moisture sensor เพื่อทำการตรวจวัดค่าปริมาณความชื้นดินในแปลงผัก (ใช้ค่าปริมาณความชื้นนี้เป็นตัวแทนค่าปริมาณความชื้นในดินของทั้งแปลงทดลอง) อุปกรณ์จะทำการวัดค่าและส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ File server/Gateway ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์ IOT ตรวจวัดทั้งหมดที่ถูกติดตั้งในแปลงผักเพื่อทำการส่งค่าพารามิเตอร์ต่างๆไปยังระบบฐานข้อมูล (Cloud server) เพื่อทำการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูล เกษตรกรสามารถตรวจสอบค่าปริมาณความชื้นในแปลงด้วยอุปกรณ์ sensor และทำการตั้งค่าช่วงความชื้นสำหรับ ฟังก์ชันการจ่ายน้ำแบบอัตโนมัติ ตลอดจนการสั่งจ่ายน้ำระยะไกลบนแพลตฟอร์มผ่านทางอุปกรณ์ smart device ได้ทุกชนิด โดยการทำงานทั้งหมดอยู่บนระบบ Cloud server และข้อมูลการใช้น้ำในแปลงผักจะถูกจัดเก็บในระบบฐานข้อมูล บน Cloud server เช่นกัน 2. ระบบอุปกรณ์ IoT สำหรับการจ่ายปุ๋ยอัตโนมัติ แสดงในรูปที่ 2 ระบบจะทำการรับคำสั่งสูตรปุ๋ยจาก cloud server ทำการสั่งจ่ายปุ๋ยตามสูตรต่างๆ กำหนดเวลาการจ่ายปุ๋ยตามช่วงระยะการเจริญเติบโตของผัก โดยจะมีถังบรรจุปุ๋ย 3 ถัง (3 สูตรปุ๋ย) มีอุปกรณ์สกรูลำเลียงติดตั้งอยู่ใต้ถังปุ๋ยแต่ละถัง สกรูขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่รับคำสั่งการจ่ายปุ๋ย (สูตร ปริมาณ) มาจาก cloud sever เพื่อควบคุม อุปกรณ์ IOT controller ทำการจ่ายปุ๋ยเม็ดลงมาจากถังและนำมาละลายน้ำเพื่อที่ทำการจ่ายปุ๋ยไปกับระบบการให้น้ำอย่างแม่นยำ 3. ระบบบันทึกกระบวนการเพาะปลูกผักด้วยเทคโนโลยี Near Field Communication (NFC) NFC Tag เป็นอีกฟังก์ชันการทำงานบนแพลตฟอร์ม ทำงานบนสมาร์ทโฟนที่มีฟังชันก์ NFC โดยใช้ในการเก็บข้อมูลกระบวนการเพาะปลูกตลอดฤดูการณ์เพาะปลูกผัก โดยตัว Tag จะมีข้อมูลของเกษตรกร ข้อมูลแปลงผัก พิกัด วันเวลา การบันทึกข้อมูลจะทำการบันทึกผ่านสมาร์ทโฟนได้ อย่างง่ายดาย โดยสามารถเก็บข้อมูลต่างๆในกระบวนการเพาะปลูกได้อย่างครบถ้วน ในรูปแบบของรูปภาพและข้อความ ข้อมูลในกระบวนการต่างๆอาทิเช่น การเพาะปลูก การให้น้ำ การฉีดพ่นฮอร์โมน์ ฉีดพ่นสารอารักษ์ขาพืช การให้ปุ๋ย การติดดอก การเก็บเกี่ยว เป็นต้น โดยข้อมูลของ NFC Tag จะถูกส่งไปเก็บอย่างเป็นระบบบน ระบบฐานข้อมูล (Cloud server) และถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับของผลผลิตผัก

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี IOT Soil moisture sensor and IOT controller สำหรับตรวจวัดค่าความชื้นในดินและควบคุมการจ่ายน้ำแบบแม่นยำ
องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี IOT สำหรับการจ่ายปุ๋ยอัตโนมัติ
องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบบันทึกกระบวนการเพาะปลูกผักด้วยเทคโนโลยี Near Field Communication (NFC)
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำเทคโนโลยี IOT ไปใช้ในการทำแปลงผักสมัยใหม่ในระบบเกษตรปลอดภัย
KPI 1 : เกษตรกรที่เข้าร่วมการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี IOT
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 คน 40
KPI 2 : ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : ต้นแบบในการสาธิตการใช้เทคโนโลยี IOT สำหรับแปลงผักสมัยใหม่ในระบบเกษตรปลอดภัย
KPI 1 : แปลงผักที่ได้รับการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ IOT สำหรับแปลงผักสมัยใหม่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 พื้นที่ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำเทคโนโลยี IOT ไปใช้ในการทำแปลงผักสมัยใหม่ในระบบเกษตรปลอดภัย
ชื่อกิจกรรม :
จัดฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี IOT สำหรับแปลงผักสมัยใหม่ในระบบเกษตรปลอดภัย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์  กาญจนประโชติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่าง จำนวน 40 คน จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคปฏิบัติ จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน ได้แก่ กระดาษ A4 ปากกา ค่าถ่ายเอกสาร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 33,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 33,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หมึกเครื่องปริ้นเตอร์ เมาส์ไร้สาย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,700.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว ได้แก่ เข่ง ตะกร้าพลาสติก ถุงขยะ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุโฆษณาและเผยแพร่ ได้แก่ ป้ายไวนิล
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 65100.00
ผลผลิต : ต้นแบบในการสาธิตการใช้เทคโนโลยี IOT สำหรับแปลงผักสมัยใหม่ในระบบเกษตรปลอดภัย
ชื่อกิจกรรม :
ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในแปลงผักให้เกษตรกรที่มีความพร้อมในการรองรับเทคโนโลยี IOTสำหรับแปลงผักสมัยใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์  กาญจนประโชติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาติดตั้งอุปกรณ์ IoT
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 45,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุไฟฟ้า ได้แก่ สายไฟฟ้า เบรกเกอร์ สวิตช์ไฟ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 63,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 63,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุการเกษตร ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 67,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 67,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุก่อสร้าง ได้แก่ ท่อน้ำpvc ข้อต่อสามทาง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 59,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 59,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 234900.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
โครงการ (สมบูรณ์) กองแผน.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล